สภาฯ ถกกฎหมายกัญชา ปลูกในครัวเรือนไม่เกิน 15 ต้น เพื่อใช้เองห้ามขาย ต้องจดแจ้ง

21 ธ.ค.2565 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ... วาระสอง ต่อเนื่อง ในมาตรา 3  ที่กำหนดให้กัญชา และกัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบยืนตามกมธ. ตัดมาตรา 3 ออกทั้งมาตรา ด้วยมติ 201 ต่อ 0  งดออกเสียง 31 เสียง

จากนั้นที่ประชุมสภาฯ พิจารณามาตรา 4 คำนิยามในความหมายของคำต่างๆ ซึ่ง กมธ. ได้แก้ไขเนื้อหา โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ อาทิ คำนิยามของคำว่า ผลิต กมธ. ได้ตัดคำว่า เพาะ ปลูก สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ออกจากคำนิยาม ทำให้เหลือเพียง การทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ สกัด เปลี่ยนรูป รวมถึงการแบ่งบรรจุ และรวมถึงการใช้เพื่อประโยชน์ในครัวเรือ ประกอบอาหาร และเพื่อใช้ปะโยชน์จากราก ลำต้น หรือ เส้นใย  และได้เพิ่มคำว่า สื่อสารการตลาด  ที่ให้หมายรวมถึง การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สร้างข่าว เผยแพร่ข่าวสาร ส่งเสริมการขาย การแสดง หรือการส่งเสริมการขายโดยใช้บุคคล เป็นการเฉพาะ หรือการตลาดในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อขายสินค้า บริการหรือสร้างภาพลักษณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของส.ส. ส่วนใหญ่พบว่าท้วงติงต่อการแก้ไขของกรรมาธิการฯ เนื่องจากมองว่าการเขียนคำนิยามตามที่กมธ. กำหนดนั้นเท่ากับการเปิดช่องให้เกิดการใช้กัญชาเพื่อนันทนาการแบบเต็มรูปแบบ อีกทั้งการตัดการผลิต ในส่วนของการเพาะปลูก ออกอาจจะมีผลกระทบต่อประชาชน รวมถึงการกำหนดนิยามการขาย ที่กำหนดให้รวมถึง จำหน่าย จ่าย  แจก หรือแลกเปลี่ยนนั้น อาจทำให้ประชาชนต้องติดคุกได้ ทั้งนี้ ในการอภิปรายมาตราดังกล่าว ยังมีส.ส. สงสัยถึงการตัดมาตรา 3 ออกทั้งมาตรา ว่าเมื่อไม่มีมาตรานี้แล้วแปลว่ากัญชากลับไปเป็นยาเสพติดใช่หรือไม่

นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภท. ในฐานะประธานกมธ.ฯ ชี้แจงว่า ถ้าได้ดูร่างพ.ร.บ.ฯ ถึงมาตรา 95 จะพบว่าเราแยกเรื่องการจดแจ้งกับขออนุญาต เป็น 2 ส่วน จดแจ้งคือปลูกในครัวเรือน กัญชาไม่เกิน  15 ต้น กัญชงไม่เกิน 15 ไร่ นั่นคือการปลูกเองใช้เองอยู่ในครัวเรือนห้ามขาย แต่กรณีที่จะทำธุรกิจจะปลูกกัญชง พันไร่ ต้องขออนุญาต จะปลูกกัญชาที่ไม่ใช่ในครัวเรือนก็ต้องขออนุญาต และยืนยันว่าไม่ได้ละเลยพี่น้องประชาชน ส่วนเรื่องการนำเข้าส่งออก กฎหมายต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้งหมด ส่วนเรื่องการเพาะปลูก แยกออกไปอยู่ในมาตรา 18 และการที่บรรดาผู้ต้องหาคดีถึงที่สุดถูกปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำ 7 พันกว่าคน คดีที่อยู่ในการพิจาณาของศาล อัยการ พนักงานสอบสวน อีกเป็นหมื่นคดี ในคดีความผิดพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปี 2522 เกี่ยวกับกัญชา ถูกปล่อยตัวออกหมด ถูกสั่งไม่ฟ้อง เหตุผลเพราะกัญชาไม่ใช่ยาเสพติดแล้ว การที่สมาชิกอภิปรายกันทำให้ประชาชนสับสน

ผมยืนยันว่าวันนี้ กัญชาตั้งแต่ยอดจนถึงราก ไม่ได้เป็นยาเสพติด สิ่งที่เป็นยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ก็คือสารสกัดที่มีค่าทีเอชซี เกิน 0.2 % และขณะที่เรามีมาตรา 3 เราก็มีความเป็นห่วงว่าถ้าวันหนึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข กลับไปบอกว่ากัญชาเป็นยาเสพติดอีก อย่างน้อยผู้ที่ได้ประกอบธุรกิจอยู่ หรือผู้ปลูกกัญชาอยู่เป็นล้านต้นตอนนี้ ก็จะต้องไม่เป็นยาเสพติด นี่คือสิ่งที่ห่วงใย เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจไปคนละทิศละทาง กมธ.ฯก็ขอตัดมาตรา 3 และต่อให้ไม่มีมาตรา 3 กัญชาก็ไม่ใช่เป็นยาเสพติดนายศุภชัย กล่าว

จากนั้นที่ประชุมลงมติในมาตรา 4 เห็นด้วยกับกมธ. เสียงข้างมาก 117 ไม่เห็นด้วย 74 คน งดออกเสียง 65 คน ไม่ลงคะแนน 3 คน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพื่อไทย ดักคอฝ่ายค้านอภิปราย 152 ต้องสร้างสรรค์

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงข้อกังวลของวิปฝ่ายค้านว่ารัฐบาลจะล้มการอภิปรายตาม

แผนล่มสภาฯ! 'ก้าวไกล' แห้ว ฝ่ายรัฐบาลผนึก ผ่านรายงานเอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ครบวงจรฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการนับองค์ประชุมแบบขานชื่อ เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณารายงานผลการศึกษาเรื่องการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex

รทสช. เตรียม 18 ขุนพล ถกงบ 67 ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เปิดเผยว่า พรรครวมไทยชาติได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 20-22 มีนาคมนี้

มติเอกฉันท์ สภาฯรับหลักการร่าง พรบ.คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้ง 5 ฉบับ

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.…คณะรัฐมนตรี(ครม.) เป็นผู้เสนอ และร่างพ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

สภาฯเอกฉันท์ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประมง

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.