สารจาก 'กสม.' ปลุกปชช.ร่วมผลักดัน กฎหมายกลางห้ามเลือกปฏิบัติ


'กสม.'เผยแพร่สาร 'วันยุติการเลือกปฏิบัติสากล' ชี้เป็นหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยก ปลุกปชช.ร่วมผลักดันให้มีกฎหมายกลางห้ามเลือกปฏิบัติ

1มี.ค.2566- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่สาร เนื่องในวันยุติการเลือกปฏิบัติสากล 1 มีนาคม ประจำปี 2566 ระบุว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 ให้การรับรองว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ เสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมือง หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้

สิทธิของการไม่ถูกเลือกปฏิบัติดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิใช่เพียงสิทธิตามกฎหมาย แต่คือหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ทุกคนที่พึงปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยก ซึ่งสอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติของประเทศไทย ตระหนักถึงผลกระทบที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่น กลุ่มคนพิการ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มพนักงานบริการทางเพศ กลุ่มผู้ใช้สารเสพติด กลุ่มแรงงาน/แรงงานข้ามชาติ ฯลฯ ต้องได้รับและเผชิญกับความยากลำบากจากการถูกเลือกปฏิบัติ โดยตั้งแต่ปี 2544 – 2565 กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมกว่า 600 คำร้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเด็นการเข้าไม่ถึงสิทธิในการประกอบอาชีพและการได้รับบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐอย่างเสมอภาค ทั้งนี้ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติเสนอไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง และขอย้ำว่าสิทธิในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติเป็นสิทธิของทุกคน เป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน

เนื่องในวันยุติการเลือกปฏิบัติสากล (Zero Discrimination Day) 1 มีนาคม ประจำปี 2566 นี้ กสม. ขอเชิญชวนให้ทุกคน และองค์กรทุกภาคส่วน ร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยมีกฎหมายกลางในเรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่ครอบคลุมทั้งเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่หลากหลายและมิติของการเลือกปฏิบัติที่เปลี่ยนไปตามสภาพสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยทุกคนได้มีหลักประกันความเสมอภาค และร่วมกันขจัดการเลือกปฏิบัติ ให้เกิดผลได้อย่างแท้จริงในสังคมไทย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม.ชี้ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจ.นครปฐม ก่อมลพิษทางกลิ่น จี้อบต. กำกับแก้ไขปัญหา

กสม. ตรวจสอบกรณีฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจ.นครปฐม ก่อมลพิษทางกลิ่น ส่งผลกระทบต่อสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน แนะ อบต. กำกับแก้ไขปัญหา

กสม. ชี้ ประกันภัยโรคโควิด 19 ละเมิดสิทธิผู้บริโภค จี้เยียวยาผู้ที่ไม่ได้รับค่าสินไหม

กสม. ชี้กรณีประกันภัยโรคโควิด 19 ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข เยียวยาผู้เอาประกันภัยที่ไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทน

กสม. แนะ 'พ.ร.บ.อากาศสะอาด' เน้นปชช.มีส่วนร่วม ผู้ก่อมลพิษต้องจ่ายชดใช้

ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายชนินทร์  เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า

กรรมการสิทธิฯ ออกแถลงการณ์ห่วงเสรีภาพสื่อ ปมตร.จับนักข่าวเอี่ยวพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว

คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่งชาติ​ (กสม.)​ออกแถลงการณ์​จากกรณีผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ และช่างภาพ ถูกจับกุมตามหมายจับในฐานความผิดให้การสนับสนุนในการทำให้โบราณสถานเสียหายตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504