‘อดีตอธิการบดี มธ.’ สอน ‘ก้าวไกล-ก้าวหน้า-3นิ้ว’ รู้จักยุทธศาสตร์ชาติก่อนจะชูธงล้ม

‘รศ.หริรักษ์’ อดีตรองอธิการบดีฯ มธ. สอน ‘ก้าวไกล-คณะก้าวหน้า-3นิ้ว’ อย่าใช้อคติล้มเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล แนะต้องเรียกร้องข้อดีข้อเสีย ก่อนตั้งธงยกเลิกเสียทุกอย่าง

28 พ.ย.2564-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า พรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และแนวร่วม 3 นิ้ว พยายามที่จะให้ยกเลิกทุกอย่างที่เกิดจาก คสช โดยไม่สนใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือไม่ ไม่ว่าอะไรที่เกิดขึ้นจาก คสช ถือว่าไม่ดีไปหมด นี่คือมุมมองที่เกิดจากอคติล้วนๆ

งานชิ้นหนึ่งที่พยายามจะให้ยกเลิก ก็คือ “แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ซึ่งความจริง แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์ที่ดีนัก แต่เหตุผลที่เป็นข้ออ้างที่ต้องการให้ยกเลิกคือ  1. ระยะเวลา 20 ปี ยาวนานเกินไป ในขณะที่โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แผนยุทธศาสตร์จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนตามโลก การกำหนดแผนนี้จึงไม่มีความยืดหยุ่นที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนของโลกได้ 2. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเสมือนโซ่ตรวนที่ผูกมัดไว้ถึง 20 ปี ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล แม้ไม่เห็นด้วยก็ต้องเดินตามแผนนี้

ผู้ที่อ้างเหตุผล 2 ข้อนี้ แสดงว่า ไม่ได้อ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีดีพอ ซ้ำร้ายกว่านั้นยังอาจไม่มีความเข้าใจคำว่า ยุทธศาสตร์ และแผนยุทธศาสตร์ดีพออีกด้วย เราลองมาดูแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อย่างคร่าวๆว่ามีสาระสำคัญอย่างไร

แผนยุทธศาสตร์ หรือ strategic plan จะต้องประกอบด้วย พันธกิจ (mission) วิสัยทัศน์(vision) และแน่นอนว่าต้องมี ยุทธศาสตร์ (strategy) ต่อจากยุทธศาสตร์ก็จะเป็นแผนปฏิบัติหรือ operational plan หรือกิจกรรม(activities)ที่จะทำเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ที่กำหนด

ดูเหมือนว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะไม่ได้กำหนดพันธกิจไว้ แต่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน”

วิสัยทัศน์คือ ภาพที่เรามองเห็น หรือต้องการให้เป็นในอนาคต ซึ่งต้องถือว่า คสช ได้กำหนดวิสัยทัศน์ได้ดีพอสมควร สำหรับประเทศไทย เมื่อมาดูที่ยุทธศาสตร์ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้านดังนี้ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยม และวัฒนธรรม การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ต่อจากยุทธศาสตร์แต่ละด้านก็จะมีกิจกรรม หรือแผนปฏิบัติที่เขียนไว้กว้างๆ แต่ก็มีรายละเอียดมากพอควร ถึงตรงนี้เราลองมาดูบ้างว่า ยุทธศาสตร์ที่แท้จริงแล้วคืออะไร ยุทธศาสตร์ หรือ strategy เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน นั่นคือเราจะแข่งขันกับคนอื่นๆหรือประเทศอื่นๆด้วยอะไร เพื่อทำให้องค์กรหรือประเทศเราในอนาคตเป็นดังวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ยุทธศาสตร์จึงเป็นการเลือกที่จะไม่ทำ มากกว่าที่จะทำไปเสียทุกอย่าง เนื่องจากไม่มีองค์กรใดหรือประเทศใดที่มีทรัพยากรไม่จำกัด ที่จะทำทุกเรื่องทุกอย่างได้ ยุทธศาสตร์จึงมีได้เพียงหนึ่งเดียว ไม่ใช่มี 6 ด้านอย่างในแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ยุทธศาสตร์ 6 ด้านที่กำหนดไว้จึงไม่ใช่ยุทธศาสตร์แต่เป็นเพียงกิจกรรมที่เราต้องการจะทำที่แบ่งเป็น 6 ด้านด้วยกัน เนื่องจากไม่มียุทธศาสตร์ กิจกรรม 6 ด้านดังกล่าว จึงเป็นกิจกรรมที่ปราศจากทิศทาง ตัวอย่างเช่น การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แต่ในเมื่อในแผนไม่ได้กำหนดว่าจะแข่งขันด้วยอะไร จึงไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านใดและอย่างไร เมื่อไม่มีกำหนดไว้ จึงเขียนแผนครอบคลุมไปหมดทุกเรื่อง ซึ่งก็เป็นไปได้ยากที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันในทุกเรื่องได้พร้อมๆกัน

ยุทธศาสตร์ชาติที่ควรกำหนดคือ การมีจุดเน้น(focus) โดยอาจ focus ที่การเกษตรและจะแข่งขันด้วยความแตกต่างของผลิตผลทางการเกษตร และการแปรรูปสินค้าการเกษตร กิจกรรมที่ต้องทำกิจกรรมหนึ่งคือ การสร้างความสามารถในการแข่งขันของชาวนา ชาวไร่ เราก็จะต้องทุ่มเททรัพยากรไปกับการนี้ เพื่อให้ชาวนาชาวไร่ มีความรู้เพิ่มขึ้น ใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยขึ้น เพื่อสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพสูงและมีต้นทุนต่ำ 

ป้ายโฆษณาของห้าง DIY บอกว่า “ไม่ต้องตกใจหากพบว่า ของเราถูกกว่า” แสดงชัดเจนว่า DIY เลือกที่ไม่แข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง แต่เลือกที่จะแข่งขันด้วยราคา ผู้ที่จะเป็นลูกค้าของ DIY ก็คือผู้ที่ต้องการสินค้าราคาถูกกว่า ไม่ใช่สินค้าคุณภาพสูงราคาแพง ในขณะที่สินค้า designer เช่น กระเป๋า Hermes เลือกที่จะไม่แข่งขันด้วยราคา แต่แข่งขันด้วยความแตกต่างของสินค้า หากสร้างความแตกต่างที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคได้ ก็จะสามารถตั้งราคาสูงได้ ลูกค้าของ Hermes จึงไม่ใช่ผู้ที่ต้องการสินค้าราคาถูก ตรงข้าม สินค้ายิ่งแพงยิ่งอยากได้เสียด้วยซ้ำ

ถึงแม้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ไร้ยุทธศาสตร์ แต่หากจะบอกว่า เป็นแผนที่ไม่มีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้นั้น ไม่จริง เนื่องเพราะ 6 ด้านที่กำหนดไว้ จะเรียกว่าเป็นยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเพียงหัวข้อกว้างๆจนกว้างเกินไปไม่มีด้านไหนที่จะต้องเปลี่ยนตามโลก เช่น การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนอย่างไรก็ควรทำ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนตามโลกคือ แผนปฏิบัติซึ่งเป็นรายละเอียดคือ จะสร้างระบบบริหารอย่างไรต่างหาก ซี่งก็สามารถเปลี่ยนแปลงตามตามทฤษฎีใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆได้อยู่แล้ว การต้องการยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ขาติ 20 ปี ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น

“แทนที่จะให้ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลน่าจะเรียกร้องให้รัฐบาลนำเสนอต่อสาธารณะว่า หลังจากที่มีการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีไปแล้วจนถึงปัจจุบัน ได้มีการดำเนินการอะไรตามแผนไปแล้วบ้าง หรือมีความคืบหน้าอะไรบ้าง มีอะไรที่บ่งชี้ได้ว่า หลังจาก 20 ปีผ่านไป โอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นไปตามวิสัยทัศน์คือ เป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีมากน้อยแค่ไหน ถ้าเรียกร้องเช่นนี้ จะขอลงชื่อสนับสนุนด้วยอย่างแน่นอน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดฟังคำสั่ง 'ก้าวไกล' ฟ้อง 'กกต.' 2 มาตรฐาน ปมยุบพรรค

ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำสั่งในคดีที่ เรือเอก ย. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณกรรมการการเลือกตั้งทั้ง6 เเละเลขาฯกกต.กับพวกรวม 7 คน คดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 58/2567 ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ประกอบมาตรา83

กกต.ย้ำไม่ได้เร่งยุบก้าวไกลแต่ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ศาล รธน.แล้วตั้งแต่ 25 มี.ค.

กกต.แจง ส่งเอกสาร ยื่นยุบก้าวไกล เพิ่มเติมถึงศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ส่วนคำร้องยุบภูมิใจไทยเป็นคนรับประเด็น

กกต.ได้เอกสาร 44 สส.ก้าวไกลลงชื่อแก้ 112 ส่งศาลรธน.พิจารณายุบพรรคแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญยังไม่พิจารณาคำร้องยุบพรรคก้าวไกลเนื่องจากมีเอกสารบางรายการที่กกต.ส่งไปไม่ชัดเจนและมีคำสั่งให้กกต. ส่งเอกสารที่ชัดเจนให้กับศาลรัฐธรรมนูญภายใน