'ปานเทพ' สรุปปมขัดแย้งใน MOU จัดตั้งรัฐบาล ชี้แค่เพิ่มเติมข้อความตามรัฐธรรมนูญบรรดาผู้ทรงอิทธำลของพรรคยังออกอาการ หากได้เป็นรัฐบาลจริงแล้วชงแก้ ม.112 ขึ้นมาจะรับผิดชอบกันอย่างไร
24 พ.ค.2566 - นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความขัดแย้งใน MOU การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกลในประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ ระบุว่า กรณีเรื่อง MOU ในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคก้าวไกลนั้น สรุปประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตได้ดังต่อไปนี้
ประการแรก เป็นการเซ็น MOU โดย กกต. ยังไม่ได้รับรอง และยังไม่ได้เลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรจริงๆ และยังไม่ได้เลือกนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จจริงๆ ดังนั้นสิ่งที่เซ็นไปนั้นไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่
ประการที่สอง พรรคก้าวไกลถอยหรือยังไม่ถอย เนื่องจากมีการเพิ่มข้อความใน MOU ว่า “ทุกพรรคเห็นร่วมกันว่าภารกิจของรัฐบาลที่ทุกพรรคจะผลักดันนั้น ต้องไม่กระทบต่อรูปแบบของรัฐ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์” เนื่องจากข้อความดังกล่าวเป็นข้อความปกติที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
การลงนามในการเพิ่มข้อความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ย่อมปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้ว ถ้านายพิธาปฏิเสธในข้อความดังกล่าวถึงจะเป็นเรื่องผิดปกติ และถ้าผิดปกติถึงขั้นไม่ลงนาม 8 พรรคสำเร็จ พรรคก้าวไกลก็ต้องไปเป็นฝ่ายค้านแน่ จริงหรือไม่?
แต่การที่พรรคที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเพิ่มข้อความตามรัฐธรรมนูญนี้เข้าไปจากเดิมซึ่งไม่มี จึงเสมือนเป็นการ ตอกย้ำว่าอาจจะมีปัญหาในเรื่องที่สังคมกำลังสงสัยในเรื่องจุดยืนของพรรคก้าวไกลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่?
แต่ขนาดที่ว่าข้อความที่เพิ่มขึ้นมาใน MOU นั้น เป็นข้อความปกติตามรัฐธรรมนูญ กลับมีความเห็นที่ขัดแย้งและไม่เห็นด้วยกับข้อความปกติจากผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดของพรรคก้าวไกล ทั้งจาก อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ และผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล รวมถึงข้อความจาก อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลที่โพสต์ข้อความในการแถลงข้อความที่เพิ่มขึ้นมานี้ว่า “ฟังแล้วจะอ้วก”
แสดงให้เห็นว่า แม้ประเด็นที่ปกติตามข้อความรัฐธรรมนูญในประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังเป็นประเด็นปัญหาที่มีความขัดแยังทางความคิดในหมู่พรรคก้าวไกลเอง จริงหรือไม่?
ประการที่สาม แต่พรรคก้าวไกลยังจะเดินหน้าแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อสภาผู้แทนราษฎรอยู่ แม้การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมีการแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง แต่ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีเนื้อหาว่าจะลดโทษผู้ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และการอาฆาดมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท ให้ลดโทษเหมือนคดีหมิ่นประมาทของประชาชนทั่วไปในปัจจุบัน?
คำถามมีอยู่ว่าการแก้กฎหมายที่มีเนื้อหาเช่นนี้ที่มีการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ให้น้อยลง จะทำให้มีผู้ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และการอาฆาดมาดร้าย เพิ่มขึ้นหรือลดลงกันแน่? โดยเฉพาะการที่จะแก้ไขให้สำนักพระราชวัง (ผู้กระทำแทนพระองค์)ให้เป็นคู่กรณีฟ้องร้องทะเลาะกับประชาชนเอาเองนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แทนที่จะให้เป็นคดีอาญาแผ่นดินเหมือนกับการคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างชาติ ทูตานุทูต ฯลฯ ดังที่เคยเป็นมา
เพราะหากสำนักพระราชวังไปทะเลาะฟ้องร้องกับประชาชนเอาเองจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงได้อย่างไร
ในทางตรงกันข้ามหากสำนักพระราชวังปล่อยให้มีการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาดมาดร้าย ใส่ร้าย เพียงเพราะไม่ต้องการมีเรื่องเป็นคู่กรณีกับประชาชนในฐานะเป็นองค์ประมุขของประเทศ ย่อมทำให้องค์พระมหากษัตริย์ถูกดูหมิ่น หมิ่นประมาท ใส่ร้าย และอาฆาดมาดร้ายเพราะความเข้าใจผิดมากขึ้น จริงหรือไม่?
การที่พรรคก้าวไกลอ้างว่าการแก้ไขแบบนี้เป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง แล้วจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในสังคมไทยได้อย่างมั่นคง จริงหรือไม่? ฟังขึ้นหรือไม่?
ปัญหาใน MOU ของหัวหน้าพรรคก้าวไกล คือ ยอมรับบันทึกความเข้าใจว่าจะไม่ให้กระทบต่อการดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์ แต่ถ้าพรรคก้าวไกลยังยืนยันจะเดินหน้ากฎหมายประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้มีการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาดมาดร้าย ได้ง่ายและสะดวกขึ้นเพราะมีบทลงโทษน้อยลงนั้น ขัดแย้งกันเองหรือไม่?
ข้อความของ MOU ในการจัดตั้งรัฐบาลที่พรรคก้าวไกล โดยมีนายพิธาแถลงว่าจะเคารพและสักการะต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อให้วุฒิสภาสนับสนุนให้นายพิธานเป็นนายกรัฐมนตรีไปก่อน ใช่หรือไม่? กับจุดยืนของพรรคก้าวไกลที่มีนายพิธาเป็นทั้งหัวหน้าพรรคและกำลังจะเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีว่าจะเสนอกฎหมายให้การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาดมาดร้าย ต่อองค์พระมหากษัตริย์ให้มีโทษลดลง และให้สำนักพระราชวังเป็นคู่คดีไปทะเลาะกับผู้ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาดมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์เอาเอง เพื่อเอาใจมวลชนบางส่วนที่เลือกพรรคก้าวไกลใช่หรือไม่?
คำถามคือ สิ่งใดคือความจริงที่จะเกิดขึ้นกันแน่ !? สมาชิกวุฒิสภาคงจะต้องสอบถามเพื่อให้ได้รับคำตอบความจริงนี้จากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และรวมถึงสมาชิกรัฐสภา (ส.ส.ทุกพรรค และ ส.ว.ทุกคน) ว่าสิ่งใดเป็นความจริงกันแน่ เพราะขนาดข้อความปกติตามรัฐธรรมนูญ ยังออกอาการขัดแย้งกันเองในพรรคก้าวไกลขนาดนี้
คำถามตามมา คือ หากพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จแล้ว และได้อำนาจในแต่ละกระทรวงไปแล้ว
พวกท่าน ส.ส.ทุกพรรค และ ส.ว. จะมั่นใจและรับผิดชอบได้อย่างไรว่าจะไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงไหนจากพรรคก้าวไกล ดำเนินนโยบายที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในกระทรวงเป้าหมายที่เป็นข่าว เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่การกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ
หรือว่าจริงๆแล้ว ส.ส.ทุกพรรคที่จะสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้สนใจในประเด็นนี้ แต่จะสนใจแค่ว่าต้องการได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลและเป็นรัฐมนตรีสำเร็จไปเท่านั้น พรรคก้าวไกลเมื่อเป็นรัฐบาลแล้วอยากจะทำอะไรก็เป็นเรื่องของพรรคก้าวไกล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม. อนุมัติให้ลงนาม MOU ตั้ง คกก.JTC-ร่างแผนร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทย-อียิปต์
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC)
'บิ๊กอ้วน' ชี้ 'สนธิ' แค่หนึ่งเสียงการบริหารประเทศไม่ควรโฟกัสแค่คนคนเดียว!
'ภูมิธรรม' ยังไม่เห็นข้อเรียกร้อง 'สนธิ' บอกเป็นแค่ความเห็นหนึ่งต้องรับฟังทุกฝ่าย เปรียบเหมือนมองปี๊บหนึ่งใบ ต้องมองให้รอบด้าน ไม่หมิ่นประมาทม็อบจุดติดหรือไม่
ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
'อนุทิน' สวนเพื่อไทย! จุดยืน 'ภท.' ไม่เอาด้วย กม.สกัดปฏิวัติ
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนภูมิใจไทย ไม่เอาด้วยกฎหมายสกัดปฏิวัติ ชี้นักการเมืองอย่าสร้างเงื่อนไข ทำตัวให้ดีอย่าขึ้โกง ชงกฎหมายแค่สัญลักษณ์ ถึงเวลารัฐธรรมนูญโดนฉีกอยู่ดี
ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ 'กฎอัยการศึก' สส.ไทยไม่สามารถยกเลิกได้ แตกต่างจากเกาหลีใต้
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย กฎอัยการศึกสถานะเป็นพระราชบัญญัติ การยกเลิกในประเทศเกาหลีใต้กระทำโดยมติสภา แตกต่างจากประเทศไทย สส.ตัวแทนประชาชน ไม่สามารถยับยั้งยกเลิกได้
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป