'ท่านโรม' กร้าวเปลี่ยนวันชาติ ไม่ใช่เรื่องใหม่เถียงกันได้ โบ้ยการเมืองสร้างประเด็นด้อยค่าก้าวไกล

26 มิ.ย.2566 - ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมถาษณ์ถึงกรณีจะมีการเสนอให้เปลี่ยนวันชาติเป็นวันที่ 24 มิ.ย. ว่า จริงๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงมานาน พอเรื่องนี้เป็นประเด็นช่วงนี้จึงกลายเป็นในทางมุ่งหมายทางการเมือง ที่ต้องการใช้ทุกเรื่องสร้างประเด็นหรือด้อยค่าพรรคก้าวไกล หวังว่ากระบวนการดังกล่าวจะทำให้พรรคก้าวไกล ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ในเรื่องวันชาติเป็นประเด็นที่หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ดีๆ วันชาติก็คือวันที่ 24 มิ.ย. หลังจากนั้นก็มีการรัฐประหารขึ้นและมีการเปลี่ยนวันชาติ สิ่งที่ตนกล่าวก็ไม่ได้แตกต่างจากหลายคนที่เป็นนักประวัติศาสตร์พูด แต่แน่นอนว่าเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาในการพูดคุย และจะทำได้จริงหรือไม่ต้องมีการพูดคุยกันในสังคม ไม่ใช่วาระที่ต้องพูดคุยกันในเร็วๆ นี้ ในระยะสั้น พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญในการเตรียมนโยบาย รวมไปถึงการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล และทำนโยบายต่างๆ ที่เราได้สัญญาไว้กับประชาชน

เมื่อถามว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นความเห็นส่วนตัวหรือความเห็นพรรค นายรังสิมันต์กล่าวว่า ยังไม่มีการคุยกันในพรรค การพูดของตนในงานเสวนาเป็นการพูดในเรื่องของประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต แน่นอนว่าเป็นมุมมองส่วนตัว

ถามว่า เรื่องนี้อาจถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลให้ส.ว.ไม่โหวตนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นนายกฯ หรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ต้องคุยกันว่า เราจะจัดตั้งรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้อย่างไร และหากเราจัดตั้งรัฐบาลได้สุดท้ายเราบริหารประเทศไปแล้ว ประชาชนชื่นชอบหรือเห็นด้วยอย่างไร ก็เป็นเรื่องของประชาชน สิ่งที่เราคาดหวังคือ ในปี 2562 มีการพูดว่าส.ว.ที่โหวตสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์สามารถรวบรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร เราจึงหวังว่าหากใช้มาตรฐานนี้ในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ก็ควรจะเดินต่อไปได้ ซึ่งตอนนี้เรามองไปถึงการโหวตประธานสภาก่อน ซึ่งในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้ เราจะทราบถึงผลมติโหวตประธานสภาว่าเป็นอย่างไร

ซักว่า มีกระแสข่าวจะซื้องูเห่าคนละ 100 ล้าน มีความเห็นอย่างไร นายรังสิมันต์กล่าวว่า ถ้าพูดถึงเรื่องของการซื้องูเห่า ต้องยอมรับว่าสำหรับตน เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์บาดแผลเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น คนที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน สิ่งที่เราไม่อยากเห็นที่สุดคือการทรยศต่อประชาชน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับพรรคไหน มันก็คือกระบวนการที่อาจจะทำให้ความเชื่อมั่น และความศรัทธาของประชาชนต่อระบอบรัฐสภาอาจจะลดลงได้ และสร้างความเสียหายระยะยาวต่อการเมืองไทย เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิด

“ต้องเรียนตามตรงว่า งูเห่า ถ้ามี โอกาสที่จะยืนระยะยาวต่อไปในทางการเมือง ผมว่าก็ไม่ง่าย ถ้าเราดูหลายๆ คนที่เป็นงูเห่า ไม่ได้รับโอกาสจากประชาชนอีกแล้ว ดังนั้นตนคิดว่าอย่าให้มีบรรยากาศเช่นนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกประธานสภา เลือกนายกรัฐมนตรี ควรจะเป็นหน้าที่ที่สอดรับกับความมุ่งหมายของประชาชนที่อยากเห็นต่อรัฐบาล ไม่ควรนำเรื่องเงินที่จะสัญญาให้กันมาเป็นเงื่อนไขในการยกมือ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นคือการทำลายการเมือง ประเทศชาติ และประชาธิปไตย” นายรังสิมันต์กล่าว

เมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรที่เรื่องของงูเห่ามาจากส.ว. นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ ตนไม่ทราบว่าเรื่องของงูเห่าจริงเท็จแค่ไหน สิ่งที่ตนตอบได้คือเรื่องของหลักการ ว่าเรื่องแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น ควรเป็นการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาของคนที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นส.ส. หรือส.ว. สิ่งที่เราต้องช่วยกันทำให้เกิดขึ้นให้ได้ คือการเลือกประธานสภาหรือนายกรัฐมนตรี สอดคล้องกับผลของการเลือกตั้ง และตนเชื่อว่าวิธีเช่นนี้เป็นวิธีการเดียวที่ทำให้ประเทศของเราออกจากบ่วงของความขัดแย้ง และเดินหน้าต่อไปได้ หากรัฐบาลทำหน้าที่ไม่ดี เป็นเรื่องของประชาชนที่จะต้องตัดสิน ว่าสุดท้ายรัฐบาลชุดนนั้นทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพหรือไม่ หากนำกระบวนการตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่กำลังจะหมดอายุไขในปีหน้ามาขัดขวาง คำถามคือว่าเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าไปอย่างที่เป็นได้ สุดท้ายอาจจะเป็นหล่มการเมืองแบบเดิมหรือไม่ สิ่งที่ตนต้องการเห็นคือทำให้มันถูกต้องเท่านั้น คืนความปกติให้การเมือง อย่าใช้ขบวนการวิชามารทั้งหลายอีกเลย

ซักว่า มีความเห็นว่าหลายฝ่ายมองว่าการจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จสักทีและใช้เวลานาน นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตนคิดว่ามันมีระดับของมันอยู่ กรณีที่เราฟอร์ม 8 พรรคร่วมรัฐบาลถือว่ารวดเร็ว ถือว่าเป็นกระบวนการที่สมูทดว้ยซ้ำไป ถึงแม้ว่าจะมีแต่ 8 พรรคการเมืองคุยกัน เราตกลงเป็นเอ็มโอยูได้ หากไม่มีมาตรา 272 กระบวนการนี้คงจะดำเนินการไปจนเกือบเสร็จแล้ว ในส่วนที่ช้าอาจจะเป็นปัจจัยอื่น เช่น การรับรองส.ส. ซึ่งใช้เวลาในการรับรองมาก ตนไม่เข้าใจว่ารับรองทันทีหลังเลือกตั้งกับใช้เวลา1 เดือนในการรับรอง ผลออกมาแตกต่างกันอย่างไร เพราะทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่ได้สอยใครหรือแจกใบอะไรสักอย่าง ตนไม่แน่ใจว่าความล่าช้าเช่นนี้ที่ส่วนหนึ่ง กกต. เป็นปัจจัย ประเทศได้ประโยชน์จากอะไร หากเรามองอย่างเป็นธรรม กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลของก้าวไกลไม่ได้ช้า แต่ที่เกิดคำถามเพราะเรากังวลว่า ประเทศของเราจะมีการเมืองที่ไม่ปกติ หากเราเชื่อมั่นว่าการเมืองเราปกติ จะไม่เกิดคำถามพวกนี้ขึ้น เรารู้แก่ใจใช่หรือไม่ว่าการเมืองของเรามีปัญหาอยู่ แต่ตนยืนยันว่าพรรคก้าวไกลเรามีจุดยืนที่จะคืนความปกติให้สังคม ดังนั้นเราจึงพยายามเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลให้ได้

ถามอีกว่า หากมีการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยจริงทางพรรคก้าวไกลจะทำอย่างไร นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตนมองว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างยาก เพราะ 1. เท่าที่ติดตามดีเบตมาบางพรรคการเมืองก็พูดตรงกัน ว่าโอกาสที่จะมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยคงเป็นไปไม่ได้ 2. รัฐบาลเสียงข้างน้อยบริหารยาก ถึงที่สุดก็ต้องผ่านกฎหมายผ่านสภา ทั้งเรื่องงบประมาณ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นตนยังมั่นใจว่าวิถีทางที่เราเสนอต่อสังคมในการจับมือ 8 พรรค รวมเสียงกันได้ 313 เสียง เป็นทางออกเดียวและทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยในตอนนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

'ก้าวไกล' หนุนแก้กฎหมายสกัดรัฐประหาร ลั่นกองทัพต้องอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม มีข้อเสนอให้สภากลาโหมเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…)

'ดร.อานนท์' ชงสูตรการเมืองทำลาย 'ก้าวไกล-ธนาธร' เชื่อยอมเจ็บเถิด จะได้จบ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า