กสม. แนะกลาโหม ติดตามและแจ้งญาติในทันที กรณีทหารกองเกินหายตัว ระหว่างการดูแลของสัสดี

กสม. แนะกลาโหม ติดตามและแจ้งญาติในทันที กรณีทหารกองเกินหายตัวไปในระหว่างการดูแลของสัสดี ก่อนพบเป็นศพจมน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้า

15ก.ย. 2566 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​ กล่าวว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่งเมื่อเดือนมี.ค. 2566 ระบุว่า บุตรชายของผู้ร้อง ผ่านการตรวจคัดเลือกเข้าเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2565 ผู้ร้องส่งตัวบุตรชายให้สัสดีอำเภอคลองหลวง (ผู้ถูกร้องที่ 1) ซึ่งนำส่งตัวบุตรชายของผู้ร้องและทหารกองเกินรายอื่นไปยังสถานที่นัดรวมพลเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองประจำการ เมื่อไปถึงสถานที่นัดรวมพล เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสัสดีจังหวัดปทุมธานี (ผู้ถูกร้องที่ 2) ให้บุตรชายของผู้ร้องและทหารกองเกินรายอื่นนั่งพักคอยรอเรียกชื่อ เมื่อเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกร้องที่ 2 เรียกชื่อทหารกองเกินเพื่อขึ้นทะเบียน ปรากฏว่าบุตรชายของผู้ร้องไม่อยู่ในสถานที่ดังกล่าวโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมามีผู้พบศพบุตรชายของผู้ร้องเสียชีวิตจากการจมน้ำ

ผู้ร้องเห็นว่าเมื่อผู้ถูกร้องทั้งสองรับตัวบุตรชายของผู้ร้องแล้ว มีหน้าที่ต้องดูแลผู้อยู่ในปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความระมัดระวัง และเมื่อทราบว่าบุตรชายของผู้ร้องหายตัวไป ไม่ติดตามหรือดำเนินการตามหน้าที่เพื่อนำตัวบุตรชายของผู้ร้องกลับมารับการฝึกแต่อย่างใด หลังจากนั้น ผู้ร้องได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสวนพริกไทย จังหวัดปทุมธานี (ผู้ถูกร้องที่ 3) ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกร้องที่ 1 กับพวก ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรชายของผู้ร้องเสียชีวิต และจงใจปล่อยปละละเลย ประมาทเลินเล่อ ละเว้น และบกพร่องต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้บุตรชายของผู้ร้องเสียชีวิต แต่ระยะเวลาล่วงเลยมาพอสมควรแล้วผู้ร้องยังไม่ทราบความคืบหน้าของคดี จึงขอให้ตรวจสอบ

กสม. เห็นว่า กรณีตามคำร้องมีประเด็นต้องพิจารณา ว่า สัสดีอำเภอคลองหลวง และสำนักงานสัสดีจังหวัดปทุมธานี ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และ 2 ได้กระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีปล่อยปละละเลยให้บุตรชายของผู้ร้องหายตัวไปจากสถานที่นัดรวมพลจนนำไปสู่การเสียชีวิต หรือไม่ จากการตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องกระทรวงกลาโหม ต่อศาลปกครองกลางในประเด็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องที่ 1 จนทำให้บุตรชายของผู้ร้องเสียชีวิต และศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณาแล้ว กสม. จึงไม่อาจใช้หน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนต่อไปได้ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 39 (1) ประกอบมาตรา 39 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ กสม. สั่งยุติเรื่อง หากเป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลแล้ว ซึ่ง กสม. จะติดตามผลการพิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ตาม กสม. มีข้อสังเกตว่า เมื่อบุตรชายของผู้ร้องได้เข้ารายงานตัวตามนัดหมายเข้ารับราชการทหารของอำเภอคลองหลวง โดยมีผู้ถูกร้องที่ 1 กับพวก มารับตัว มีการแจกเบี้ยเลี้ยงและให้ขึ้นรถบัสนำส่งตัวไปยังสถานที่รวมพลที่ผู้ถูกร้องที่ 2 กำหนด จึงเห็นว่า บุตรชายผู้ร้องอยู่ในความดูแลและภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ถูกร้องทั้งสองแล้ว ซึ่งหากผู้ร้องได้รับแจ้งกรณีที่บุตรชายหายตัวไปจากสถานที่ดังกล่าวอย่างรวดเร็วและทันท่วงที อาจจะแก้ไขสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แต่จากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ถูกร้องทั้งสองได้ติดตามหาตัวบุตรชายของผู้ร้อง หรือมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการติดตามหรือแจ้งให้ผู้ปกครองหรือญาติทราบอย่างรวดเร็ว

ส่วนประเด็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสวนพริกไทย (ผู้ถูกร้องที่ 3) ไม่แจ้งความคืบหน้าการสอบสวนในคดีที่ผู้ร้องได้ร้องทุกข์ไว้ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนได้มีหนังสือแจ้งความคืบหน้าการสอบสวนคดีอาญาให้ผู้ร้องทราบ 2 ครั้ง ซึ่งระยะเวลาการแจ้งความคืบหน้าเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 ลงวันที่ 1 ก.ค. 2556 เรื่องการแจ้งความคืบหน้าของคดีให้ผู้แจ้งความร้องทุกข์ ทราบแล้ว ในชั้นนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การร้องทุกข์ของผู้ร้องที่ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นกรณีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 61 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง รวมทั้งรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นแล้วส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการร้องทุกข์ ซึ่งจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตั้งแต่ผู้ร้องได้ร้องทุกข์ต่อผู้ถูกร้องที่ 3 และส่งเรื่องร้องทุกข์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นระยะเวลากว่า 178 วัน ซึ่งไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังกระทรวงกลาโหมให้ปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอน กรณีพบว่าทหารกองเกินที่ได้มารายงานตัวต่อสัสดีแล้ว แต่ต่อมาได้หายตัวไประหว่างรอขึ้นทะเบียนกองประจำการหรือระหว่างการนำส่งตัว โดยให้มีการติดตามตัวและแจ้งครอบครัวหรือญาติของทหารกองเกินทราบในทันที และให้ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานีตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสวนพริกไทยที่ไม่สามารถแสวงหาข้อเท็จจริงหรือรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นได้ทันตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด แล้วนำผลการตรวจสอบไปกำหนดมาตรการหรือแนวทางเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองทัพอากาศ เรียก 3 พันล้าน หากทอท.ใช้ 'สนามงู' ขยายรันเวย์สนามบินดอนเมือง

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาพิจารณาการถ่ายโอนธุรกิจของกองทัพฯเปิดเผยว่าวันนี้ คณะกรรมาธิการฯได้เชิญผู้แทนจาก กองทัพอากาศ สำนักงานการบินพลเรือน

นิด้าโพลชี้ประชาชนไม่เชื่อแก้ พ.ร.บ.กลาโหม จะหยุดรัฐประหารได้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “หยุดรัฐประหาร!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'เศรษฐา1/1'เศรษฐกิจ-การเมืองนำ เว้นระยะ'ความมั่นคง-กองทัพ'

โฉมหน้า “คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/1” ที่ออกมา นอกจากจะเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตัวบุคคลของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เป้าหมายที่ฉายภาพชัดต่อทิศทางการบริหารงานของรัฐบาล

ส่องงบ 68 'กลาโหม' ปรับลดบุคลากร-ตัดกิจกรรมสร้างภาพลักษณ์ จัดซื้ออาวุธเพิ่มขึ้น

ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ได้ผ่านความเห็นชอบ รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 3,752,700 ล้านบาท โดยเป็นการตั้งงบแบบขาดดุล เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2567

'ก้าวไกล' ชูร่างกฎหมายจัดระเบียบกลาโหม ปฏิรูปกองทัพ คืนอำนาจให้รมต.

ร.ท. ธนเดช เพ็งสุข สส.กทม.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงแนวคิดการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และกฎหมายศาลทหาร