คปท.เดินหน้าสู้ ยื่นผู้ว่าฯสตง.ระงับแจกเงินดิจิทัล แจ้งปปช.-กกต.ให้สอบสวน

คปท.ยื่นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ระงับโครงการแจกเงินดิจิทัล ชี้เป็นนโยบายที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการเงินการคลัง มีพฤติการณ์ทุจริตตต่อหน้าที่ ขัดรธน. แนะ แจ้งปปช.-กกต.หรือหน่วยงานอื่นให้สอบสวน

20 ต.ค.2566 - ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยนายพิชิต ไชยมงคล นายนัสเซอร์ ยีหมะ นายสอและ กูมุดา นายภิมะ สิทธิ์ประเสริฐ ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ดำเนินการระงับหรือยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐในโครงการแจกเงิน ดิจิทัลของรัฐบาล โดยมีที่ปรึกษาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับหนังสือแทน

เนื้อหาในหนังสือ ระบุว่า ด้วยขณะนี้รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน มีนโยบายการแจกเงินดิจิทัลแก่ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๑๖ ปี ขึ้นไป คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท อ้างเหตุต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยอ้างว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ในระยะสั้นว่าเพื่อเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจ ๖ เท่าตัว (ราว ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สามล้านล้านบาทถ้วน) อ้างว่าสร้างประโยชน์ระยะกลาง เพื่อวางมาตรการและเงื่อนไขให้รัฐเก็บภาษีคืนได้ และอ้างประโยชน์ระยะยาวว่า เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๕๖๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(ห้าแสนหกหมื่นล้านบาทถ้วน) โดยใช้วิธีการกู้เงินมาทำโครงการนั้น ภายหลังประชาชนได้รับรู้รับทราบถึงนโยบายดังกล่าว ต่างวิพากษ์วิจารณ์ และชี้ให้เห็นถึงผลเสียของโครงการนี้ รวมทั้งแสดงความไม่เห็นด้วยกับโครงการแจกเงินคราวนี้เป็นจำนวนมาก หากยังคงดำเนินการตามนโยบายนี้ต่อไป ประเทศชาติจะได้รับความเสียหายที่ไม่สามารถเยียวยาแก้ไขได้ และจะตกเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินต่อไปในอนาคต ที่จะต้องเข้ามารับภาระชำระหนี้หรือรับภาระในความเสียหายทางเศรษฐกิจการเงิน-การคลังของประเทศ

โดยผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายแจกเงินคนละ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อคน ซึ่งต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า ๕๖๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท นั้น จะส่งผลให้เกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงิน-การคลังของประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง ไม่เกิดผลต่อการใช้จ่าย และจะไม่ทำให้เกิดการเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้อ้างต่อประชาชน แต่จะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวต่อการพัฒนาประเทศ เพราะเงินที่นำมาทำโครงการนั้น ได้มาจากการกู้ที่มีค่าใช้จ่าย เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดิจิตอล และค่าใช้จ่ายในการจัดการรูปแบบการใช้เงินดิจิตอล อีกไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(ห้าหมื่นล้านบาทถ้วน) รวมแล้วจะต้องใช้เงินตลอดทั้งโครงการไม่น้อยกว่า ๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(หกแสนล้านล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณประจำปีงบประมาณ ทั้งยังมีพฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่า จะมีการทุจริตตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการตามนโยบายนี้ อันเนื่องจากเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ให้บริการ หรือเจ้าของสกุลเงินดิจิตอลรายใดรายหนึ่งอย่างชัดเจน

นอกจากนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ปรากฏว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับโครงการนี้ออกมาส่งเสียงเพื่อสนับสนุนรัฐบาลให้ทำโครงการนี้ให้แล้วเสร็จ ซึ่งการร้องขอดังกล่าวของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีลักษณะการแบ่งแยกประชาชนออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุน กับฝ่ายคัดค้านการจัดทำโครงการแจกเงินดิจิตอลคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการกระทำเพื่อแบ่งแยกประชาชน และทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชน อันเป็นการกระทำขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕ วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”

เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) เห็นว่า การดำเนินการในนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เป็นนโยบายที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการเงินการคลังของประเทศ และมีพฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่า จะมีการทุจริตตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๐ มาตรา ๒๔๔ และมาตรา ๒๔๕ ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจโดยตรงของท่าน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่การเงิน-การคลังของประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งเป็นการระงับหรือยับยั้งความเสียหายที่อาจแก่การเงินการ-คลังอย่างร้ายแรง

เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) จึงขอให้ท่านดำเนินการดังนี้

๑.ขอให้ระงับโครงการแจกเงินดิจิทัล ซึ่งจะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงแก่ระบบการเงินการคลังของประเทศโดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญที่ท่านสามารถกระทำได้ ตามและโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๐ มาตรา ๒๔๔ และมาตรา ๒๔๕

๒.แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน หรือปฏิบัติตามหน้าที่ในการดำเนินการเอาผิดต่อผู้กระทำการทุจริต หรือแจ้งเหตุว่าจะมีการทุจริตในโครงการจนเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการเงิน-การคลังของประเทศ

๓.แจ้งรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ให้ยกเลิกโครงการแจกเงินดิจิตอล เพื่อระงับยับยั้งความเสียหายอย่างร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นแก่การเงินการ-คลังของประเทศ พร้อมทั้งเปิดเผยผลการสืบสวนสอบสวนตามข้อ ๑. ต่อประชาชนเพื่อทราบด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระวัง ขายข้าวค้างสต๊อกแล้วขายชาติ ทำลายข้าวดีๆที่เป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงของไทย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก กรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์

ฟาด 'เดอะอ้วน' กินข้าวเน่าฟอกขาว 'ยิ่งลักษณ์' เหมือนฟอก 'ทักษิณ' กลับไทย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก กรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ พาสื่อมวลชนและผู้ส่งออกลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ตรวจสอบข้าวสารค้างสต๊อก 10 ปี

นายกฯซวยแล้ว! ภาคปชช.อ้างคำวินิจฉัยกฤษฎีกาคุณสมบัติ 'ทนายถุงขนม' ยื่นป.ป.ช.เอาผิด

สืบเนื่องจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี เฉพาะตามมาตรา 160(6) ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญ

ไม่ใช่ศาล! เตือนนายกฯปรึกษากฤษฎีกาเรื่องคุณสมบัติ 'ทนายถุงขนม' อาจหลุดพร้อมกัน

กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของ นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)