'กฤษฎีกา' แก้กม.ใช้สารต้องห้าม ชงร่าง พรก.เข้าครม. 28 ธ.ค. เร่งขอ 'วาด้า' ลดโทษแบนไทย

21 ธ.ค.2564 - รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่านายพิพัฒน์ รัชกิจประการรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา รายงานกรณีอีสปอร์ต ที่ได้แชมป์ชนะเลิศเกมส์ RoVนานาชาติ นั้นเป็นทีมบุรีรัมย์ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวเสริมขึ้นมาว่าน่าเสียดายที่ปักธงชาติไทยไม่ได้ และอีกหลายประเทศก็ยังแก้ไขเรื่องนี้ไม่ได้ ทำให้นายวิษณุ เครืองามรอง นายกฯ ได้ให้ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาลุกขึ้นรายงานความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาตามที่องค์กรต่อต้านสารต้องห้ามโลก (วาด้า) ระงับธงชาติในเวทีแข่งขันนานาชาติ ซึ่งขณะนี้กฤษฎีกาดำเนินการแก้ไขเสร็จแล้ว และ ส่งให้วาด้าตรวจสอบโดยได้รับความเห็นชอบแล้ว และเรื่องนี้จะเสนอเป็นร่างพ.ร.ก. เข้าที่ประชุมครม.ในวันที่ 28 ธ.ค. เพื่อให้ประกาศใช้ให้ทัน ม.ค. 65 อย่างไรก็ตาม ตามโทษเดิมของวาด้า ไทยต้องโทษ1 ปี ตั้งแต่ วันที่8 ต.ค. 64 และ เมื่อเราออกเป็น พ.ร.ก.แล้ว ก็จะได้ประสานเพื่อเจรจาลดหย่อนโทษดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุระ' มั่นใจ ฝ่ายค้านซักฟอกรัฐบาลไม่ระคาย หนุนปรับครม.หาคนเหมาะสม

“สุระ” มั่นใจ ฝ่ายค้านซักฟอก ไม่ทำให้ เสถียรภาพรัฐบาลสั่นคลอน เหตุ จำนวนเสียงพรรคร่วมรัฐบาลยังหนุนอื้อ ชี้ ปรับครม. นายกฯ พิจารณาตามความเหมาะสม เสริมประสิทธิภาพทำงาน แก้ปัญหาให้ประชาชน

ครม. อนุมัติร่างกฎกระทรวงประมงพาณิชย์ ส่งกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. .... ดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาต

จบปมที่ดินทับซ้อน ใช้แผนที่ทหาร 1 ต่อ 4,000  เกาะติดฝุ่นพิษ รายงานทุก 4 ชม.

นายกฯ สั่งเร่งสางปมที่ดินทับซ้อน ใช้แผนที่ทหาร 1:4,000 พร้อมอนุมัติงบกลางประมูลสิทธิจัดงานหลากหลายทางเพศ พร้อมเผย ครม.รับหลักการร่าง พ.ร.บ.แอลกอฮอล์ ก่อนส่งกฤษฎีกาตรวจ รับลูกทส. แก้ฝุ่นPM 2.5 ปรับKPI หวังผลสูงขึ้น รายงานผลทุก 4 ชม.

ครม. อ้าแขนรับหลักการ ร่างกม.คุมน้ำเมา 'ฉบับ สธ.'

ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ฉบับ สธ. ตีตกฉบับประชาชน – เท่าพิภพ ชี้มีรายละเอียดของการแก้ไขปรับปรุงยังคงมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับระดับความเข้มงวดของการควบคุมและการผ่อนปรนมาตรการที่อาจยังไม่นำไปสู่ความสมดุลที่เหมาะสม รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกลไกการบังคับใช้กฎหมายในแต่ละร่างฯ ยังคงมีความแตกต่างกันมาก