นักวิชาการถามถึงเวลาใช้มาตรการจัดการฝุ่นPM2.5หรือยัง

24 ม.ค.2567 - นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ถึงเวลาใช้มาตรการจัดการฝุ่นPM2.5หรือยัง” ระบุว่า GISTDAและคพ. รายงาน ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้กรุงเทพเกินค่ามาตรฐานอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ 50 เขตและทั่วประเทศในระดับสีแดง 9 จังหวัดซึ่งช่วงนี้เกิดขึ้นติด ต่อกันเป็นเวลาหลายวันแล้ว กรุงเทพ อ่าง ทอง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม มีฝุ่นสูงขึ้นมาก

ส่วนราชการควรต้องใช้มาตรการทางกฎ หมายเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้แล้วขึ้นกับว่าภาครัฐกล้าจัดการหรือไม่

1.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
มาตรา 9 เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยัน ตรายต่อสาธารณชนอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติหรือภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนั้นจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพอนามัยของประ ชาชนหรือก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐเป็นอันมาก ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสม ควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือบุคคลใด รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับหรืออาจได้รับอัน ตรายหรือความเสียหายดังกล่าวกระทำหรือร่วมกันกระทำการใดๆอันจะมีผลเป็น การควบคุม ระงับหรือบรรเทาผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงที ในกรณีที่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้ก่อให้เกิดภาวะมลพิษดังกล่าวให้นา ยกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลนั้นไม่ให้กระ ทำการใดอันจะมีผลเป็นการเพิ่มความรุน แรงแก่ภาวะมลพิษในระหว่างที่มีเหตุภยัน ตรายดังกล่าวด้วย

อำนาจในการสั่งตามวรรคหนึ่ง นายกรัฐมนตรีจะมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจัง หวัดปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดแทนนายกรัฐมนตรีได้โดยให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งตามวรรคหนึ่งหรือผู้ว่าราช การจังหวัดในการปฏิบัติราชการแทนนา ยกรัฐมนตรีได้สั่งตามวรรคสองแล้ว ให้ประกาศคำสั่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบก ษาโดยมิชักช้า

มาตรา 10 เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไข ระงับหรือบรรเทาเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายจากภาวะมลพิษตามมาตรา 9 ให้รัฐมนตรีกำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า

2.พ.ร.บ.การสาธารณสุข (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2560 สามารถกำนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญได้ดังนี้
มาตรา 28/1 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุรำคาญเป็นบริเวณกว้างจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐ มนตรีประกาศกำหนด(ซึ่งกำหนดแล้ว)โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขและประกาศในราชกิจจานุเบกษาการระ งับเหตุรำคาญและการจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด. ในกรณีที่เหตุรำคาญได้ถูกระงับจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุข ภาพของสาธารณชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศยกเลิกพื้นที่ควบคุมเหตุรำ คาญนั้นโดยไม่ชักช้า”

3.มาตรการ work from home หยุดโรง เรียนสำหรับเด็กเล็ก ห้องปลอดฝุ่น หน้า กากN95ต้องนำมาใช้แล้ว ,มาตรการการจัดการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษที่เกิดจากการเผา เช่น จับกุมการเผาในที่โล่งรวมทั้งขอความร่วมมือลดการเผาโดยใช้ถ่าน น้ำมันเตา น้ำมันดีเซลในที่โล่ง ,มาตร ารตรวจจับรถยนต์ควันดำ ,มาตรการขอให้งดการใช้รถยนต์และส่งเสริมจูงใจให้ประ ชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชน, มาตร การการควบคุมมลพิษจากไซส์ก่อสร้าง แพลนปูนซีเมนต์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็น ต้น ควบคุมการเผาตอซังฟางข้าว เผาขยะทุกพื้นที่ต้องนำมาใช้แล้ว สุขภาพอนามัยต้องมาก่อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง