กสม.ยินดีที่ประเทศไทยให้สัตยาบัน คุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้หายสาบสูญ

กสม. ยินดีที่ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ

24พ.ค.2567- นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยได้ยื่นสัตยาบันสารเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance: ICPPED) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2567 นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขอแสดงความยินดีและชื่นชมรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการคุ้มครองประชาชนจากการถูกบังคับให้หายสาบสูญในอนาคต อีกทั้งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการสมัครเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. 2025 – 2027 ด้วย

กสม. ได้ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนทุกภาคส่วนขับเคลื่อนและผลักดันจนกระทั่งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ขณะเดียวกันได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งรัดการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ เพื่อคุ้มครองบุคคลทุกคนที่จะไม่ถูกกระทำให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ทั้งนี้ เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (ICPPED) แล้ว เท่ากับว่าประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาหลัก
ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศภายใต้สหประชาชาติ จำนวนทั้งสิ้น 8 ฉบับ จาก 9 ฉบับ ได้แก่
(1) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) (2) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) (3) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) (4) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) (5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD) (6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) (7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) และ (8) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (ICPPED) คงเหลือเพียง อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (CMW) ที่ประเทศไทยยังมิได้เข้าเป็นภาคีเพียงฉบับเดียว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม. เผยผลการตรวจสอบศูนย์บำบัดยาเสพติดจ.ปัตตานี ถูกร้องเรียนละเมิดสิทธิฯ

กสม. ตรวจสอบกรณีศูนย์บำบัดยาเสพติดใน จ.ปัตตานี ถูกร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิฯ แนะหน่วยงานสนับสนุนจัดตั้งเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลอย่างเหมาะสม

กสม.ชี้นายทะเบียนปฏิเสธจัดทำทะเบียน 'กลุ่มคนไร้รากเหง้า' เป็นการละเมิดสิทธิฯ

กสม. ชี้กรณีนายทะเบียนอำเภอเมืองตราดปฏิเสธการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะกรมการปกครองแก้ไขและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่

กสม. ทำข้อเสนอแนะเรื่อง 'ทรงผมนักเรียน' ชี้ต้องรับฟังความเห็นและเน้นการมีส่วนร่วม

กสม. ทำข้อเสนอแนะเรื่องทรงผมนักเรียน ชี้การกำหนดระเบียบทรงผมต้องรับฟังความเห็นและเน้นการมีส่วนร่วมของเด็ก

'มหาเถรสมาคม' ตอบรับข้อเสนอแนะ กสม. ห้ามบังคับตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนบวช

'มหาเถรสมาคม' ตอบรับข้อเสนอแนะ กสม. มีมติเห็นควรห้ามบังคับตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนบวชเป็นพระภิกษุ ย้ำหลักการไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพ

กสม. ชี้ ตำรวจ สภ. ดอยสะเก็ด ละเมิดสิทธิ ไม่บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจค้นจับกุม

กสม. ตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. ดอยสะเก็ด ไม่บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหา แนะสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำกับดูแลและสนับสนุนอุปกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย