'อ.ไชยันต์' ย้อนถามมีสว.ไว้ทำไม ยกตัวอย่างหลายประเทศยกเลิกแล้ว เหตุไม่มีความจำเป็น

29 พ.ค.2567- ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

มี สว ไว้ทำไม ? (มีดีกว่าไม่มี)
การยกเลิกสภาที่สองในประเทศต่างๆ อย่างเช่น เดนมาร์ก ในปี ค.ศ.1953 ไม่ได้เกิดจากการที่สภาที่สองมีปัญหา
แต่เกิดจากความไม่จำเป็นของการมีสภาที่สองที่เป็นสภาของชนชั้นสูง
เพราะสภาผู้แทนราษฎรสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
ปัจจุบัน ประเทศที่ใช้ระบบสภาเดียว ได้แก่ อาร์มีเนีย บัลแกเรีย เดนมาร์ก ฮังการี โมนาโค ยูเครน เซอร์เบีย ตุรกี และสวีเดน
และประเทศที่จะเหมาะกับการมีสภาเดียวคือ ประเทศที่มีขนาดเล็ก และมีประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นยาวนานพอสมควร และไม่มีความหลากหลายจนเกินไป
และข้อดีของการมีสภาเดียวคือ สามารถออกกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่า
หากจะให้ประเทศไทยใช้ระบบสภาเดียว ก็ต้องแน่ใจว่า จะไม่เกิดปัญหาเผด็จการเสียงข้างมาก
ซึ่งอาจจำเป็นต้องออกแบบระบบเลือกตั้งให้เหมาะสมที่จะไม่ให้มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเกินครึ่งในสภาได้ง่ายๆ
ซึ่งถ้าไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงเกินครึ่งได้ง่าย การตรวจสอบกันเองของพรรคการเมืองและคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะมีประสิทธิภาพ
และหากจะหวังให้ประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ก็หวังว่า จะไม่เกิดการชุมนุมประชันขันแข่งในที่สาธารณะจนบานปลายกลายเป็นวิกฤตการเมือง
แต่ก่อนจะคิดเลิกระบบสองสภา และใช้ระบบสภาเดียวเพราะหมดปัญญา ควรหันกลับมาระดมสมองสติปัญญาคิดหาวิธีการที่เหมาะสมในการได้มาซึ่งวุฒิสภากันอีกสักครั้ง
ลองคิดเล่นๆดูว่า หากในสมัย ทักษิณ วุฒิสภา ไม่ได้เป็นสภาผัวเมีย การเมืองจะวิ่งไปสู่ทางตันอย่างที่เป็นไหม ?
และถ้าในสมัยพลเอกประยุทธ์ วุฒิสภาไม่ได้เป็นสภาโคตรญาติ-พี่น้องผองพวก การเมืองจะดำเนินมาถึงจุดที่เป็นอยู่ขณะนี้หรือไม่ ?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ไชยันต์' ยกความเห็น 'รศ.วรศักดิ์' อำมหิตเหนืออำมหิต รณรงค์เรื่องสิทธิประกันตัว

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'อ.ไชยันต์' เปิดพระราชบันทึก Democracy in Siam พระปกเกล้าฯ เตรียมการสู่ปชต.

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า