4 ก.ค.2567 - กรณี น.ส.ธิษะณา ชุณหะวัณ หรือ แก้วตา สส.กทม. พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความทางแพลตฟอร์ม X ว่า เป็นเกียรติ์อย่างยิ่งที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับอดีต ส.ส.พรรค NLD (พรรคการเมืองของอองซานซูจี) ขอให้เมียนมาร์ได้รับประชาธิปไตยในเร็ววัน
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชื่อ "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ระบุว่า “อ่อนหัดดัดจะ…….” หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการภายในของแต่ละประเทศ ปรากฏอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติและสมาคมอาเซียน
แต่ยังมีนักการเมืองอ่อนหัด จากพรรคการเมืองที่รวมเด็กเมื่อวานซืน ละเลยและไม่รู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศ แต่พยายามแอ็คท่าอินเตอร์ เหมือนเป็นผู้เชี่ยวชาญกิจการระหว่างประเทศ ทั้งที่โชว์ความอ่อนหัด
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
…………………………………………
ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็น วันอาเซียน
โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ซึ่งมีการกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน ความเป็นมิตรภาพและ….
***การไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเริ่มใช้งานในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC)
** ซึ่งก็เป็นการนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น…
***หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการภายในของแต่ละรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น
…………………………………………
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายทหาร นักการเมืองและนักการทูตฝีมือฉกาจคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ยกตัวอย่างวีรกรรมเช่น พ.ศ. 2501 ได้ถูกเหตุการณ์ทางการเมืองผันแปรชีวิตไปเป็นอุปทูตอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประจำประเทศอาร์เจนตินา และเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประจำประเทศออสเตรีย ตุรกี สำนักวาติกัน และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ตามลำดับ
ปี พ.ศ. 2515 พล.อ. ชาติชาย เดินทางกลับประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง
ก่อนจะทำงานการเมืองโดยเคยดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 17 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ
อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ก็ไม่ธรรมดา
แต่ลูกและหลานคนนี้ กลับห่างไกลจากพ่อและปู่เหลือเกิน
บรรพบุรุษสร้างสมผลงานและชื่อเสียง แต่ลูกหลานทำสิ่งตรงกันข้าม อย่างน่าเสียดาย
เอ่อ...ขอสไลด์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปธ.กมธ.มั่นคง แนะ กต. ถกชาติมหาอำนาจช่วยกดดัน 'ว้าแดง' ถอนทัพเขตแดนไทย
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม
'โรม' สับรัฐบาลอ่อน เมียนมายังไม่ปล่อยตัวลูกเรือไทย แนะต้องประท้วงให้เข้มแข็งกว่านี้
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม
นายกฯ อิ๊งค์บอกข่าวดี! เมียนมาจะปล่อย 4 คนไทยหลังปีใหม่
นายกฯ เผยข่าวดีปม 4 คนไทยเรียบร้อยหลังปีใหม่ ส่วนเรื่องคดีความต้องคุยกันต่อ
จับ“ไทย”ชน“เมียนมา” เด้งเชือกรับมือเกมมหาอำนาจ
หลังจากที่กองกำลัง “ว้าแดง” ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงข่าวลือความตึงเครียดระหว่างทหารไทยกับว้าแดงบริเวณชายแดน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้ “ข่าวลือ” ดังกล่าวเริ่มเบาเสียงลง
'ภูมิธรรม' แจงเหตุเมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 คนไทย ยันทำทุกวิถีทางแล้ว
'ภูมิธรรม' แจง 4 คนไทยยังกลับไม่ได้ เหตุรอรัฐบาลเมียนมาตัดสินใจ ยํ้าทำทุกวิถีทางแล้ว หากเกิดในประเทศไทยต้องทำเช่นกัน ปัดโยงการเมือง
พม่ายังไม่ปล่อย ประมงไทย 4 คน
เมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย อ้างไม่ได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือ ด้านโฆษกกระทรวงกลาโหมยืนยัน TBC ฝ่ายไทยเร่งประสานช่วยเหลือ