13 ต.ค.2567-นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า “เชียงราย” น้ำลด ปัญหาไม่ลด วิกฤตยังคงอยู่ เชื่อมั่น #คนไทยต้องไม่ทิ้งกัน แต่ถ้ายังทิ้งปัญหาไว้ น่าเห็นใจชาวบ้าน ขณะนี้การ “กู้ภัย” เร่งด่วน คือ การจัดการกับ “โคลนดินทราย” และ การ “ฟื้นฟู” ท่อระบายน้ำ ระบบสาธารณูปโภคสำคัญ
จากการที่ผมนำ “วิศวกรอาสา” ลงพื้นที่ช่วยเหลือขาวบ้านที่เชียงราย ปัญหาที่ยังคงอยู่คือ “โคลนดินทราย” มาจากการกัดเซาะ “ภูเขา” ที่เต็มไปด้วยแร่ “คาร์บอเนต” เมื่อผสมกับน้ำ เมื่อแห้งอาจกลายเป็น “หินปูน” ทำให้การเคลื่อนย้าย ยากขึ้นไปอีก ลำบากมาก ผมขอเป็นกำลังใจและสนับสนุน ภาครัฐ และภาคเอกชน หลายหน่วยงาน ที่ยังช่วยเต็มกำลัง เช่น #กองทัพไทย #มณฑลทหารบกเชียงราย #มูลนิธิกระจกเงา และองค์กรการกุศลอีกมากมาย ยังคงอยู่ในพื้นที่ “ลงทุน” และ “ลงแรง” ช่วยกัน “กู้และฟื้น” ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบระบายน้ำ ให้ประชาชนกลับบ้านได้ และเริ่มต้นกิจกรรมชีวิตของตน
แต่เพียงอาสาสมัคร “คนยังไม่พอ เครื่องมือยังไม่พร้อม” น้ำลด ความช่วยเหลือที่ส่งมา ลดตามไปด้วย?
ผมได้เสนอ “การกู้ภัย” และ “การฟื้นฟู” หลายครั้ง ขอย้ำอีกครั้งนะครับ
1. ต้อง “จ้างแรงงานในพื้นที่” จำนวนมาก ประเมินว่าต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ซึ่งสอดคล้องกับ “รายงานการจัดการภัยพิบัติ” ของญี่ปุ่นหลังเกิดสึนามิครั้งใหญ่ในปี 2554 ที่ระบุชัด รัฐบาลได้ระดม “จ้างงานครั้งใหญ่” เพื่อ
– ช่วยคัดแยกขยะในพื้นที่ภัยพิบัติ
– ช่วยขนดินและซากปรักหักพังจำนวนมหาศาล ออกจากอาคาร
– ช่วยการรื้อถอนอาคารที่อันตราย
และที่จำเป็นมาก คือ – ช่วยบูรณะสาธารณูปโภค โดยเฉพาะ “ท่อระบายน้ำ” ที่เสียหายมาก ซึ่งงานทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องใช้ “คน” จำนวนมาก ซึ่งวันนี้ยังไม่พอ
2. การเลือกใช้ “เครื่องจักรกล” ที่เหมาะสม ในการจัดการกับ “มวลมหาโคลนดิน” ต้องใช้เครื่องมือที่ใช่ ไม่ใช่เครื่องมือ “อะไรก็ได้” ต้องเน้นเครื่องจักรกล “ขนาดเล็ก” ที่ให้คนเพียง 1 คน เข้าไปควบคุม เช่น เครื่องขุดดินขนาดเล็ก หรือ Mini Excavator
ทั้ง “เครื่องฉีดน้ำ” จำเป็นมาก เพราะช่วยทั้ง ฉีดไล่โคลน และเลี้ยงน้ำไว้ อย่าให้โคลนดินทรายแห้ง จะกลายเป็นหินปูน คราวนี้เรื่องใหญ่เลย ท่อระบายน้ำที่อุดตันด้วยโคลน แต่จะช่วงจะมี Manhole หรือ “บ่อพัก” ที่เปิดพอเข้าไปทำงานได้ ต้องดูดโคลน หรือตักออก ด้วยแรงงานคน
แต่หากเรามีเครื่องฉีดน้ำ ที่มี “กำลัง” พอ อาจดันไปยัง จุดเชื่อมต่อสุดท้าย น่าจะเป็นแหล่งปล่อยน้ำ ที่มี “พื้นที่” แล้วเราจึงสามารถใช้ รถตักดิน ตักใส่รถแยกโคลน (Desilting) เพื่อแยกดินทรายใส่รถบรรทุก ลำเลียงออก ไม่ใช่บรรทุกกันทั้ง “เปียกๆเละๆ” แบบนี้หกหล่น เดือดร้อนกันตลอดเส้นทาง
อย่างไรก็ตาม ต้องมี “แบบแปลน” ของเครือข่ายท่อ ทั้งหมดพร้อมค่าระดับ เพื่อการจัดการอย่างมีเป้าหมาย และแม่นยำขึ้น
3. ควรใช้โอกาสนี้ “รื้อสาธารณูปโภค” ที่หมดอายุ เสียหายหนัก และไม่สอดคล้องกับแผนรับมือในอนาคต อย่าปล่อยโอกาสนี้ไป เพราะหากมีทั้งแรงงาน มีเครื่องจักร อยู่ในพื้นที่แล้ว หากทำทีหลังจะยุ่งยากกว่านี้มากครับ
ขอกำลังทุกท่านร่วมกัน แก้ปัญหาวิกฤต “สาธารณูปโภค” หลังน้ำลดที่ “เชียงราย” นะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“พิพัฒน์” จ้างงานเร่งด่วน ระดมช่างไฟฟ้าซ่อมในอาคารกว่า 100 หลัง สร้างเชียงรายโมเดล ช่วยฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดให้ประกอบอาชีพได้
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน KICK OFF กิจกรรมการให้บริการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย
TSB ลุยช่วยสังคมต่อเนื่อง จับมือนักธุรกิจเอกชน ฟื้นฟูน้ำท่วมเชียงราย
ไทย สมายล์ บัส และบริษัทในเครือ ร่วมกับ มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ และนักธุรกิจภาคเอกชน เดินหน้าสานต่อโครงการ “สังคมร่วมใจ คืนความสดใสให้วัดและโรงเรียน จ.เชียงราย” เร่งฟื้นฟูวัดและโรงเรียนน้ำท่วม
ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 8 เตือนเหนืออากาศแปรปรวน-ใต้ฝนตกหนัก
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง
อุตุฯ เตือนใต้ฝนตกหนัก เหนืออากาศเย็นอุณหภูมิลด 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ยังไม่ปิด 'ศปช.' รันงานต่อรับมือภาคใต้ฝนถล่ม
“บิ๊กอ้วน“ ยังไม่ปิด ศปช. เหตุต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อ เตรียมพร้อมรับมือสัปดาห์นี้ภาคใต้ยังมีฝนหนักหลายพื้นที่
นายกฯ สั่งส่วนราชการเก็บรายละเอียดช่วยเหลือประชาชนต่อไป แม้จะคืนพื้นที่น้ำท่วมแล้ว
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ส่วนราชการในพื้นที่ ศปช.ส่วนหน้า แม้จะปิดไปแล้ว แต่ขอให้ส่วนราชการในพื้นที่ประจำ