แอมเนสตี้ นำทีม 46 องค์กร จี้โลกเรียกร้องความรับผิดชอบต่ออาชญากรรมโหดร้ายสี่ปีหลังรัฐประหารเมียนมา

AFP/Getty Images

4 ก.พ.2568 – 46 องค์กรภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดความรับผิดต่อความโหดร้ายในเมียนมา ในวาระครบรอบสี่ปีของการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2564 กองทัพเมียนมาได้สังหารประชาชนกว่า 6,000 คน ควบคุมตัวบุคคลโดยพลการกว่า 20,000 คน และได้รื้อฟื้นการประหารชีวิตตามคำสั่งศาลอีกครั้งหนึ่ง มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศกว่า 3.5 ล้านคน กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้บันทึกข้อมูลการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ที่ถูกกองทัพควบคุมตัว การโจมตีโดยไม่เลือกเป้าหมาย และการปิดกั้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งอาจเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม

องค์กรภาคประชาสังคมทั้ง 46 องค์กรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธในเมียนมาเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและร่วมมือในกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงการสนับสนุนกลไกยุติธรรมอย่างจริงจัง นานาประเทศ รวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน ต้องเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลทหาร ด้วยการปิดกั้นการส่งอาวุธ ระงับการส่งออกเชื้อเพลิงอากาศยาน และสนับสนุนกลไกยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงการดำเนินคดี หรือส่งตัวผู้ต้องสงสัยไปยังศาลระหว่างประเทศ

อาเซียนต้องก้าวข้ามความล้มเหลวของฉันทามติ 5 ข้อ และดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อให้เกิดความรับผิดของรัฐบาลทหาร นอกจากนี้ เราขอเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนให้เกิดการพัฒนายุทธศาสตร์ความยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่เกิดจากการประสานงานและทำงานในระยะยาว

สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ได้ขอหมายจับพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่การดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงคนอื่นๆ ในอนาคต การดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในเมียนมายังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องการการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศต่อไป

ทั้งนี้ วิกฤตสิทธิมนุษยชนในเมียนมาไม่ได้เริ่มต้นจากการทำรัฐประหาร แต่การกดขี่ได้เกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว การยุติการลอยนวลพ้นผิดต้องอาศัยแนวทางแก้ปัญหาที่กล้าหาญและยืดหยุ่น รวมถึงความมุ่งมั่นทางการเมืองและการเงินในระยะยาว ประชาคมโลกต้องดำเนินการแก้ไขวิกฤตสิทธิมนุษยชนนี้โดยทันที.

  1. Sisters2Sisters
  2. Ah Nah Podcast – Conversations with Myanmar
  3. Amnesty International
  4. Arakan Rohingya National Organisation
  5. Arakan Rohingya National Union
  6. Assistance Association for Myanmar-based Independent Journalists
  7. Athan – Freedom of Expression Activist Organization
  8. Blood Money Campaign
  9. Burma Action Ireland
  10. Burma Campaign UK
  11. Burma Civil War Museum
  12. Burma Human Rights Network
  13. Burma War Crimes Investigation
  14. Burmese Rohingya Organisation UK
  15. CAN-Myanmar
  16. Center for Ah Nyar Studies
  17. Chin Human Rights Organization
  18. Community Rebuilding Center
  19. Defend Myanmar Democracy
  20. EarthRights International
  21. Fortify Rights
  22. Free Rohingya Coalition
  23. Global Myanmar Spring Revolution
  24. Human Rights Foundation of Monland
  25. Independent Myanmar Journalists Association
  26. Kaladan Press Network
  27. Karen Human Rights Group
  28. Karenni Human Rights Group
  29. Mayu Region Human Rights Documentation Center
  30. Mother’s Embrace
  31. Myanmar Ethnic Rohingya Human Rights Organization in Malaysia
  32. New Myanmar Foundation
  33. Odhikar
  34. Progressive Muslim Youth Association
  35. Political Prisoners Network – Myanmar
  36. Refugee Women for Peace and Justice
  37. Refugees International
  38. Rohingya Human Rights Initiative
  39. Rohingya Student League
  40. Rohingya Student Network
  41. Rohingya Student Union
  42. Rohingya Youth for Legal Action
  43. RW Welfare Society
  44. Sitt Nyein Pann Foundation
  45. Women Organization of Political Prisoners
  46. Youth Congress Rohingya

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนุ่มเมียนมา เคยถูกจับลักทรัพย์ เปลี่ยนชื่อย่องกลับมาไทยแต่ไม่รอด

ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร พ.ต.อ.ปกฉัตร ชัยสุกวัฒน์ ผกก.ตม.สมุทรสาคร ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า  ตามนโยบายของ พล.ต.ท.ภานุมาศ บุญญลักษม์  ผบช.สตม.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ตม.จว.สมุทรสาคร

ตม. ตรวจสอบโรงเรียนในสลัมพม่า กลางเมืองภูเก็ต ไม่พบความผิด

เจ้าหน้าที่ ตม.จว.ภูเก็ต ร่วมกับเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. , เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง , เจ้าหน้าที่จัดหางานจังหวัดภูเก็ต  เข้าไปตรวจสอบสถานที่ซึ่งเป็นกระแสสังคมดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ใน ซ.หัชนานิเวศน์  2/9 ถ.อนุภาษภูเก็ตการ ต.ตลาดใหญ่

ชายแดนไทยตรึงกำลังเข้ม! KNLA ยึดฐานปูลูตู่สำเร็จ ทหารเมียนมาหนีตายข้ามฝั่ง

กองกำลังกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยงหรือเคเอ็นแอลเอ (Karen National Liberation Army–KNLA) กองพลน้อยที่ 7 ได้นำกำลังพลโจมตีทหารรัฐบาลเมียนมา

ส่งตัวชาวจีน 1,439 คนกลับประเทศ หลังปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ศูนย์สั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านเมียนมา จังหวัดตาก ได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกในการส่งตัวบุคคลสัญชาติจีนที่ถูกหลอกไปทำงานผิดกฎหมายในเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา กลับประเทศต้นทาง ตามคำร้องขอของ

แอมเนสตี้ โวยส่ง 'ชาวอุยกูร์' กลับจีน เป็นความโหดร้ายเกินจินตนาการ

จากรายงานที่ระบุว่าชาวอุยกูร์ประมาณ 40 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2557 ได้ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศจีนในวันนี้ เรื่องนี้