พี่ศรีจี้รัฐเอาจริง! ใช่ยาแรงจัดการบริษัททำน้ำมันรั่ว

ศรีสุวรรณเดือด! จี้รัฐหยุดเอื้อประโยชน์ผู้ประกอบการ ใช้กฎหมายเด็ดขาดฟ้องเรียกค่าเสียหายบริษัททำน้ำมันรั่วมาบตาพุด

27 ม.ค.2565 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์ระบุกรณีที่เกิดเหตุน้ำมันดิบใต้ทะเลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึก หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเลของ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) รั่วไหลบริเวณทะเลอ่าวมาบตาพุด อ.เมืองระยองกว่า 4 แสนลิตร ซึ่งต่อมากรมควบคุมมลพิษคำนวณว่ามี 128 ตันหรือ 1.6 แสนลิตร แต่มีข้อพิรุธ คือ รองผู้ว่าฯ ระยองกลับอ้างว่ามีเพียง 24,000 ลิตร โดยบริษัทดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์ยอมรับว่า เหตุเกิดเมื่อเวลา 21.06 น. วันที่ 25 มกราคม 2565 พบน้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัทจริง ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองนั้น

เหตุที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นโศกนาฏกรรมทางทะเลซ้ำในพื้นที่ทะเลระยองอีกครั้ง หลังจากที่เคยเกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลระยองไปกว่า 50,000 ลิตรในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้วเมื่อปี 2556 ซึ่งครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายให้กับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อาชีพชาวประมงพื้นบ้าน รวมทั้งทำลายสถานที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะหาดเสม็ด หาดแม่รำพึง จนกระทบพ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปทั้งระบบ จนประเมินค่าความเสียหายมิได้

ยังไม่ทันข้ามพ้นทศวรรษปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเลระยองกลับมาเกิดซ้ำอีก ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของผู้ประกอบการที่อาจหละหลวมต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรการที่ระบุไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมทั้งหน่วยงานอนุญาตและกำกับดูแลทั้งหลาย อาจละเลยหรือไม่เคร่งครัดในการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยและด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในมาตรการ ซึ่งต้องไล่เบี้ยมาตั้งแต่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งหากจะหาผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว ยังมีอีกมากมายนัก

ปัญหาที่เกิดขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะต้องเลิกปฏิบัติในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล ซึ่งชอบที่จะต้องใช้ความเด็ดขาดหรือใช้ยาแรง โดย กนอ.และกระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ประกอบการดังกล่าวทันที และขึ้นแบล็กลิสต์ไว้ ส่วนกรมควบคุมมลพิษและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะต้องใช้อำนาจตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ในการเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งค่าดำเนินการกำจัดคราบน้ำมันด้วย ฯลฯ ส่วนภาคประชาชน ชาวประมง พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท ให้สำรวจความเสียหายไว้ และเร็วๆนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จะไปตั้งโต๊ะรับเรื่องร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

กนอ.ดึงเอกชนตั้งรง.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาฯ ในนิคมฯ ภาคใต้ มูลค่าลงทุน 1,057 ลบ.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผย เอกชนรายใหญ่ทุ่มทุนตั้งโรงงานพื้นที่ Rubber City ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ 35 ไร่ มูลค่าการลงทุน 1,057 ล้านบาท ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาชนิดไม่เสริมเหล็ก ในเขตอุตสาหกรรมยางขั้นปลายน้ำส่วนหลัง ตอบรับนโยบายรัฐบาลในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เสริมสร้างการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน

รมว.อุตฯ เร่งยกระดับโกโก้ไทย แปรรูปสู่สินค้าพรีเมียมระดับโลก

"พิมพ์ภัทรา" สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เร่งยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมโกโก้สู่การเป็นไทยโกโก้ฮับ (THAI COCOA HUB) ของอาเซียน

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

ด่วน ! รมว. “ศุภมาส” ส่ง “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่ระยอง ตรวจพิสูจน์น้ำเปลี่ยนสี หวั่นกระทบคุณภาพชีวิตประชาชนและระบบนิเวศทะเลไทย

6 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทีมนักวิทยาศาสตร์