
“จักรภพ”วิเคราะห์ศึกเดือด “ทรัมป์-เซเลนสกี” เป็นความอัปยศของประวัติศาสตร์สากล อุดมการณ์ที่เคยยึดถือถูกกระชากมากระทืบต่อหน้าต่อตา มองไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับข้อเท็จจริงโลกที่ผันผวนทางการเมืองระหว่างประเทศ
2 มี.ค.2568 – นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แสดงความเห็นกรณีการปะทะคารมระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ระหว่างการแถลงข่าวภายในทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวทีเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงแร่แรร์เอิร์ธ แต่กลับกลายเป็นสนามเผชิญหน้าทางอุดมการณ์ที่ร้อนระอุ
นายจักรภพ ระบุว่า การแถลงข่าวดังกล่าวเป็น “สงครามทางความคิด” ระหว่างชาติใหญ่กับชาติเล็ก ซึ่งถูกจัดฉากให้สื่อมวลชนฝ่ายอนุรักษ์นิยมตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อทรัมป์ ขณะที่เซเลนสกีถูกยั่วยุด้วยข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการวางตัวและการแต่งกาย จนนำไปสู่การตอบโต้ที่แสดงออกถึงความไม่พอใจ โดยเฉพาะเมื่อรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ กล่าวว่าทรัมป์คือผู้ที่ช่วยให้ยูเครนเข้าใกล้สันติภาพ ท่ามกลางสงครามที่ดำเนินมากว่าสามปี คำกล่าวนี้ทำให้เซเลนสกีเดือดดาล และตอบโต้กลับว่า “อะไรคือการทูตที่เหลืออยู่” เมื่อยูเครนถูกทำลายย่อยยับและประชาชนล้มตายนับล้าน
นายจักรภพ ระบุว่า ด้านทรัมป์เองก็ไม่ลดราวาศอก ตอบโต้เซเลนสกีด้วยท่าทีเย้ยหยัน พร้อมกล่าวไล่หลังว่า “ถ้าเปลี่ยนทัศนคติได้เมื่อไร ค่อยกลับมาคุยกันใหม่” มองว่าคำพูดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ณ ขณะนี้ สหรัฐฯ ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนต่อปัญหายูเครน
อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ยังวิเคราะห์ด้วยว่า ไม่ว่าผลของสงครามจะจบลงด้วยการเจรจาแบบใด ยูเครนจะต้องเผชิญกับคำถามที่ยากที่สุด คือจะอยู่ต่อไปอย่างไรกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ขณะที่เซเลนสกีอาจต้องลาออกจากตำแหน่ง เพราะไม่สามารถรักษาดินแดนของตนได้ ส่วนทรัมป์และแวนซ์ยังคงให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของชาติมากกว่าการรักษาหลักการและความถูกต้อง
“นี่คือโลกของเรา ทรัมป์และแวนซ์อาจทำลายอุดมการณ์และหลักการทั้งหมดภายใน 4-8 ปี หรืออาจยาวนานถึง 20 ปี หากแวนซ์ขึ้นเป็นประธานาธิบดีต่อจากทรัมป์ ในขณะที่เซเลนสกีจะกลายเป็นฮีโร่ที่ถูกบอบช้ำอย่างหนัก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทำเนียบขาวครั้งนี้ถือเป็นความอัปยศของประวัติศาสตร์สากล อุดมการณ์ที่เคยยึดถือถูกกระชากมากระทืบต่อหน้าต่อตา” นายจักรภพกล่าว
อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่าประเทศไทยต้องเรียนรู้จากปรากฏการณ์นี้ โดยยึดมั่นในหลักการและอุดมการณ์ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับข้อเท็จจริงของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อความอยู่รอดในสภาวะแห่งความผันผวนทางการเมืองระหว่างประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ลีดเดอร์ชิพโพลล์' สะท้อนเสียงประชาชนกังวลผลเจรจาภาษีนำเข้าสหรัฐฯ
ลีดเดอร์ชิพโพลล์เผยประชาชนกว่าร้อยละ 80 กังวลผลกระทบการเจรจาภาษีนำเข้าไทย-สหรัฐฯ เชื่อรัฐบาลยังเตรียมตัวไม่ชัด เสียงส่วนใหญ่อยากให้เน้นผลประโยชน์ระยะยาว ขณะความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลอยู่ในระดับปานกลาง
พิชัยถอดรหัสภาษีทรัมป์ ย้ำทุกวิกฤตมีโอกาสใหม่
“พิชัย” จับมือภาคเอกชน เปิดเวทีถอดรหัสนโยบายภาษีทรัมป์ ย้ำทุกวิกฤตมีโอกาสใหม่ของไทย รัฐเดินหน้าเจรจา FTA-คุมเข้มสินค้าด้อยคุณภาพ-สกัดการสวมสิทธิ์อย่างเด็ดขาด
สองตระกูล หนึ่งผลประโยชน์: เบื้องหลังสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
ในขณะที่ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สองของไทย เดินทางเยือน ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 23-24 เมษายน 2568 ในวาระ ครบรอบ
เลื่อนเจรจาโอกาส ‘ไทย’ ทบทวนข้อเสนอ นักวิชาการเตือน! ตามสหรัฐมากร้าวกับ ‘จีน’ แน่ แนะแนวทางลดบาดเจ็บระยะยาว
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ ไทยควรใช้จังหวะเลื่อนการเจรจาทรัมป์กลับมาทบทวนข้อแลกเปลี่ยนให้รอบด้าน และดูผลการต่อรองของประเทศอื่นเพื่อนำมาเปรียบเทียบ เผย “ทีมเจรจา” ต้องรักษาสมดุล ไม่เดินตามสหรัฐมากเกิน หลังจีนประกาศท่าทีแข็งกร้าว แนะรัฐบาลจริงจังปั้น ‘กำลังคนทักษะสูง’ สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน
'อิ๊งค์' รับ 'สหรัฐ' เลื่อนถกภาษี โวลั่นพร้อมบินไปเจรจาเอง!
นายกฯ แพทองธาร เผยเหตุสหรัฐ ขอยกเลิกนัดถกภาษีวันที่ 23 เม.ย. หลังไทยถูกรีเควสต์ให้ทบทวนเงื่อนไข ยันไม่ได้ช้าเกินไป พร้อมบินไปเจรจาด้วยตัวเองหากจำเป็น ยืนยันดิจิทัลวอลเล็ตยังเดินหน้าต่อ
เลื่อนไม่มีกำหนด! 'ทรัปม์' ยังไม่ได้เรียกคุย ทีมไทยแลนด์แม่สายบัว
มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่าขณะนี้ ทีมไทยแลนด์ ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในฐานะ หัวห