กมธ.ความมั่นคง จัดเวทีถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ผลกระทบไทยหลายด้าน

กมธ.ความมั่นคงเป็นเจ้าภาพจัดวงคุยสถานการณ์เมียนมา “โรม” ชี้สถานการณ์เมียนมากระทบไทยหลายด้าน หวั่นเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลทหารไม่สะท้อนเจตจำนงประชาชน แนะไทยมีบทบาทริเริ่มชวนนานาชาติตั้งโต๊ะพูดคุยคลายวิกฤติเมียนมา หลายฝ่ายกังวลรัสเซียเตรียมช่วยเมียนมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

22 มีนาคม 2568 - ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยองค์กรเครือข่าย ร่วมจัดงาน "การบ่มเพาะสันติภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืน เส้นทางของไทยและอาเซียนสู่ความมั่นคงชายแดนและประชาธิปไตย" โดยมีตัวแทนจากทั้งส่วนราชการไทย องค์กรระหว่างประเทศ คณะทูต และองค์กรภาคประชาสังคมร่วมกิจกรรม โดยมีการวงเสวนาที่เกี่ยวกับกรณีปัญหาเมียนมาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงชายแดนไทย โดยมีนายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ พล.ต.วิทยา เสมาทอง ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารบก ร่วมวงเสวนาดังกล่าว

โดยนาย รังสิมันต์ กล่าวว่าปัญหาในเมียนมามีความหลากหลาย ซับซ้อน และกินเวลายาวนาน โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา ทั้งคลื่นผู้อพยพจากการสู้รบ ผู้หนีภัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่ามีผู้หนีภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากถึง 7 ล้านคนหรือมากกว่านั้น นอกจากนี้สถานการณ์ในเมียนมายังนำมาซึ่งกิจกรรมผิดกฎหมายที่มากขึ้น ทั้งยาเสพติด แสกมเมอร์ คอลเซ็นเตอร์ ซึ่งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และยังมีกรณีที่น่ากังวลล่าสุดคือกรณีที่จะมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในเมียนมาภายใต้การสนับสนุนของรัสเซีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศไทยและอาเซียน และอาจทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคที่มีความขัดแย้งอยู่แล้วมีความซับซ้อนมากขึ้น

นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่าด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เราไม่สามารถปล่อยสถานการ์ในเมียนมาให้ดำเนินไปตามสภาพได้ แต่ต้องมีส่วนร่วมเข้าไปสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดในการทำให้สถานการณ์ในเมียนมาดีขึ้นคือกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งควรต้องเริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนชาวเมียนมามีอำนาจการตัดสินใจ และมีพื้นที่ปลอดภัยในการสร้างบทสนทนาหาทางออก ซึ่งเป็นหนทางที่ไม่ง่าย แต่สิ่งที่ประเทศไทยต้องไม่ทำเด็ดขาดคือการสนับสนุนกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น กระบวนการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งจะไม่สะท้อนเจตจำนงของประชาชนชาวเมียนมาอย่างแท้จริงแน่นอน

"ประเทศไทยควรเป็นตัวกลางผู้อำนวยความสะดวกในการสนับสนุนกระบวนการพูดคุยที่มากกว่านี้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ในเมียนมา ซึ่งลำพังประเทศไทยฝ่ายเดียวทำไม่ได้ ต้องเชื้อเชิญประเทศต่างๆ ทั้งมหาอำนาจและประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน แต่การที่ประเทศไทยจะมีบทบาทประสานงานเช่นนั้นได้ ประเทศไทยต้องสร้างความยอมรับจากประเทศต่างๆ ให้ได้เสียก่อนด้วย"

นายรังสิมันต์ ยังกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศกลางที่สามารถมีบทบาทริเริ่มการพูดคุยได้ แม้ในเวลานี้จะยังไม่มีโต๊ะ แต่ไทยก็สามารถเป็นผู้เริ่มตั้งโต๊ะได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องดึงทุกฝ่ายมาร่วมเพื่อไม่ให้วงแตก เพราะมีหลายฝ่ายที่ยังไม่สามารถเข้าสู่การพูดคุยกันได้ ส่วนในระดับประเทศ นอกจากประเทศมหาอำนาจแล้วก็มีหลายประเทศที่ควรได้รับการเชิญให้มาร่วมเป็นผู้ริเริ่ม ทั้งมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียน ญี่ปุ่นซึ่งมีความสนใจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นต้น

ขณะเดียวกัน วิทยากรจากฝ่ายความมั่นคงทั้งสองได้รายงานถึงสถานการณ์ผลกระทบที่ความขัดแย้งในเมียนมาส่งผลถึงประเทศไทย และกลไกที่ประเทศไทยใช้ในการประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหา รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์การสู้รบในเมียนมา โดยเห็นว่าสถานการณ์ในเวลานี้เป็นสภาวะชะงักงัน แม้ฝ่ายทหารเมียนมาจะถอนค่ายไปหลายค่าย แต่ฝ่ายชาติพันธุ์เองก็ไม่มีกำลังมากพอที่จะรุกคืบอย่างเด็ดขาดได้ และคาดว่าสถานการณ์จะอยู่ในสภาวะชะงักงันเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ อีกนาน ส่วนในเรื่องของปัญหาความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ผู้แทนฝ่ายความมั่นคงวิเคราะห์ว่าเนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงจึงไม่มีปัญหาด้านการสู้รบ ส่วนผลกระทบอื่นๆ ก็ยังอยู่ในข่ายที่ประเทศไทยสามารถรับมือได้

จากนั้นในช่วงบ่าย มีวงเสวนาว่าด้วยบทบาทของประเทศไทยที่สามารถทำได้ผ่านกลไกอาเซียนเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในเมียนมา โดยหนึ่งในวิทยากรร่วมวงเสวนา หว่องเฉิน ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รัฐสภามาเลเซีย ได้กล่าวตอนหนึ่งถึงความน่ากังวลจากกรณีโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมียนมา โดยระบุว่ากรณีดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ประเทศอาเซียนต้องร่วมกันปฏิเสธ อาเซียนควรเป็นภูมิภาคที่ปลอดนิวเคลียร์อย่างที่เป็นมา และพลังงานสะอาดก็มีทางเลือกอื่นอีกมากนอกจากพลังงานนิวเคลียร์ นอกจากนี้การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในพื้นที่สงครามยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

ทั้งนี้บทบาทของอาเซียนในการแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมาควรเริ่มต้นด้วยการแสดงเจตจำนงในการพูดคุยกับทุกฝ่าย รวมทั้งฝ่ายต่อต้านให้มีลักษณะทางการมากขึ้น นอกจากนี้ระหว่างที่กำลังรอการสู้รบให้คลี่คลายลง ประเทศอาเซียนต้องร่วมกันหยุดการไหลเวียนของอาวุธ การสนับสนุนทางการเงิน และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเมียนมาโดยเด็ดขาด พร้อมกับใช้เวลาระหว่างนี้ในการร่วมวางรากฐานในการหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเมียนมาในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตีหน้าเศร้าเล่าเรื่องพ่อ 'แพทองธาร' ยืนยันไม่เกี่ยวข้องปมชั้น 14

"แพทองธาร" ยันไม่เกี่ยวข้องปม "ชั้น 14" เพราะตั้งแต่พ่อกลับไทยจนถึงวันออกจากรพ.ไม่ได้เป็นนายกฯ ก่อนจะเล่าเรื่องพ่อ ไม่ได้รับความยุติธรรม-เคยถูกลอบสังหาร พร้อมระบุถ้าก้าวไกลตั้งรัฐบาลได้ "ทักษิณ" ก็กลับมาอยู่ดี

ตามคาด 'ทวีไอพี' ป้อง 'อิ๊งค์' โต้ 'รังสิมันต์' จินตนาการดีลแลกประเทศ-ปีศาจ

รมว.ยุติธรรมโต้ รังสิมันต์ ปม “ดีลแลกประเทศ-ปีศาจ” ชี้เป็นวาทกรรม ย้ำ “ทักษิณ” เข้าเรือนจำก่อน “แพทองธาร” เป็นนายกฯ ยันการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่ใช่อภิสิทธิ์

'โรม' เปิดโปงขบวนการ 'ชั้น 14' แฉ 'แพทองธาร' พยานประจักษ์สู่ตัวการสำคัญ!

“รังสิมันต์ โรม” อภิปรายแฉปม “ป่วยทิพย์” ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ชี้ “แพทองธาร” เป็นพยานเอกและตัวการสำคัญในดีลช่วย “ทักษิณ” ไม่ต้องติดคุกแม้แต่วันเดียว อัดเป็น “นายกฯ จอมหลอกลวง” ขาดความซื่อสัตย์ เข้าข่ายผิดกฎหมายอาญาฐานอั้งยี่ ซ่องโจร ฝาก ป.ป.ช. สอบสวนเพื่อเอาผิด

'วิทยุ-ทีวีรัฐสภา' เอาด้วย! โค้ดคำพูด 'โรม' ชั้น 14 'ระบบราชทัณฑ์ไม่เหมือนการไปซื้อตั๋วเครื่องบิน เพื่ออัพเกรดเฟิร์สคลาส'

เพจ วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภาโค้ดคำอภิปรายของ รังสิมันต์ โรม​ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในการประชุม​สภาผู้

'ลุงสุทิน' ซูฮก 'โรม' โดยส่วนตัวเกลียด แต่การอภิปรายชั้น 14 เป็นอย่างนั้นจริงๆ

นายสุทิน วรรณบวร อดีตผู้สื่อข่าวสำนักข่าวต่างประเทศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sutin Wannabovorn ว่า โดยส่วนตัวไม่ชอบนายรังสิมั