ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศ 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ และการชุมนุมประท้วงที่แผ่ขยายอย่างเป็นวงกว้างเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก

ประชาชนขับขี่พาหนะของตนไปจอดต่อแถวเพื่อเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันซีลอน ปิโตรเลียม ในกรุงโคลัมโบของศรีลังกา เมื่อวันที่ 12 เมษายน ท่ามกลางวิกฤติหนี้ต่างประเทศกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนไม่สามารถนำเข้าเชื้อเพลิง, อาหาร, ยารักษาโรค และสินค้าที่จำเป็นอื่นๆ ได้ (Photo by Ishara S. KODIKARA / AFP)
เอเอฟพีรายงานวิกฤตเศรษฐกิจและสถานการณ์ความวุ่นวายในศรีลังกา เมื่อวันอังคารที่ 12 เมษายน 2565 กล่าวว่า ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) รวมถึงภาระผูกพันทางการเงินในหลายภาคส่วนและเงินกู้ยืมจากรัฐบาลต่างประเทศ พร้อมเดินหน้าขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ
กระทรวงการคลังของศรีลังกากล่าวว่า “รัฐบาลกำลังใช้มาตรการฉุกเฉิน ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานะการเงินของประเทศตกต่ำลงไปมากกว่านี้”
ศรีลังกากำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 ปัญหาหนักจากการขาดสกุลเงินต่างประเทศอย่างเฉียบพลัน นำมาซึ่งปัญหาการขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิง ประกอบกับไฟฟ้าดับที่ยาวนานในแต่ละวัน ทั้งหมดล้วนนำความทุกข์ทรมานอย่างกว้างขวางมาสู่ประชาชน 22 ล้านคนในประเทศ จนกลายมาเป็นความโกรธที่ปะทุขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การเดินขบวนไปยังบ้านของผู้นำรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้ลาออก กลายเป็นการปะทะกันของประชาชนกับกองกำลังความมั่นคงที่สลายกลุ่มผู้ประท้วงด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง และต่อเนื่องบานปลายไปทั่วประเทศ
รัฐบาลของประธานาธิบดีโกตาเบยา ราชปักษา ที่ยังไม่ยอมลงจากตำแหน่ง พยายามแก้วิกฤตเศรษฐกิจที่อึมครึมด้วยการสั่งห้ามการนำเข้าทุกประเภทเพื่อสงวนเงินสำรองต่างประเทศไว้ใช้ชำระหนี้ผิดนัด
จากการประมาณของกระทรวงการคลัง แสดงให้เห็นว่าศรีลังกาต้องใช้เงินกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชำระหนี้ในปีนี้ ขณะที่เงินสำรองต่างประเทศคงเหลือเพียง 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีอินเดีย, จีน และญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่
การห้ามการนำเข้าทุกประเภทเป็นการตอกย้ำสภาวะพังพินาศในการใช้ชีวิตของประชาชน เชื้อเพลิง, ไฟฟ้า, อาหาร และสิ่งของที่จำเป็นยังคงขาดแคลนต่อเนื่อง โดยในแต่ละวันมีการเข้าแถวยาวทั่วประเทศเพื่อซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง, แก๊ส และน้ำมันก๊าดสำหรับเตาประกอบอาหาร ปัญหาล่าสุดที่ต้องเผชิญคือ การขาดแคลนยารักษาโรคที่ไม่สามารถนำเข้าได้เนื่องจากนโยบายห้ามนำเข้าและการขาดแคลนเงิน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ระบบสาธารณสุขล่มสลายได้ในไม่ช้า ทั้งหมดล้วนสร้างความไม่พอใจอย่างแพร่หลายต่อรัฐบาล และการชุมนุมประท้วงทั่วประเทศจะยังคงมีต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! 53 จังหวัด จมฝุ่นPM2.5 พร้อมคาดการณ์ 7 วันข้างหน้า
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 21 มีนาคม 2568 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
นักวิชาการ มธ. วิเคราะห์นโยบายซี้อหนี้ของทักษิณเป็นไปได้ เตือนระวังดาบสองคม กลายเป็นอุ้มแบงก์
จากกรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เปิดตัวแนวคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนด้วยวิธีการซื้อหนี้
เหนืออ่วม! ฝุ่น PM2.5 ท่วมเกือบทุกพื้นที่ ทะลุ 143 ไมโครกรัม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2568 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วไทย พร้อมคาดการณ์ 7 วันข้างหน้า
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 14 มีนาคม 2568 ณ 07:00 น สรุปดังนี้
เช็กเลย! ค่าฝุ่นPM2.5 ทั่วไทย พร้อมคาดการณ์ 7 วันข้างหน้า
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย พร้อมคาดการณ์ 7 วันข้างหน้า
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้