รัสเซียยังคงมีเงินเต็มคลัง หลังทำรายได้ไปกว่า 3.4 ล้านล้านบาท ในช่วง 100 วันที่ผ่านมา จากการส่งออกเชื้อเพลิง แม้จะถูกคว่ำบาตรเศรษฐกิจการค้าจากชาติตะวันตกอยู่ก็ตาม ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้จริงจังกับการคว่ำบาตรรัสเซียในทุกทางเพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงในการทำสงครามกับยูเครน

แฟ้มภาพ โลโก้ ก๊าซพรอม (Gazprom) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย (Photo by Nikolay DOYCHINOV / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า แม้ว่าจะทุ่มเทกับการสู้รบในยูเครนและการถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก แต่ช่วง 100 วันที่ผ่านมานับตั้งแต่เริ่มทำสงครามกับยูเครน รัสเซียมีเงินเข้าคลังจากการส่งออกเชื้อเพลิงไปแล้วกว่า 93,000 ล้านยูโร (ราว 3.4 ล้านล้านบาท) โดยเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ส่งไปยังสหภาพยุโรป
ศูนย์วิจัยพลังงานและอากาศบริสุทธิ์ (ซีอาร์อีเอ) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในฟินแลนด์และเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เสริมในรายงานว่า สหภาพยุโรปเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัสเซียในช่วง 100 วันแรกของสงครามยูเครน ในสัดส่วน 61% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 57,000 ล้านยูโร (ราว 2.2 ล้านล้านบาท) รองลงไปได้แก่ จีน 12,600 ล้านยูโร, เยอรมนี 12,100 ล้านยูโร และอิตาลี 7,800 ล้านยูโร
ขณะที่รัสเซียเอง มีรายได้จากการส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลในรูปแบบของน้ำมันดิบสูงสุดที่ 46,000 ล้านยูโร (ราว 1.6 ล้านล้านบาท) รองลงมาคือการส่งก๊าซผ่านท่อส่ง, ผลิตภัณฑ์น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และถ่านหิน
แม้ว่ายอดการส่งออกของรัสเซียจะลดลงในเดือนพฤษภาคม โดยประเทศและบริษัทต่างๆ หลีกเลี่ยงการเป็นแหล่งรายได้ให้รัสเซียจากกรณีรุกรานยูเครน แต่ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นทั่วโลกจากภาวะสงคราม กลับทำให้รัสเซียยังคงมีเงินเต็มคลังและมีรายได้จากการส่งออกเชื้อเพลิงแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยปัจจุบันมียอดส่งออกเชื้อเพลิงสูงกว่าปีที่แล้วประมาณ 60% เลยทีเดียว
ศูนย์วิจัยพลังงานและอากาศบริสุทธิ์ (ซีอาร์อีเอ) ยังให้ข้อมูลอีกว่า รัสเซียมีแนวโน้มจะรวยขึ้นอีกหลังจากบางประเทศได้เพิ่มการจัดซื้อพลังงาน เช่น จีน, อินเดีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือแม้กระทั่งฝรั่งเศส
ลอรี มิลลิเวอตา นักวิเคราะห์ของซีอาร์อีเอ กล่าวว่า "ในขณะที่สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาคว่ำบาตรรัสเซียอย่างเข้มงวดมากขึ้น ฝรั่งเศสกลับเพิ่มการนำเข้าจากรัสเซียในฐานะผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) รายใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้จะเป็นการทำสัญญาซื้อระยะสั้นก็ตาม"
ยูเครนยังคงเรียกร้องให้นานาชาติคว่ำบาตรรัสเซียในทุกๆทางอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้รัสเซียมีทุนรอนในการทำสงครามต่อไป
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน สหภาพยุโรปตกลงที่จะหยุดการนำเข้าน้ำมันของรัสเซียส่วนใหญ่ แม้ทั้งทวีปต้องพึ่งพาพลังงานเหล่านั้นอย่างมากก็ตาม ส่วนเชื้อเพลิงก๊าซ แม้จะงดนำเข้าไม่ได้ แต่จะลดสัดส่วนลง 2 ใน 3 ให้ได้ภายในปีนี้ และยูเครนหวังว่าชาติตะวันตกจะดำเนินการอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับคำพูด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฟนยูเครนสุดเซ็ง 'อิตาลี' รอดเสียจุดโทษ โวย 'ยูฟ่า' มีใบสั่งให้ทีมใหญ่เข้ารอบ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป "ยูโร 2024" รอบคัดเลือก กลุ่ม ซี "อัซซูรี" ทีมชาติอิตาลี สามารถคว้าตั๋วไปเล่นรอบสุดท้ายได้สำเร็จ หลังบุกไปยันเสมอกับ ยูเครน แบบไร้สกอร์ 0-0 จบรอบแบ่งกลุ่มมีแต้มเท่ากัน แต่ลูกได้เสียดีกว่า
ตีปี๊บนักท่องเที่ยวต่างชาติแห่เข้าไทย ยุโรปพุ่ง 28% ผลพวงมาตรการรัฐบาล
นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย พบว่านักท่องเที่ยวชาวยุโรปขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 28.75 หรือ 32,053 คน และนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียขยับเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทย
การเยือนยูเครนของประธานสหภาพยุโรป เพื่อไม่ให้ถูกลืม
อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอน-ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ต้องไปต่อรถไฟเที่ยวกลางคืนที่สถานีร้างแห่งหนึ่งในโป