ยูเอ็นเผยทาสสมัยใหม่ ตัวเลขพุ่งสูงถึง50ล้านคน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) หน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยแพร่รายงานเรื่อง การเป็นทาสสมัยใหม่ ระบุจํานวนผู้ที่ถูกบังคับให้ทํางานหรือต้องแต่งงานซึ่งขัดต่อความต้องการของพวกเขา พุ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ราว 50 ล้านคน
          รอยเตอร์รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) หน่วยงานในสังกัดของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยแพร่รายงานเรื่อง การเป็นทาสสมัยใหม่ ในวันเดียวกัน ระบุจํานวนผู้ที่ถูกบังคับให้ทํางานพุ่งสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ราว 50 ล้านคน
          ไอแอลโอระบุในรายงานว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อโควิด-19, ความขัดแย้งที่ทำให้เกิดการทำสงครามสู้รบ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นําไปสู่การหยุดชะงักของการจ้างงานและการศึกษาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และทําให้ความยากจนทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงมีการบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน
เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินครั้งสุดท้ายของไอแอลโอเมื่อปี 2559 จํานวนประชาชนทั่วโลกที่เป็นทาสยุคใหม่เพิ่มขึ้นราว 9.3 ล้านคน
          ตามตัวเลขล่าสุดจากรายงานของไอแอลโอระบุว่า มีผู้ถูกบังคับใช้แรงงานทั่วโลกคิดเป็น 27.6 ล้านคนของผู้ที่เป็นทาสสมัยใหม่ในปี 2564 โดยมากกว่า 3.3 ล้านคนเป็นเด็ก และมีผู้ถูกบังคับให้แต่งงานถึง 22 ล้านคน
          ไอแอลโอพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ถูกบังคับใช้แรงงานทั้งหมด เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงหรือประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งแรงงานต่างด้าวในประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่า 3 เท่า
          รายงานของไอแอลโอกล่าวถึงประเทศกาตาร์ ซึ่งต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาอย่างกว้างขวางเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานก่อสร้างในกาตาร์ช่วงก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะเริ่มเปิดสนามในเดือนพฤศจิกายนปีนี้
          รายงานระบุว่า นับตั้งแต่ไอแอลโอมาเปิดสํานักงานในกรุงโดฮาของกาตาร์ในเดือนเมษายน 2561 มี "ความคืบหน้าที่สําคัญ" เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และการทํางานของแรงงานต่างด้าวหลายแสนคนในกาตาร์ แม้ว่าปัญหายังคงเกิดขึ้นกับการบังคับใช้กฎหมายแรงงานใหม่ก็ตาม
          นาสเซอร์ อัล คาเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า กาตาร์ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เป็นธรรมมากมายเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง แต่ก็ได้ดำเนินการแก้ไขต่อคําวิจารณ์ที่เป็นธรรมไปแล้ว
          รายงานของไอแอลโอฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานในบางพื้นที่ของจีน โดยอ้างถึงรายงานที่เผยแพร่โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่าน ซึ่งระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เกิดขึ้นในจีน และการคุมขังชาวอุยกูร์และชาวมุสลิมอื่นๆ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน อาจเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งจีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างแข็งกร้าวมาโดยตลอด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิธา' โผล่ประชุม กมธ.ความมั่นคง เชิญ 5 ธนาคารไทยแจงปม 'ยูเอ็น' แฉหนุนเมียนมาซื้ออาวุธ

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม เป็นประธาน มีการพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริง กรณีสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

กสม.ชี้ร้านสะดวกซื้อเอาเปรียบพนักงาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

กสม. ตรวจสอบกรณีร้านสะดวกซื้อเอาเปรียบพนักงาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย

UN ฟังทางนี้! 'อดีตบิ๊ก มธ.' เปิดความจริงการเสียชีวิตของ 'บุ้ง'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง

'ชูศักดิ์' ชี้รัฐบาลมีหน้าที่ตอบปมบุ้งเสียชีวิต กระทบไทยชิงเก้าอี้สิทธิมนุษยชน UN หรือไม่

นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ตอบคำถามสื่อต่างประเทศ ถึงกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม