ค้นพบดาวหางใหม่ที่มนุษย์อาจสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในรอบ 50,000 ปี

นักดาราศาสตร์ระบุ ดาวหางที่เพิ่งค้นพบใหม่จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าขณะพุ่งผ่านโลกและดวงอาทิตย์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 50,000 ปี

ดาวหาง C/2022 E3 หรือ ZTF ซึ่งถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2565 (Photo by Dan Bartlett / NASA / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2566 กล่าวว่า นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวหางดวงใหม่และตั้งชื่อว่า C/2022 E3 หรือ ZTF ตามชื่อ Zwicky Transient Facility (ZTF) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบผ่านดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว

Zwicky Transient Facility (ZTF) เป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มุ่งศึกษาระบบของท้องฟ้ายามค่ำคืนด้วยแสง โดยหน่วยงานจะคอยสแกนท้องฟ้าทางตอนเหนือทั้งหมดโดยใช้กล้องที่มีขอบเขตการมองเห็นกว้างมากในทุกๆ สองวัน

โทมัส พรินซ์ ศาสตราจารย์ฟิสิกส์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทำงานที่ Zwicky Transient Facility กล่าวกับเอเอฟพีว่า หลังเดินทางจากจุดที่เป็นน้ำแข็งของระบบสุริยะ ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 12 มกราคม และเคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยดาวหางจะสว่างที่สุดเมื่อเข้าใกล้โลก ซึ่งมนุษย์จะสามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยกล้องส่องทางไกลดีๆ สักคู่ และอาจมองด้วยตาเปล่าก็ได้ หากท้องฟ้าไม่สว่างเกินไปจากแสงไฟของเมืองหรือดวงจันทร์

โทมัส พรินซ์กล่าวว่า ดาวหางดวงนี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกอย่างน้อย 2,500 เท่า และดาวหางจะมาเยือนระบบสุริยะครั้งต่อไปในอีก 50,000 ปีข้างหน้า

นิโคลัส บีเวอร์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากหอดูดาวปารีสกล่าวว่า ดาวหางดังกล่าวก่อตัวจากน้ำแข็งกับฝุ่น, เปล่งแสงออร่าสีเขียวออกมาได้ และน่าจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นขนาดที่เล็กกว่าดาวหาง C/2020 F3 หรือ NEOWISE

ก่อนหน้านี้ NEOWISE เป็นดาวหางดวงสุดท้ายที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยมันพุ่งผ่านโลกในเดือนมีนาคมปี 2563

แม้ว่าดาวหาง ZTF จะสว่างที่สุดเมื่อเคลื่อนผ่านโลกในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่แสงสว่างจากพระจันทร์เต็มดวงอาจทำให้มองเห็นได้ยาก และนิโคลัส บีเวอร์เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่หลังจากการเยือนครั้งนี้ ดาวหางจะถูกขับออกจากระบบสุริยะอย่างถาวร

หน่วยงานดาราศาสตร์เตรียมใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ในการจับภาพอย่างใกล้ชิดเพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวหาง ยิ่งดาวหางอยู่ใกล้โลกมากเท่าไหร่ กล้องโทรทรรศน์ก็จะวัดองค์ประกอบของมันได้ง่ายขึ้น ซึ่งดาวหาง ZTF จะช่วยเปิดเผยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบสุริยะ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่

'นักดาราศาสตร์' เผยโฉม 5 ภาพสีชุดแรก ในห้วงอวกาศไกลโพ้นนับพันล้านปีแสงจากกล้องอวกาศ 'เจมส์ เว็บบ์'

'ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์' เผยโฉม ภาพสี 5 ภาพแรก ในห้วงอวกาศ อยู่ห่างออกไปนับพันล้านปีแสง ที่ถูกบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ 'เจมส์ เว็บบ์' นักดาราศาสตร์หวังจะช่วยไขปริศนาอีกหลายอย่างที่ยังไม่มีคำตอบให้มนุษยชาติได้