พม่าประท้วงเงียบ2ปีรัฐประหาร

ชาวเมียนมาประท้วงเงียบในวันครบรอบ 2 ปีการก่อรัฐประหารเมื่อวันพุธ ถนนหลักในเมืองต่างๆ ของประเทศแทบร้างยานพาหนะและผู้คน ร้านค้าต่างๆ ปิดให้บริการ ชาวเมียนมาที่อยู่ในต่างประเทศออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในหลายเมือง รวมถึงในกรุงเทพฯ

              สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นวันครบ 2 ปีการรัฐประหารในเมียนมา นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านรัฐประหารเรียกร้องประชาชนทั่วประเทศปิดกิจการร้านค้าและให้อยู่ในบ้านตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. เพื่อประท้วงต่อต้านรัฐประหารด้วยความเงียบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถนนหลายสายในนครย่างกุ้งแทบร้างยานพาหนะแลผู้คนตั้่งแต่ช่วงเช้า

              ถนนทุกสายที่มุ่งหน้าสู่เจดีย์ชเวดากองในนครย่างกุ้งที่ปกติมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเดินทางไปสักการะ แต่ในวันพุธแทบร้างผู้คน

              รถโดยสารประจำทางส่วนใหญ่ในนครย่างกุ้งแทบไม่มีผู้โดยสาร ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงรักษาการณ์อย่างเข้มงวด

              ขณะที่ในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ เมื่อวันอังคาร อยู่ในสภาพเงียบเชียบเช่นเดียวกับนครย่างกุ้ง ชาวเมืองมัณฑะเลย์รายหนึ่งเผยกับผู้สื่อข่าวเอเอฟพีว่า ย่านที่อยู่ของเขามีผู้คนออกมาเดินแค่ 2-3 คน และแทบจะไม่มีกิจกรรมใดๆ บนถนนสายหลักของเมือง

              สื่อท้องถิ่นเผยแพร่ภาพถนนหลายสายที่ว่างเปล่าในเมืองมอละมไยน์ทางตะวันออกของเมียนมา

              ส่วนชาวเมียนมาที่อยู่ในต่างประเทศออกมาชุมนุมกันหลายเมือง ชาวเมียนมาราว 300 คน ชุมนุมด้านหน้าสถานทูตเมียนมาในกรุงเทพฯ ตะโกนคำขวัญต่อต้านทหารที่ทำการรัฐประหาร และถือภาพถ่ายของอองซาน ซูจี และมีการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในเมียนมาที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์

              ผู้ชุมนุมหน้าสถานทูตเมียนมาในกรุงเทพฯ ตะโกนว่า "เราเป็นประชาชน เราต้องการอนาคต" และ "การปฏิวัติจะต้องได้รับชัยชนะ"

              รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของเมียนมา (เอ็นยูจี) ซึ่งเป็นรัฐบาลเงาที่ก่อตั้งโดยแกนนำฝ่ายต่อต้านคณะรัฐประหาร ออกแถลงการณ์ในโอกาสครบ 2 ปีรัฐประหารว่า เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ที่ประชาชนชาวเมียนมายืนหยัดเคียงข้างกันด้วยความกล้าหาญ ต่อต้านอย่างแน่วแน่ต่อมิน อ่อง หล่าย และกองทัพเมียนมาที่โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พวกเราและพันธมิตรกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านกองทัพเมียนมามาหลายสิบปี จะร่วมกันต่อสู้เพื่อยุติการยึดอำนาจอย่างผิดกฎหมายของกองทัพเมียนมา

              สหรัฐอเมริกา, แคนาดาและอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรเมียนมารอบใหม่ในโอกาสครบ 2 ปีการทำรัฐประหาร ส่วนออสเตรเลียประกาศคว่ำบาตรเมียนมาครั้งแรกพุ่งเป้าไปที่สมาชิกของรัฐบาลทหารเมียนมาที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

              เตท นอง นักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารในภาคสะกายทางเหนือของเมียนมา ที่ทหารและนักรบต่อต้านรัฐประหารมักปะทะกันบ่อยครั้งเผย ความปรารถนาหลักของเขาในปี 2566 คือเสรีภาพและได้กลับบ้าน เราเผชิญความยากลำบากมามาก เราต้องการมีความสุข ได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ แต่เราสูญเสียทุกอย่าง ขณะนี้เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในป่าและต้องอยู่ห่างจากเขตเมือง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยมอบความช่วยเหลือเมียนมา หวังนำร่องทุกกลุ่มกลับสู่โต๊ะเจรจา

นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกองทัพบก สภากาชาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ชายแดนเมียนมายังดุเดือด ไทยยืนหลักมนุษยธรรมช่วยผู้พลัดถิ่น

ไทย เดินหน้าช่วย ‘เมียนมา’ ด้านมนุษยธรรม ผู้พลัดถิ่น 3 จุด ‘สภากาชาด’ เตรียมส่งมอบของพรุ่งนี้  ’กองทัพภาคที่ 3’ ประเมินเหตุการณ์ระอุช่วงฤดูแล้ง เตรียมแผนรองรับผู้อพยพ ยอมรับทหารประเทศเพื่อนบ้าน หนีตายข้ามมาฝั่งไทย 50 นาย ส่งกลับเรียบร้อยแล้ว

กมธ.ความมั่นคงฯ ยืนตาม 'ธรรมนัส' ห้ามนำยางพาราเมียนมาผ่านประเทศ

กมธ.ความมั่นคงฯ เผยเห็นร่วม รมว.เกษตรฯ สั่งระงับนำผ่านยางพาราจนกว่ามีมติ ครม. หลังลงพื้นที่สังขละบุรี พร้อมส่งไม้ต่อ ให้ พาณิชย์-กต.เจรจาทำข้อตกลงร่วมทางการเมียนมา

'ธนาธร' อุ้ม 'ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ'

ที่รัฐสภา นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ให้ความเห็นถึงกรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อา

ชักศึกเข้าบ้าน! ‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ ห่วง กมธ.สภา จัดเสวนาปัญหาพม่า  

กรรมาธิการสภากำลังทำอะไร จัดเสวนาปัญหาพม่า  มีคำถามว่า เรากำลังเปิดให้กลุ่มต่อต้าน มีเวทีในการด่ารัฐบาลเพื่อนบ้าน เป็นเวทีรัฐสภาไทย