ความในใจของ 'มาครง' ภายหลังเยือนจีน

AFP

ระหว่างเดินทางกลับจากจีน ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสแสดงความเข้าใจดีเกี่ยวกับความอ่อนไหวของจีน ซึ่งสิ่งนี้อาจถูกวอชิงตันมองว่าเป็นการดูแคลน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ฝรั่งเศสและอียูต่างก็เดินตามสหรัฐฯ ในสงครามยูเครน

นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนีไม่ใช่คนเดียวที่เดินทางไปเยือนปักกิ่ง รวมทั้งรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซของสเปนด้วย ล่าสุดประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงได้เดินทางไปพร้อมกับอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอน-ประธานคณะกรรมาธิการอียู แม้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็มีข้อความที่ชัดเจนถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ทว่าบนเที่ยวบินกลับปารีส มาครงได้กล่าวบางสิ่งในการให้สัมภาษณ์ที่ไม่เพียงแต่ป่วนรัฐบาลในวอชิงตัน หากยังดูเหมือนจะค้านแนวทางของประธานคณะกรรมาธิการอียูอีกด้วย

แน่นอน มันไม่ง่ายเลยที่สหภาพยุโรปจะเลือกเดินตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่างมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน แต่การที่สหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมายกับทั่วโลกรวมทั้งใช้มาตรการคว่ำบาตรแบบไม่เกรงกลัวใคร ไม่เพียงแต่มาครงเท่านั้นที่รู้สึกไม่พอใจ หากยังใครอื่นอีก-อย่างเช่นศูนย์การเงินของสวิส-ที่ได้รับผลกระทบไปด้วย มาครงเน้นย้ำระหว่างสนทนากับนักข่าวในเรื่อง “ความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์” ซึ่งมาครงมองว่ามันเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่ยุโรปจะถูกดึงเข้าสู่วิกฤตการณ์ที่ไม่ใช่ของตนเอง ความขัดแย้งนั้นคือ “ในความตื่นตระหนก เราคิดว่าเราเป็นเพียงพรรคพวกของสหรัฐอเมริกา เราต้องปกป้องไม่ให้ประเทศในสหภาพยุโรปต้องกลายเป็นรัฐบริพาร”

มาครงโยงคำกล่าวของเขาเข้ากับปัญหาไต้หวัน จีนมองว่าไต้หวันเป็นมณฑลที่ทรยศและไม่ปฏิเสธการยึดครองด้วยความรุนแรงหากจำเป็น เมื่อเร็วๆ นี้ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวินของไต้หวันจุดชนวนความโกรธให้จีนด้วยการเดินทางไปกระชับสัมพันธ์ทางการทูตในอเมริกากลาง เธอยังเดินทางไปแคลิฟอร์เนียเพื่อพบกับเควิน แม็คคาร์ธี-ประธานสภาผู้แทนราษฎรของอเมริกา ซึ่งเป็นสมาชิกพรรครีพับลิกันตัวเต็งอันดับ 3 ในการเมืองของสหรัฐฯ ด้วย มาครงกล่าวในการสัมภาษณ์ว่า หากยุโรปไม่สามารถแก้ไขวิกฤตในยูเครนได้ “แล้วเราจะพูดกับไต้หวันอย่างน่าเชื่อถือได้อย่างไรว่า ระวังนะ ถ้าเกิดอะไรผิดพลาดกับคุณ เราจะอยู่เคียงข้างคุณตรงนั้น”

ที่กรุงปักกิ่ง อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอนเน้นย้ำว่า เสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันมีความสำคัญอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันเธอกล่าวว่าคำขู่ของปักกิ่งที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิงโต้ตอบเรื่องนี้ว่า ใครก็ตามที่พยายามโน้มน้าวจีนในเรื่องนี้ถือว่าตาบอด

การห่างเหินของมาครง วอชิงตันมองว่าเป็นการดูแคลน เพราะสหรัฐฯ กำลังแบกรับภาระทางการเงินในสงครามยูเครน และมองไม่เห็น “ความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์” ในยุโรป ตรงกันข้าม สหรัฐฯ มองว่ายุโรปต้องพึ่งพาสหรัฐฯ แทบทั้งหมด ทั้งด้านอาวุธและพลังงาน ซึ่งเรื่องนี้เองที่มาครงเผยความไม่พอใจออกมาเป็นคำพูดผ่านสื่อ

การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสในสงครามยูเครนยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปตะวันออก ในช่วงปีแรกของสงคราม ฝรั่งเศสให้เงินช่วยเหลือยูเครนเพียง 1.8 พันล้านยูโร ในขณะที่เยอรมนีช่วยไป 7.4 พันล้านยูโร และสหรัฐฯ 7.13 หมื่นล้านยูโร

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเครื่องบินของเอ็มมานูเอล มาครงออกจากกวางโจ่วมุ่งหน้าไปปารีส จีนก็เริ่มการซ้อมรบอย่างเอิกเกริก โดยมีการฝึกซ้อมการปิดล้อมไต้หวันรวมอยู่ในโปรแกรมด้วย นี่คือการตอบโต้ของปักกิ่งต่อการเยือนอเมริกาของประธานาธิบดีไต้หวัน

ตามรายงานของเว็บข่าว Politico มาครงรู้สึกพอใจที่จีนรอจนกว่าเครื่องบินของเขาพ้นออกจากน่านฟ้าจีน ก่อนจะเริ่มการซ้อมรบ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ถกเอกชนจีน เชิญชวน CITIC ลงทุนพลังงานสะอาด รถยนต์ EV ในไทย ก่อนคุย 'ปูติน' เย็นนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในการเข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (

นายกฯเศรษฐา เดินทางถึงจีนแล้ว ต้อนรับสุดอบอุ่นก่อนร่วมประชุม BRF

ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในการเข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ( Belt and Road Forum for International Coperration- BRF) ครั้งที่ 3 และการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม