ญี่ปุ่นออกกฎหมายใหม่ อนุญาตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องได้เกิน 60 ปี

ญี่ปุ่นได้ผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เดินเครื่องได้เกิน 60 ปี เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคส่วนนี้ในการรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานและเป้าหมายด้านสภาพอากาศ

ถังเก็บน้ำปนเปื้อนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ของบริษัทโตเกียว อิเลคทริค พาวเวอร์ ในเมืองโอคุมะ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น (Photo by Philip FONG / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติร่างกฎหมายที่อนุญาตให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เดินเครื่องได้เกิน 60 ปี บนเป้าหมายที่ต้องการสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าที่จะทำให้เกิดสังคมปลอดคาร์บอน ตามรายงานของโฆษกรัฐสภา

ภายใต้กฎใหม่ ระยะเวลาสูงสุดในทางเทคนิคยังคงเป็น 60 ปี แต่อนุญาตให้มีข้อยกเว้นสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ที่ต้องหยุดเดินเครื่องชั่วคราวด้วยเหตุผลสุดวิสัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยหรือคำสั่งชั่วคราวของศาล

กฎใหม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการไม่นับรวมช่วงเวลาปิดระบบ ในการคำนวณจำนวนปีรวมของการดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น และต้องมีมาตรการเสริมสร้างการตรวจสอบความปลอดภัยของเตาปฏิกรณ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน

"รัฐบาลต้องการรับประกันการจ่ายไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรไฟฟ้าที่ปราศจากคาร์บอน" กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นระบุในแถลงการณ์

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นหาทางฟื้นฟูอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ที่เลิกใช้ไปหลังจากภัยพิบัติฟุกุชิมะในปี 2554

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นยังคงใช้งานไม่ได้ในวันนี้ แต่วิกฤตพลังงานทั่วโลกทำให้รัฐบาลกลับมาทบทวนภาคส่วนนี้อีกครั้ง และการสำรวจความคิดเห็นสาธารณชนล่าสุดพบว่า เสียงต่อต้านเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เริ่มน้อยลง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' ปาฐกถาพิเศษ จ่อหารือ 'มาครง' ดูโรงงานนิวเคลียร์ ลั่น ต้องมองหาโอกาส

'เศรษฐา' ปาฐกถาพิเศษ รัฐบาลมีอำนาจ แต่ทำคนเดียวไม่ได้ ทุกหน่วยงาน ไม่เว้นองค์กรอิสระต้องช่วยกัน เผย เตรียมหารือทวีภาคี 'มาครง' ไปดูโรงงานนิวเคลียร์ ลั่น ต้องมองหาโอกาส สร้างอนาคตที่สดใสให้ภาคอุตสาหกรรมไทย