พลเมืองเมียวดีเริ่มเคลื่อนไหวหลบหนีการต่อสู้ เข้าสู่ชายแดนเมียนมา-ไทย

พลเมืองเมียนมาในเมียวดีเริ่มอพยพหนีเสียงระเบิดข้ามพรมแดนมายังประเทศไทยเมื่อวันอังคาร หลังจากกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เข้ายึดฐานทัพทหารสำคัญในบริเวณใกล้เคียง

แฟ้มภาพ ผู้คนกำลังหลบหนีการสู้รบระหว่างทหารและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ในรัฐกะเหรี่ยง ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา (Photo by AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567 กล่าวว่า หลังจากนักรบของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) สามารถยึดฐานทัพทหารที่อยู่ห่างจากเมืองเมียวดีไปทางตะวันตกราว 10 กิโลเมตรได้เมื่อวันเสาร์ ทำให้บรรดาทหารของกองทัพ, ตำรวจเมียนมา และครอบครัวของคนเหล่านั้นมากกว่า 600 คน ยอมแพ้และมอบตัว

ล่าสุดในวันอังคาร มีรายงานว่าบรรดาชาวเมืองเมียวดียังคงได้ยินเสียงปืน, ระเบิด และเครื่องบิน จากการต่อสู้ของกองกำลังรัฐและกลุ่มต่อต้าน แม้จะไม่ปรากฏนักรบ KNU อยู่ในเมือง ขณะที่สะพานเชื่อมระหว่างเมียวดีกับอำเภอแม่สอดซึ่งอยู่บริเวณชายแดนของไทย ยังคงเปิดอยู่

ชาวเมืองให้ข้อมูลว่า ได้ยินเสียงระเบิดไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง, ร้านค้าส่วนใหญ่ปิดทำการ และคนในพื้นที่เริ่มอพยพไปยังชายแดนประเทศไทย

นอกจากนี้ บริการโทรศัพท์มือถือของเมียนมาใช้งานไม่ได้ ทำให้ผู้ที่ยังอยู่ในเมืองต้องเปลี่ยนไปใช้ซิมการ์ดของไทยแทน

หนึ่งในผู้อพยพจากเมียวดีให้ข้อมูลกับเอเอฟพีว่า เธอได้ละทิ้งถิ่นฐานมาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหลังจากการปะทะครั้งแรกๆ และตอนนี้เธอกำลังพักพิงอยู่ที่บริเวณชายแดนไทย

"ขณะนี้ผู้พลัดถิ่นจำนวนมากอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำระหว่างไทยและเมียนมา เราเห็นผู้คนหลายพันคนจากหมู่บ้านต่างๆ ข้ามพรมแดนทุกวัน" เธอกล่าว โดยหมายถึงผู้พลัดถิ่นเมียนมาที่หลบหนีจากการปะทะระหว่างกองทัพและกลุ่มต่อต้าน

รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกล่าวเมื่อวันอังคารว่า ประเทศได้เตรียมพร้อมที่จะเปิดรับผู้คนราว 100,000 คนที่หลบหนีออกจากเมียนมาในช่วงนี้ เพื่อตอบสนองด้านมนุษยธรรม

ประเทศไทยมีพรมแดนร่วม 2,400 กิโลเมตรกับเมียนมา ซึ่งพัวพันกับสงครามกลางเมืองนับตั้งแต่รัฐบาลทหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี 2564

เมียวดีตั้งอยู่บนทางหลวงสายเอเชียที่ตัดจากชายแดนไทยไปยังเมืองย่างกุ้งที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมา

เส้นทางนี้ยังตัดผ่านรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเผชิญปัญหาการต่อสู้กันมานานหลายทศวรรษระหว่างกองทัพและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงซึ่งแสวงหาเอกราชสำหรับประชากรชาวกะเหรี่ยง

นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2564 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ให้ที่พักพิงแก่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของรัฐบาลทหาร และฝึกอบรมกองกำลังป้องกันประชาชนชุดใหม่เพื่อต่อสู้โค่นล้มการปกครองของทหาร

กองกำลังรักษาชายแดนรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธในท้องถิ่นที่ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองเมียวดี ได้ประกาศในปีนี้ว่าจะไม่รับคำสั่งจากรัฐบาลเผด็จการทหารอีกต่อไป

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะทำให้กองทัพสูญเสียการควบคุมในรัฐกะเหรี่ยงลงเรื่อยๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปานปรีย์' นำคณะเฉพาะกิจฯมาถึงแม่สอด ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และประธานกรรมการเฉพาะกิจเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย (มท.)

'หมอมิ้ง' เผยนายกฯ ยกเลิกไปแม่สอด มอบ 'ปานปรีย์' ลงพื้นที่แทน

น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ในเมียนมา บริเวณชายแดนไทยว่า ในฐานะรัฐบาล เรากำหนดจุดยืนชัดเจนว่า 1.การสู้รบกันระหว่างทหารพม่าและกองกำลังติดอาวุธ จะไม่ให้มีการล้ำเข้ามาในดินแดนประเทศไทย

‘ปานปรีย์’ ขีดเส้นชัดกองทัพทหารเมียนมาห้ามรุกล้ำอธิปไตยไทย

‘ปานปรีย์’ กำชับกองทัพทหารเมียนมา ห้ามรุกล้ำอธิปไตยและดินแดนไทย รวมทั้งห้ามมีลูกหลงการสู้รบมาฝั่งไทยด้วย เผย เตรียมประชุมวอร์รูมก่อนประชุม ครม. อังคารนี้ ก่อนนายกบินแม่สอด ติดตามสถานการณ์

ทอ. เตรียมส่ง UAV สนับสนุนรักษาความปลอดภัยแนวชายแดน อ.แม่สอด

เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ได้เผยแพร่ภาพ และข้อมูลว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดนด้านตรงข้าม อ. แม่สอด จว.ตาก กองทัพอากาศ โดยศูนย์ยุทธการทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

'อองซาน ซูจี' ย้ายจากเรือนจำมากักบริเวณในบ้าน เหตุเสี่ยงเป็นโรคลมแดด

เมียนมาตกอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารมาตั้งแต่ปี 2021 และอองซาน ซูจี-อดีตหัวหน้ารัฐบาล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสั