พายุฝนในดูไบ คือภัยธรรมชาติหรือฝีมือมนุษย์?

AFP

ทะเลทรายเอมิเรตจมน้ำ – ไม่เคยมีปรากฏการณ์ฝนตกหนักในดูไบเหมือนที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ขณะนี้มีการคาดเดากันว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดฝนตกหนักหรือไม่ แต่ประเด็นนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีข้อสงสัย

เครื่องบินโดยสารร่อนลงจอดท่ามกลางมวลน้ำ รถยนต์ที่น้ำท่วมเกือบถึงหลังคา ตึกระฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากถนนที่ถูกน้ำท่วม ดูไบได้สร้างภาพที่แปลกประหลาดและกลายเป็นข่าวพาดหัวมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่พายุและฝนตกหนักไม่เคยเป็นปัญหาในทะเลทรายเอมิเรต จนกระทั่งถึงสัปดาห์นี้

ท้องฟ้าเหนือมหานครที่แห้งแล้งกลายเป็นสีดำในเย็นวันจันทร์ แล้วฝนก็ตก ตกหนักมากขึ้นกว่าที่เคยบันทึกไว้เมื่อปี 1949 จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า มีปริมาณน้ำฝน 164 ลิตรต่อตารางเมตรที่สนามบินนานาชาติดูไบตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพุธ แต่ปริมาณสูงสุดคือวันอังคาร นั่นเป็นปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปีในดูไบ และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งคนทั่วสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คนในโอมานประเทศเพื่อนบ้าน

นี่ยังเป็นเรื่องปกติของสภาพอากาศแปรปรวน? หรือเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ? หรือเป็นพายุฝนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของมนุษย์? ความสงสัยนี้กำลังแพร่กระจายในโลกออนไลน์ สถาบันของรัฐในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายของฝนฟ้า ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘Cloud Seeding’ (การทำฝนเทียม) แต่อย่างน้อยนั่นคือสิ่งที่นักอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่นบอกกล่าวกับสื่อตะวันตก

การทำฝนเทียมเป็นการพ่นสารเคมี เช่น ซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปในเมฆโดยใช้เครื่องบินหรือบอลลูนเพื่อสร้างฝน อนุภาคเหล่านี้ควรจะทำหน้าที่เป็นนิวเคลียร์สของการควบแน่น ความชื้นจากเมฆรอบๆ จะสะสมและก่อตัวเป็นหยดน้ำขนาดใหญ่ที่ตกเป็นฝนลงสู่พื้นดิน

วิธีดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1940 มีการทดลองใช้มันในหลายประเทศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เองก็เริ่มทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2002 แต่จนถึงทุกวันนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การทำฝนเทียมมีประสิทธิภาพและแม่นยำเพียงใด ท้ายที่สุดแล้วเมฆเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งสภาวะต่างๆ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้พ่นสารเคมีในก้อนเมฆก่อนเกิดฝนตกหนักหรือไม่? อย่างน้อยนั่นคือสิ่งที่ อาห์เหม็ด ฮาบิบ-นักอุตุนิยมวิทยารายงาน เขากล่าวกับสื่อเมื่อวันอังคารว่า ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (NCM) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ส่งเครื่องบินสำหรับการทำฝนเทียมในวันจันทร์และอังคาร จนคำบอกเล่าของเขากลายเป็นไวรัลไปทั่ว

หน่วยงาน NCM ปฏิเสธเรื่องนี้ และประกาศเบื้องต้นว่าไม่มีการใช้เครื่องบินทำฝนเทียมเมื่อวันอังคาร เจ้าหน้าที่อาวุโสของศูนย์ฯ กล่าวในเวลาต่อมากับสถานีโทรทัศน์ CNBC ของสหรัฐฯ ว่าไม่มีการพ่นสารเคมีในเมฆก่อนเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศหลายคนยังแคลงใจว่าการทำฝนเทียมเป็นสาเหตุของพายุฝนตกหนัก แต่กระนั้นก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฝนเทียมอีกหลายคนเช่นกันที่แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ภาวะฝนตกหนักน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การทำฝนเทียมต้องอาศัยเมฆ และมันจะเกิดขึ้นก่อนที่ฝนจะตก ไม่มีใครสามารถโน้มน้าวเมฆที่มีอยู่ให้ฝนตกเร็วขึ้นเล็กน้อยได้ และที่สำคัญ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนเมฆคิวมูลัสเล็กๆ ให้เป็นพายุฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ได้โดยการทำฝนเทียม

กรณีศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับคาบสมุทรอาหรับระบุด้วยว่า ในขณะที่โลกร้อนขึ้นคาดว่าจะมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้น และปรากฏการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกเช่นกัน เพราะอากาศที่อุ่นขึ้นสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น นอกจากนี้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเล-โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีกโลกเหนือ-ยังสูงขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนกว่าที่เคยเริ่มตรวจวัด ซึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย ส่งผลให้น้ำระเหยมากขึ้น ซึ่งหมายความว่ามีไอน้ำในบรรยากาศมากขึ้น

ผลกระทบเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรีซและลิเบียเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา

ถึงตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ทำฝนเทียมก่อนฝนตกหนักในดูไบหรือไม่ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจน นั่นคือ แม้ว่าฝนจะตกหนักขนาดนี้ แต่ในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น โอมานหรืออิหร่านก็ยังเผชิญกับสภาพที่สาหัสกว่าในบางพื้นที่ และนั่นเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่ามีสาเหตุจากการทำฝนเทียมในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงครามรอบด้าน ! มนุษย์ไม่ใช่ว่าจะรบกันเองเท่านั้น แต่กำลังรบกับธรรมชาติอันโหดร้ายด้วย

'ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว' เผยแพร่บทความ 'สงครามรอบด้าน' หลังเรือรบหลวงสุโขทัยอัปปาง ชี้ ทุกวันนี้มนุษย์ไม่ใช่ว่าจะรบกันเองเท่านั้น แต่กำลังรบกับธรรมชาติอันโหดร้ายด้วย แนะรู้จักและร่วมทำงานกับธรรมชาติ

เตือนคนไทยไปต่างประเทศ เช็กสถานการณ์ปลายทางก่อน หลังเหตุภัยธรรมชาติ ไต้หวัน -ญี่ปุ่น- เม็กซิโก

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า

นักข่าวดัง แฉเบื้องหลัง สึนามิ 2547 'ทักษิณ' กลัวญาติผู้เสียชีวิตชาวต่างชาติฟ้อง

เจ้าหน้าที่อุตุฯบอกผมว่ากรมตัดสินใจไม่เตือน เพราะกลัวว่าถ้าไม่เกิด จะโดนรัฐบาล+ธุรกิจท่องเที่ยวเล่นงาน >หลังเป็นข่าว ทักษิณให้ตั้งกรรมการสอบสวนแต่ไม่เคยเขียนรายงานเพราะกลัวญาติต่างชาติที่ตายฟ้อง

เตือน 6 จังหวัดภาคใต้ ระวังน้ำหลาก ดินถล่ม อ่างเก็บน้ำเสี่ยงน้ำล้น

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับแจ้งจากศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้