ชุมชน LGBTQ ในฮ่องกงได้รับชัยชนะครั้งสำคัญ ภายหลังศาลได้ยืนยันสิทธิในการอยู่อาศัยและมรดกของคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นการหักล้างนโยบายของรัฐบาล

นิค อินฟิงเกอร์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่อคำตัดสินล่าสุดเกี่ยวกับคู่รักเพศเดียวกัน นอกศาลอุทธรณ์ในฮ่องกง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน (Photo by Peter PARKS / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 กล่าวว่า ศาลอุทธรณ์ฮ่องกงพิพากษาให้คู่รักเพศเดียวกันในกลุ่ม LGBTQ ได้รับสิทธิในการอยู่อาศัยและการจัดการมรดกของกันและกัน หลังจากต่อสู้กับนโยบายและวิธีปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมของรัฐบาลมาตลอด
คำพิพากษาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากคำตัดสินสำคัญในปี 2566 โดยศาลเดียวกันนี้ซึ่งไม่อนุญาตให้การแต่งงานเพศเดียวกันเป็นสิ่งถูกกฎหมาย แต่ให้เวลารัฐบาล 2 ปีในการจัดทำ "กรอบกฎหมายทางเลือก" เพื่อปกป้องสิทธิของคู่รักดังกล่าว
คำพิพากษาในวันอังคารถือเป็นการสิ้นสุดการต่อสู้ทางกฎหมายที่กินเวลานานถึง 6 ปี หลังจากที่นิค อินฟิงเกอร์ ชาวฮ่องกงรายหนึ่ง ยื่นฟ้องรัฐบาลต่อศาล จากเหตุที่เขาและคู่ครองถูกห้ามไม่ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของรัฐด้วยเหตุผลว่าพวกเขาไม่ใช่ "ครอบครัวตามวิถีปกติ"
ต่อมาคดีนี้ได้รับการพิจารณาร่วมกับคดีของเฮนรี่ หลี่ และเอ็ดการ์ อึ้ง คู่รักเพศเดียวกันซึ่งท้าทายนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับสิทธิในที่อยู่อาศัยและกฎเกณฑ์การรับมรดกที่ห้ามการตกทอดสู่คู่ครองเพศเดียวกัน
ภายหลังศาลตัดสิน อินฟิงเกอร์แสดงความยินดีด้วยการโบกธงสีรุ้งด้านนอกศาลและขอบคุณคู่ครองของเขา
เขากล่าวว่าฮ่องกงจะต้องใช้เวลาสักพักในการรับรองสิทธิเพิ่มเติมสำหรับชุมชน LGBTQ
เขาบอกกับนักข่าวว่า "ผมหวังว่าฮ่องกงจะมีความเท่าเทียมและยุติธรรมมากขึ้น คำตัดสินของศาลในวันนี้ถือเป็นการยอมรับว่าคู่รักเพศเดียวกันสามารถรักกันได้และสมควรที่จะอยู่ร่วมกัน"
อินฟิงเกอร์ชื่นชมศาลแต่กล่าวว่าเขายังคง "มองโลกในแง่ร้ายเล็กน้อย" ที่ศาลฮ่องกงยังไม่เปิดกว้างได้เทียบเท่ากับศาลอย่างไต้หวันและไทยในการคุ้มครองสิทธิของกลุ่ม LGBTQ อย่างเต็มรูปแบบ
ขณะที่เฮนรี่ หลี่ ได้เปิดเผยจดหมายที่เขียนและส่งถึงเอ็ดการ์ อึ้งซึ่งเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายในปี 2563 โดยระบุว่าเขา "รู้สึกขอบคุณ" สำหรับคำตัดสินดังกล่าว
"ผมต้องทนทุกข์ทรมานมาตลอดชีวิต แต่ไม่เคยละทิ้งความปรารถนาของคุณที่ต้องการความเท่าเทียมกัน... ผมหวังว่าคุณจะยังคงได้ยินคำยืนยันของเราเกี่ยวกับคุณ" เนื้อความในจดหมายระบุ
ก่อนหน้านี้ อินฟิงเกอร์และหลี่เคยชนะคดีในศาลชั้นต้น แต่เมื่อต้นปี รัฐบาลได้อุทธรณ์คดีนี้ไปยังศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งศาลได้มีมติเอกฉันท์ยกฟ้องการอุทธรณ์ในที่สุด
แอนดรูว์ เฉิง ประธานผู้พิพากษากล่าวว่า นโยบายที่กีดกันคู่รักเพศเดียวกันออกจากอพาร์ทเมนต์ให้เช่าของรัฐและอพาร์ทเมนต์สร้างขายที่ได้รับเงินอุดหนุนภายใต้โครงการ Home Ownership Scheme ของฮ่องกงนั้น "ไม่สมเหตุสมผล"
"สำหรับคู่รักเพศเดียวกันที่ขัดสนและไม่สามารถหาเงินเช่าที่พักส่วนตัวได้ นโยบายกีดกัน (ของรัฐบาล) อาจทำให้พวกเขาสูญเสียโอกาสที่สมจริงในการใช้ชีวิตครอบครัวภายใต้ชายคาเดียวกัน" ประธานผู้พิพากษากล่าว
ทั้งนี้ อพาร์ทเมนต์สาธารณะของรัฐมีอยู่ประมาณ 28% จากประชากรทั้งหมด 7.5 ล้านคน
ในประเด็นเรื่องมรดก ผู้พิพากษาอธิบายว่ากฎเกณฑ์ที่มีอยู่นั้นเป็นการเลือกปฏิบัติและขัดต่อรัฐธรรมนูญ และยังกล่าวอีกว่าทางการไม่สามารถหาเหตุผลเพียงพอมาสนับสนุนการปฏิบัติที่แตกต่างกันต่อคู่รักเพศเดียวกันได้
ภายใต้กฎหมาย คู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถรับประโยชน์จากกฎการตายโดยไม่มีพินัยกรรมที่ใช้กับ "สามี" และ "ภรรยา" เมื่อต้องแบ่งมรดกของผู้เสียชีวิต
นักวิชาการของมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกงกล่าวว่า การที่ศาลไม่ยอมรับเหตุผลของรัฐบาลในการกีดกันคู่รักเพศเดียวกัน ถือเป็นวิธีการปกป้องสถาบันการสมรส
"คำตัดสินล่าสุด รวมถึงกรณีที่คล้ายคลึงกันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลล้มเหลวในการให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือต่อศาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิสูจน์การปฏิบัติที่แตกต่างกันต่อประสบการณ์ของคู่รักเพศเดียวกันในด้านต่างๆ ของชีวิต" นักวิชาการกล่าว
กลุ่มรณรงค์ Hong Kong Marriage Equality ชื่นชมคำตัดสินดังกล่าวของศาล และเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการกีดกันคู่รักเพศเดียวกันจากการสมรสทันที
การสนับสนุนการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันในฮ่องกงเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และแตะระดับ 60% เมื่อปีที่แล้ว ตามผลสำรวจที่จัดทำร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยสามแห่ง
มีประเทศมากกว่า 30 แห่งทั่วโลกที่ได้ออกกฎหมายให้การแต่งงานถูกต้องตามกฎหมายสำหรับทุกคน นับตั้งแต่เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายดังกล่าวในปี 2544
แน่นอนว่าจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านั้น และยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนในการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อคนเพศเดียวกัน
นักเคลื่อนไหว LGBTQ กล่าวว่าพวกเขาหวังว่ากรอบการทำงานที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ของฮ่องกงจะสามารถปกป้องสิทธิต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้นแทนที่จะพึ่งพาชัยชนะจากการฟ้องร้องต่อศาล
ขณะที่รัฐบาลเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ไม่นานว่า กำลังศึกษาประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและกำหนดรายละเอียดการนำไปปฏิบัติ ในการปกป้องสิทธิทางกฎหมายของคู่รักเพศเดียวกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ทักษิณ’ ร่วมฉลองมงคลสมรส ‘จักรภพ-สุไพรพล’ คนการเมืองแห่ร่วมยินดี
‘ทักษิณ’ ร่วมฉลองมงคลสมรส ‘จักรภพ-สุไพรพล’ อวยพรมีความสุข-ความมั่นคงในชีวิตคู่ ขณะที่คนการเมืองเข้าร่วมแสดงความยินดีแน่น บอกต่อไป ‘จักรภพ’ ต้องช่วยกันทำงานให้บ้านเมือง
‘ยิ่งลักษณ์’ ขอไทยเดินหน้าป้องกันความรุนแรงต่อสตรี หลังมีกม.สมรสเท่าเทียม
ดิฉันอยากเห็นทุกภาคส่วนสานต่อการเฝ้าระวัง การดูแลป้องกัน เพื่อยุติความรุนแรงเหล่านี้ และเป็นพลังสำคัญให้กับทุกคนในการต่อสู้ต่อไปค่ะ
'ทักษิณ' สักขีพยาน จดทะเบียนสมรส 'จักรภพ-ป๊อบ' โวสำเร็จในรัฐบาลพท.
'ทักษิณ' สักขีพยาน จดทะเบียนสมรส 'จักรภพ-สุไพรพล' พร้อมมอบเงินขวัญถุง ลั่น 'สมรสเท่าเทียม' สำเร็จในรัฐบาลเพื่อไทย
หนุนสมรสเท่าเทียม! ธอส.ปล่อยกู้ร่วมซื้อบ้านทุกโครงการ
รัฐบาลสนับสนุนสมรสเท่าเทียมหนุนกู้ร่วมซื้อบ้านกับ ธอส.ทุกโครงการ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.30% เริ่มวันนี้ ทั่วประเทศ
'พอร์ช-อาม' ไอดอลคู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
ถือฤกษ์งามยามดีวันนี้ 23 มกราคมที่ผ่านมา วันแห่งประวัติศาสตร์ของ LGBTQ+ ที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับให้คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าจดทะเบียนสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คู่รักคนดังดีกรีนักแสดงที่คบหากันมาถึง 17 ปี อย่างพอร์ช-อภิวัฒน์ อภิวัฒน์เสรี พร้อมจูงมือคู่ชีวิต อาม-สัพพัญญู ปนาทกูล ที่ถือเป็นไอดอลคู่รัก LGBTQ+ ต้นแบบของประเทศไทย
‘ก้าวอิสระ’ ยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ชี้เป็นก้าวสำคัญ ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน
"มาดามหยก” ย้ำ "ก้าวอิสระ" ผลักดัน สนับสนุน ความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ก้าวข้ามความขัดแย้ง มุ่งมั่นสร้าง