กัมพูชาเชิญผู้แทนเมียนมา 'ที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง' ร่วมประชุมอาเซียน

รัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจเชิญผู้แทนที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองของเมียนมาเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นกลางเดือนนี้ แทนการเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลทหาร

แฟ้มภาพ พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา มาถึงสำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2564 (Photo by Secretariat of the President of Ind/Anadolu Agency via Getty Images)

รายงานรอยเตอร์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 อ้างคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจากกรุงพนมเปญในวันเดียวกันว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มอาเซียนที่กรุงพนมเปญวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์นี้ รัฐบาลกัมพูชาซึ่งเป็นประธานอาเซียนวาระปัจจุบัน ตัดสินใจเชิญผู้แทนที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองของเมียนมาเข้าร่วมการประชุมนี้ โดยหวังว่าเมียนมาจะส่งผู้แทนเข้าร่วมด้วย แทนที่จะไม่ส่งใครมาเลย และขึ้นอยู่กับรัฐบาลเมียนมาว่าจะตัดสินใจส่งบุคคลใดมา

ชุม สุรี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า ชาติสมาชิกอาเซียนไม่สามารถหาฉันทมติกันได้เรื่องการเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเมียนมาเข้าร่วมประชุมเวทีนี้ เนื่องจากไม่มีความคืบหน้าในแผนสันติภาพที่ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเคยตกลงไว้กับอาเซียนเมื่อกลางปีที่แล้ว

เมื่อวันพุธ รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์แสดงความ "ห่วงกังวลอย่างยิ่ง" ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาด้วย โดยมีรายงานว่ายังเกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่แย่ลง "ชาติสมาชิกอาเซียนเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการยุติความรุนแรงโดยทันที และขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นถึงที่สุด" คำแถลงกล่าว

เมื่อปีที่แล้ว อาเซียนสร้างความประหลาดใจด้วยการงดเชิญผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่บรูไน โดยอ้างความล้มเหลวในการปฏิบัติตามฉันทมติสันติภาพ 5 ข้อของอาเซียน แต่ภายหลังกัมพูชารับหน้าที่ประธานอาเซียนในปีนี้ รัฐบาลของนายกฯ ฮุน เซน พยายามดึงเมียนมาเข้ามาเกี่ยวพันกับอาเซียนอีกครั้ง โดยฮุน เซน เดินทางเยือนเมียนมาและพบกับพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เมื่อวันที่ 7 มกราคม และทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนบางชาติไม่สบายใจว่าอาจถูกตีความเป็นการรับรองรัฐบาลทหาร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'หมอตังค์' ยูทูบเบอร์ดังเคลื่อนไหว หลังโดนคนกัมพูชาลอกคอนเทนต์

เพิ่งมีกระแสร้อนแรงไม่กี่วันก่อนเมื่อยูทูบเบอร์ชาวกัมพูชาที่ชื่อว่า 'Doctor Sem Ratana' ลอกคอนเทนต์ของยูทูบเบอร์-แพทย์หนุ่ม ตังค์-มรรคพร ขัติยะทองคำ เจ้าของรายการ "เวรชันสูตร" จากช่อง "Tang Makkaporn" ที่มียอดติดตามกว่า 1 ล้านคน

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา