เมียนมาเคือง รมต.โดนเมิน ประกาศไม่ร่วมประชุมอาเซียน

รัฐบาลเมียนมาประกาศว่าจะไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมอาเซียนสัปดาห์นี้ หลังจากอาเซียนตัดสินใจไม่เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาเข้าร่วมประชุมที่กัมพูชาด้วย "อย่างน่าเศร้าใจ"

แฟ้มภาพ วันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ประชุมทางไกลรัฐมนตรีต่างประเทศและผู้แทนประเทศอาเซียน จากกรุงเนปยีดอ วันที่ 2 มี.ค. 2564 (AFP PHOTO / Myanmar Radio and Television via AFPTV)

รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศเมียนมามีแถลงการณ์เมื่อค่ำวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าเมียนมาจะไม่ส่งใครเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กัมพูชาในสัปดาห์นี้ หลังจากอาเซียนขอให้เมียนมาส่ง "ผู้แทนที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง" มาเข้าร่วมแทน โดยอ้างว่าขาดความคืบหน้าในการปฏิบัติตามฉันทมติที่เห็นพ้องกันในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อกลางปีที่แล้ว ในการอำนวยความสะดวกแก่การสานเสวนากับฝ่ายค้านเมียนมาภายหลังรัฐประหาร

คำแถลงกล่าวว่า การที่อาเซียนไม่เชิญวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เป็นเรื่องที่ "น่าเศร้าใจ" จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เมียนมาจะไม่สามารถเข้าร่วม หรือแม้แต่แต่งตั้งตัวแทนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไปร่วมการประชุมครั้งนี้

คำแถลงกล่าวโทษสมาชิกบางประเทศที่ไม่เอ่ยนามว่า ยังคงยึดถือ "การตัดสินใจโดยฝ่ายเดียว" ในอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ที่ห้ามพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

การปฏิเสธเชิญผู้นำเมียนมาในครั้งนั้นถือเป็นการตำหนิที่น้อยครั้งจะเกิดขึ้นในอาเซียน ซึ่งถูกมองมาช้านานว่าเป็นเพียงเวทีพูดคุยที่ไร้เขี้ยวเล็บ แต่กำลังหาทางเป็นผู้นำความพยายามใช้การทูตจัดการกับวิกฤติเมียนมา

เมื่อเดือนมกราคม นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา เป็นผู้นำต่างชาติคนแรกที่เดินทางเยือนเมียนมานับแต่รัฐประหาร 1 กุมภาพันธ์ 2564 เขาได้พบกับพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย และตามคำแถลงของเมียนมา ทั้งคู่ได้หารือเกี่ยวกับความพยายามสร้างสันติภาพและแผนในอนาคต รวมถึงบทบาทของทูตพิเศษของอาเซียน

ปัจจุบันยังคงเกิดความรุนแรงในเมียนมา โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลปะทะกับกองทัพเป็นประจำ และธนาคารโลกเตือนว่า เศรษฐกิจเมียนมาปีที่ผ่านมามีแนวโน้มหดตัวเกือบ 1 ใน 5.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม