'หมอธีระวัฒน์' เผยสามประสาน 'วินัย-ยารักษาเร็ว-วัคซีน' ยุติแพร่เชื้อ ลดอาการลองโควิด

28 ก.ค.2565 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สามประสาน วินัย-ยารักษาเร็ว-วัคซีน วัคซีนไม่ใช่คำตอบเดียว จาก Imperial Collegeในวารสาร Science เดือนมิถุนายน และรายงานอื่นๆ จนปัจจุบัน

สำคัญมากครับ ทั้ง T และ B cell ในคนได้วัคซีนสามเข็ม หรือ ได้วัคซีนบวกติดเชื้อด้วยโควิดสายเก่งต่างๆ (variant of concern) มาก่อน เมื่อมีการติดโอไมครอนกลับมีการตอบสนองที่ลดลงไปต่อโอไมครอน เมื่อเทียบกับสายอื่นๆ และอธิบายว่าเมื่อมีการติดโอไมครอนที่เป็นการติดเชื้อตามธรรมชาติ โอไมครอนไม่ได้ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างที่หวังจะให้เป็น แบบตัวกระตุ้นผสมกับวัคซีน ที่เรียกว่า ไฮบริด

และวัคซีนที่ฉีดไปทั้ง 3 เข็ม รวมทั้ง mRNA gen ใหม่ ที่มี omicron spike ก็ได้ผลแบบเดียวกันคือ กลับลดลงต่อโอไมครอน แต่กลับไปเพิ่มภูมิต่อโควิดสายเดิม ทั้ง อู๋ฮั่น แอลฟา เดลต้า ตามที่มีพิมพ์เขียวอยู่

ทั้งนี้ แสดงว่าepitopes ของ T และ B ที่วัคซีน รุ่นใหม่จะดีหรือไม่อาจจะต้องอยู่นอก spike/RBD หรือขึ้นกับ Conformational epitopes ระหว่างการติดเชื้อของ โอไมครอนหรือไม่ ตามที่คณะผู้วิจัยวิเคราะห์
ปรากฎการณ์นี้ เรียกว่า hybrid immune damping

ผลกระทบก็คือไม่ว่าฉีดวัคซีน หรือไม่ว่าติดโอไมครอนไปแล้วหรือ ฉีดและติดไปแล้ว ติดโอไมครอนใหม่ซ้ำซากได้ และหมายความว่าลองโควิดที่จะเจอจะมากขึ้นเรื่อยๆจากการติดเชื้อซ้ำๆ แม้ว่ารายงานระยะแรกในปี 2565 โอไมครอนดูเหมือนจะเกิดลองโควิดน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม การฉีดครบสามเข็มด้วย PZ หรือ MDN / AZ AZ และ เข็มสาม PZ หรือ MDN ยังเป็นสิ่งจำเป็น ที่ช่วยลดอาการหนักหรือลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต

สำหรับวัคซีนเข็มสี่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำแนะนำเข็มสี่ มีประโยชน์สำหรับคนที่อายุ 80 หรือสูงวัยที่มีโรคประจำตัว (การศึกษาอายุเกิน 60 ขึ้นไปโดยเฉลี่ยอายุ 80 ปี) ด้งรายงานจาก ต่างประเทศ
การใช้เข็มสี่ที่เป็น bivalent (mRNAเดิมผสมโอไมครอน 1/2) ในสถานการณ์ โอไมครอน BA 4/5 รวมกระทั่งถึงการใช้วัคซีนที่เป็นโอไมครอน BA4/5 เกรงกันว่าภายในเดือนกันยายนหรือตุลาคม โอไมครอนอาจจะหนีออกไปอีก รวมกระทั่งมีวาเรียนท์สายย่อยอื่นออกมา ที่สามารถหนีทั้งในการป้องกันการติดเชื้อ

แม้ว่าความดี ของการลดอาการหนักอาจจะยังคงอยู่จากการฉีดวัคซีนที่ผ่านมารวมทั้งการติดเชื้อด้วย โดยที่ไม่ได้ออกฤทธิ์แบบเฉพาะเจาะจงต่อโควิดตัวใดตัวหนึ่ง และเป็นการออกฤทธิ์แบบ เฉียบไวเฉียบพลัน (ระบบinnate )

ด้วยความเก่งกาจของโควิดและข้อจำกัดของวัคซีน ดังนั้นวัคซีนคงไม่ใช่คำตอบเดียว แต่ต้องเป็นการร่วมประสานวินัยของพวกเราเอง และยาที่ใช้รักษาต้องสามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุดเพื่อยุติกระบวนการติดเชื้อและทำให้อาการสงบเร็วไม่แพร่เชื้อต่อ และอาจลด ลองโควิด และวัคซีน ภาคบังค้บ 3 เข็ม (มากกว่านั้นตามความสมัครใจ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ประกาศลาออกจาก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย