“พิพัฒน์” เปิดประชุมคณะกรรมการประกันสังคม หลังเลือกเสร็จ ชูร่วมมือสร้างคุณภาพชีวิต

วันที่ 4 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการของสำนักงานประกันสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคม ภายใต้นโยบาย “ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันสังคมเด่น เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการอุทธรณ์ กองทุนประกันสังคม คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการตรวจสอบกองทุนเงินทดแทน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน
.
รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้กำหนดทิศทางเป้าหมายให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาล มอบแนวทางแด่สำนักงานประกันสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายที่ต้องเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ภายใต้นโยบาย “มุ่งเน้นการบริการที่ได้มาตราฐาน วินิจฉัยโรคที่แม่นยำรวดเร็ว สะดวกสบาย และ มีการติดตามผล พร้อมคุ้มครอง ดูแลและสร้างสวัสดิการที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ประกันตน” พร้อมเตรียมเดินสายพบสหภาพแรงงาน หรือ ออกหนังสือหารือ ในการสร้างสวัสดิการที่ดี เป็นประโยชน์กับผู้ประกันตน โดยกำหนดมีรายละเอียดแนวทาง 4 ข้อหลักๆ ดังนี้


.
1. นโยบายด้านการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้ประกันตน ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้มีความเหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีมาตรฐานสากล พร้อมพัฒนาและยกระดับสิทธิการรักษา รวมถึง สวัสดิการของงานด้านประกันสังคม ที่มีความทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้ประกันตน ผ่านโครงการ MICRO FINANCE : ลดหนี้ เติมทุน สร้างสุขแรงงาน
.
2. นโยบายเชิงรุกเพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ประกันตน โครงการตรวจสุขภาพเชิงรุก ณ สถานประกอบการ ที่มุ่งเน้นการตรวจคัดกรองโรคที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มาใช้เพื่อการคัดกรองโรคอันตราย ณ สถานประกอบการ
.
3. นโยบายด้านการยกระดับงานด้านการบริการ “รวดเร็ว สะดวกสบาย และ มีการติดตามผล” สู่การพัฒนา BEST E-SERIVCE ประกันสังคมยุคใหม่ สร้างความมั่นคง เพิ่มความมั่นใจ ยกระดับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตนในการรับบริการ มีการพัฒนาระบบ TELE – MEDICINE เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการได้รับการบริการด้านการรักษาพยาบาล และช่วยลดความแออัด ณ สถานพยาบาล และการพัฒนาระบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าบริการของผู้ประกันตน ณ สำนักงานประกันสังคม และโรงพยาบาลประกันสังคม เพื่อการนำข้อมูลมาใช้เพื่อการพัฒนาและระดับงานด้านการบริการและรักษาพยาบาล
.
4. นโยบาย “กองทุนมั่นคง แรงงานมั่งคั่ง ประกันสังคมยั่งยืน” เพื่อการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และยั่งยืน โดยส่วนแรก คือ การเพิ่มจำนวนผู้ประกันตน พร้อมเร่งศึกษาพัฒนา PACKAGE ด้านประกันสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของผู้ประกันตนยุคใหม่ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกันตนให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานอิสระ หรือมาตรา 40 ส่วนที่สอง คือ พัฒนาด้านการลงทุนที่มีประสิทธิภาพให้ได้ผลตอบแทนการลงทุนที่มากกว่าปัจจุบัน โดยตั้งเป้าหมายผลตอบแทนการลงทุน จาก 2.4% เป็น 5% หรือ จาก ปีละ 6หมื่นล้านเป็น 120,000 ล้าน ไต่ระดับขึ้นไปตั้งแต่ปี67-70 นำไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กันผู้ประกันตน
.
นายพิพัฒน์ ได้เสนอแนวทางให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณา ดังนี้
.
1. คณะกรรมการประกันสังคม พิจารณาแนวทางให้นายจ้างสร้างหลักประกันสังคมให้กับลูกจ้าง โดยขึ้นทะเบียนและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างครบถ้วน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองตามกฎหมายครบถ้วน
.
2.คณะกรรมการการแพทย์ พิจารณาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของลูกจ้างหรือผู้ประกันตน ให้ได้รับสิทธิไม่ด้อยกว่าหรือดีกว่ากองทุนอื่น รวมถึงศึกษานวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ได้รับการรับรองจากนานาชาติ
.
3 คณะกรรมการอุทธรณ์ พิจารณาคำอุทธรณ์ของลูกจ้าง นายจ้าง หรือผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยความรวดเร็ว แต่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย และการวินิจฉัยสิทธิประโยชน์ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
.
4. คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน พิจารณาเรื่องการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน พัฒนามาตรการหรือสร้างแรงจูงใจในการลดอุบัติเหตุจากการทำงาน
.
5. คณะกรรมการตรวจสอบกองทุนเงินทดแทน พิจารณาแนะนำแนวทางการกำกับ ตรวจสอบ และวางระบบการบริหารกองทุน ให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างเชื่อมั่นให้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์”รับฟังทุกฝ่าย ถกสภาอุตฯ หอการค้า เอสเอ็มอี ผู้ใช้แรงงาน ขึ้นค่าแรง 400 บาท

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับยื่นหนังสือจากกลุ่มแรงงาน นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน และนายมานพ เกื้อรัตน์ แกนนำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่ได้นำสมาชิกกว่า 150 คน

“พิพัฒน์” ้สั่งเร่งเยียวยาแรงงานเสียชีวิตแทงก์สารเคมีระเบิดระยอง กำชับปลัดก.แรงงาน ดูแลใกล้ชิด แนะประกันสังคมคุ้มครองสิทธิความปลอดภัยแรงงาน พร้อมรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บให้ครบ

วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีเกิดเหตุแทงก์เก็บสารเคมีระเบิดและเพลิงไหม้ที่จังหวัดระยอง เมื่อวานนี้ (9 พ.ค.67) จนทำให้มีลูกจ้างเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บว่า

'อนุทิน' ย้ำขึ้นค่าแรง 400 นโยบายรัฐบาล รอ 'บอร์ดไตรภาคี' ชี้ขาด

'อนุทิน' ย้ำขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ นโยบายรัฐบาล ชี้ผลสุดท้ายขึ้นอยู่ 'คกก.ไตรภาคี' มั่นใจ 'รมว.แรงงาน’ ดันสุดความสามารถ

รมว. “พิพัฒน์” เสริมสร้างความปลอดภัยการทำงาน นำเหล่า Safety จิตอาสา แสดงพลังเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานที่ยั่งยืน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดงาน “10 พฤษภาคม วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” ภายในงานมีพิธีถวายพระพรชัยมงคลและถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รมว.พาณิชย์ ซาอุฯ ไฟเขียว พบ "พิพัฒน์" รมว.แรงงาน กระชับสัมพันธ์ เปิดตลาดแรงงานภาคท่องเที่ยว สุขภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสองประเทศ

วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ดร.มาญิด บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลกอเศาะบี