EEC : การพัฒนาบุคลากร และความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ

การขยับปรับตัวของการศึกษาระดับอุดมศึกษาบ้านเมืองเรา มีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ “กระทรวง อว.” ดำเนินการอยู่ ความเคลื่อนไหวโดยรวมนับว่าก้าวหน้าไปพอควร แต่หนทางข้างหน้าที่จะไปต่อ...ก็อีกไกลโข!

ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ปรับแก้กฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการศึกษา หลักสูตรและมาตรฐานหลักสูตร สิ่งแวดล้อมทางการศึกษา และออกระเบียบเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งระเบียบบริหารไปได้มากทีเดียว แต่ก็คงต้องปรับกันอีกมาก เพราะปัญหาการศึกษาในบ้านเมืองเราสั่งสมทับถมมานาน!

ล่าสุด กระทรวงการอุดมศึกษาฯ เสนอร่างกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2566-2570 ที่มุ่งปรับเปลี่ยนการอุดมศึกษาให้นำพาประเทศสู่อนาคตภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต” กรอบร่างนโยบายนี้มียุทธศาสตร์สำคัญ 4 ยุทธศาสตร์ กล่าวคือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาท้าทายและปรับตัวให้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับชั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา แล้วสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน

เป้าหมายสำคัญของยุทธศาสตร์ 5 ปี คือ มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพลิกโฉมประเทศ โดยการจัดปรับทิศทาง-สร้างความพร้อม-ความก้าวหน้าใหม่ให้เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่ ที่กำลังเปลี่ยนหมุนไปอย่างอลวนอลเวง-เชี่ยวกราก!

แน่นอนว่า หัวใจการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่จะนำสู่เป้าหมายจริงนั้น-ไม่พ้นเรื่องหลักๆ ที่สำคัญ 3 เรื่องที่ต้องพิจารณาคือ หนึ่ง เรื่องคน-ความสามารถของคน สอง เรื่องสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และสาม เรื่องกติกา-กฎระเบียบ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่เป้าหมายให้เกิดมรรคผลจริง-มีสัมฤทธิผลตามที่ตั้งเป้าไว้!

จากบทเรียนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การสร้างสิ่งแวดล้อมทางการศึกษายุคใหม่ รวมถึงการสร้างระบบ-ระเบียบสนับสนุนการพัฒนาคนในอุตสาหกรรม 4.0 ตามเป้าหมายการลงทุนของ EEC นั้น ได้มีบทเรียนจากการดำเนินการขับเคลื่อน-ปฏิบัติการพัฒนาคนและการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ที่ EEC HDC หน่วยงานใต้กำกับของ EEC ปฏิบัติการ-ประสาน-วางฐาน-ปูทางไว้พอสมควร ซึ่งสามารถนำบทเรียนมาขยายสู่การพัฒนาการอุดมศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญ

ปฐมบทการสร้างบุคลากร-การศึกษาใหม่ใน EEC เริ่มจากการสำรวจความต้องการบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมตามความต้องการของงานยุคใหม่ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณตามเป้าหมายการลงทุนที่ EEC วางไว้ ซึ่งมีการสำรวจจัดทำแผนงานความต้องการบุคลากร โดยมีรายงานความต้องการบุคลากรโดยรวมจำนวน 4.7 แสนอัตรา-ตามแผนการลงทุนใน EEC ทั้ง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ต่อมามีการจัดปรับ-ทบทวนจำนวนความต้องการบุคลากรใหม่-หลังโควิด พบว่ามียอดรวม 5.6 แสนอัตรา-เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม แบ่งเป็นระดับอาชีวะประมาณร้อยละ 55 ซึ่งเป็นตัวเลขฐานความต้องการบุคลากรในระยะ 5 ปีต่อจากนี้

ส่วนภาคปฏิบัติการในกระบวนการพัฒนาบุคลากร-การศึกษายุคใหม่ ได้มีการดำเนินการปรับทิศทางผ่านการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันปรับสร้างหลักสูตรตามความต้องการของอุตสาหกรรม และจัดปรับระบบการศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการจริง (Demand driven) ที่ภาคอุตสาหกรรมให้การรับรอง รวมถึงได้มีการปรับระบบนิเวศการศึกษาใหม่ให้เป็นแบบโมดูล มีเครดิตแบงก์มารองรับ มีการพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต ที่จำเป็นต่อโลกยุคใหม่ มีการเสริมการเรียนสเต็ม ภาษา และโค้ดดิง ในกลุ่มการศึกษาระดับพื้นฐาน เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้-ทักษะยุคใหม่ รวมทั้งมีการปรับระบบระเบียบรองรับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้

จากบทเรียนข้างต้น ยุทธศาสตร์ใหม่ที่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ยกร่างขึ้นมาจึงต้องใส่ใจ เรื่องคน เรื่องสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติ และต้องเคลื่อนไหวปรับเรื่องระบบระเบียบ ให้รองรับปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ผลลัพธ์-ผลสัมฤทธิ์จริงจึงจะเกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นยุทธศาสตร์ที่ยกร่างมาก็จะเป็นแค่บทพรรณนาที่คิดอยากจะทำ...แค่นั้น! ขอเอาใจช่วยขอรับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต

บนเส้นทางมหาปรินิพพาน “มัชฌิมาปฏิปทา สู่ อัปปมาทธรรม”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา.. บนเส้นทางมหาปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมสมัย มีปรากฏร่องรอยธรรมที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

มาฆบูชาโลก ณ เวฬุวันมหาวิหาร ชมพูทวีป (พ.ศ.๒๕๖๗)

เจริญพรศรัทธาสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาระหว่าง ๒๒-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปประกอบศาสนกิจอันสำคัญยิ่งในชมพูทวีป บนแผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนา เนื่องใน วันมาฆบูชาโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็น “วันมาฆบูชาปูรณมี”

“มายาสาไถย..” ..ในสังคมปัจจุบัน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีประโยชน์ ๓ ระดับ ได้แก่