หลังประเทศไทย สอบผ่านจากการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา การประชุมรอบใหม่ของคณะทำงานต่างๆของเอเปคกำลังกลับมาเริ่มใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้วเพื่อเตรียมประเด็นและรายงานต่อผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจ ในปลายปี 2566 นี้
เป็นการประชุมด้านเศรษฐกิจเอเปคครั้งแรกในปีนี้ โดยเจ้าภาพคือสหรัฐอเมริกาจัดให้มีขึ้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ปาล์มสปริง แคลิฟอร์เนีย
สำหรับประเทศไทยคงจำกันได้ว่าเรามี Bangkok Goals ที่ไทยประกาศไว้ในการประชุมครั้งที่แล้วที่ต้องสานต่อให้เป็นรูปธรรม
โดยเห็นว่ายังคงมีความจำเป็นและท้าทายที่จะต้องรีบฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาจาก 4 ปีที่ติดโควิด โดยไทย จีนและอีกหลายเศรษฐกิจในเอเซียกำลังเป็นผู้นำพลิกฟื้นการบริโภคโดยเปิดประเทศ อัดฉีด และสร้างห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์การค้าระหว่างประเทศใหม่หลังจากการผลิตหยุดชะงัก และบางประเทศถอนตัวออกจากจีนมาตั้งในไทยและเวียดนามเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง
ในการนี้ นโยบายและมาตรการการเงินการคลังควรต้องเน้นให้มีการสร้างอุปทานจริงให้เกิดขึ้นในห่วงโซ่ด้วยการลงทุนเพิ่มในภาครัฐและเอกชน การบริหารความเสี่ยงจากเงินเฟ้อซึ่งไทยได้วิ่งขึ้นดอกเบี้ยตามเฟดไปแล้ว การติดตามบริหารความเสี่ยงดุลย์การชำระเงินและบัญชีเดินสะพัด และดูแลการผ่อนชำระหนี้ของครัวเรือนให้เหมาะสมและสมดุลย์ รวมทั้งเร่งความเร็วเศรษฐกิจ การให้เงินทุนหมุนเร็ว ธุรกิจและประชากรเข้าถึงแหล่งทุน เกิดสภาพคล่อง ทำให้มีทุนหมุนเวียนทางธุรกิจ เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางธุรกิจและการค้า ตลอดจนการการเปิดเสรีทางการค้าให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2023 นี้
ทั้งนี้เศรษฐกิจขนาด ( Economy of Scale) เศรษฐกิจความเร็ว ( Economy of Speed ) เช่น Digitalization และ Platform Economy ) และเศรษฐกิจความหลากหลายและการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนแบบเปิดกว้างให้มีการแข่งขันทางการค้า ( Economy of Scope ) ยังเป็นพระเอกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของเอเปคในปีนี้
สำหรับประเทศไทย ได้เพิ่มอีกเศรษฐกิจหนึ่งคือเศรษฐกิจการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ( Climate Change Economy ) ซึ่งรวมถึงปัญหา การปรับปรุงและปฏิรูปโครงสร้างทางกฎหมาย ตลอดจนกระบวนการการกำกับดูแลและตรวจสอบ (regulate) เอื้ออำนวยให้ธุรกิจชีวภาพ ธุรกิจหมุนเวียนและสีเขียว ให้โตได้ในตลาดที่มีข้อมูลและตลาดที่แข่งขัน ให้ธุรกิจสามารถมีส่วนในการแก้สภาวะโลกร้อนที่ตนเองก็มีส่วนสร้าง
โดยส่วนหนึ่งในจิ๊กซอว์ไทยได้นำเสนอการปรับปรุงมาตรการสนับสนุนรูปแบบเศรษฐกิจในระยะยาวแล้วในรูปแบบเศรษฐกิจ BCG Model ( Bio-Circular-Green ) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด “โลกาวิบัติ”
ซึ่งโลกาวิบัติในสามเรื่องนี้ยังเป็นโจทย์ท้าทาย คือ 1. การควบคุมการระบาดของโควิดซึ่งคร่ามนุษย์อย่างไม่เคยมีในรอบ 100 ปี ซึ่งยังต้องหายามาพิชิตโรคนี้ เป็นสูตรลับที่ยังต้องหากันต่อไป
2. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน เพราะสงครามในยูเครนและความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีและทะเลจีนใต้ มาผสมโรง Stagflation รูปตัว K แห่งความเหลื่อมล้ำ และอาจกลายเป็นรูปตัว Y หรือเศรษฐกิจแบบ Gen Y เมื่อทุกคนในปี2023 นี้ลงมาทัดเทียมกัน…สูงสุดกลับสู่สามัญ
3. การเผชิญกับสภาวะโลกร้อนในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอเปค มีทุกประเทศอยู่ริมฝั่ง ย่อมเสี่ยงต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล เรื่องนี้อินโดนีเซียได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงออกจากจาร์กาตาร์แล้ว
ภายใต้สภาวะคุกคามสามประการนี้ประเทศไทยควรใช้ประโยชน์จากเอเปคอย่างไรและควรทำอะไรต่อที่เป็นมรรคผลมากไปกว่าการประชุมกัน
เรื่องหนึ่งที่ไทยและเอเปคกำลังทำอยู่คือการประสานนโยบายเศรษฐกิจ (Economic Policy Integration) ให้เป็นปึกแผ่นที่จะทำให้เกิดการลงทุนและการทำธุรกิจกันมากขึ้นในภูมิภาค ในเรื่องนี้อาเซียนเห็นว่าการมีนโยบายแข่งขันทางการค้าอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Competition: AFAC ) จะทำให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศมหาศาล ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นแล้วเมื่อปลายปีที่แล้วและคาดว่าจะสำเร็จในระดับหนึ่ง…ในอีกสองปีข้างหน้า
สิ่งนี้อาจเป็นตัวอย่างของการมีนโยบายร่วมกันด้านการแข่งขันภายใต้เอเปค เพื่อ 1. สร้างความแข็งแกร่งด้านกฎหมายแข่งขันของแต่ละเศรษฐกิจเอเปคให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคและวิสาหกิจขนาดจิ๋วกลางเล็กและใหญ่ 2. เพื่อให้มีการลงทุนและสร้างธุรกิจมากขึ้น และ 3. เป็นการเตรียมตัวให้มีส่วนในการเตรียมการเจรจาเปิดการค้าเสรีเอเปคมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีส่วนฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมากและทำได้ทันที…ไม่ต้องเจรจา
เรื่องที่สองคือถึงแม้การเจรจาเขตการค้าเสรีเศรษฐกิจเอเปคยังเป็นเรื่องไกลตัว แต่การสร้างตลาดการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างตลาดที่เป็นธรรมสำหรับ เศรษฐกิจดิจิทัล และ เศรษฐกิจสภาวะโลกร้อน ให้เกิดขึ้นได้จริง และเป็นตลาดแห่งการแข่งขันทางธุรกิจ สำหรับทุกๆคนรวมทั้งให้ผู้บริโภคมีทางเลือก…ไม่ง่ายเลย
หน่วยงานรัฐต้องเข้าใจและมีความสามารถกำกับดูแลตรวจสอบตลาดนี้ให้มีความยุติธรรมไม่ให้เกิดการผูกขาดโดยบริษัทยักษ์ ซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ๆและซับพลายเออร์ รุ่นใหม่ยังไม่สามารถเข้าถึงตลาดได้โดยง่าย
การที่วิสาหกิจขนาดเล็กกลางใหญ่จิ๋วซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจนี้ยังหาบทบาทตัวตนของการแข่งขันไม่เจอและยังไม่สามารถเข้าสู่เข้าตลาดได้โดยง่าย จึงมีความจำเป็นที่รัฐควรสร้างทางเลือกและมีพื้นที่ให้ทุกคนอย่างเสมอภาค ( Level Playing Field ) เพื่อเป็นแรงส่งให้พัฒนาตลาดใหม่ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันกับเศรษฐกิจอื่นๆได้ และเป็นเครื่องยนต์ตัวที่สี่นอกเหนือไปจากการส่งออก ลงทุน และการบริโภคดังได้กล่าวมาแล้ว
เรื่องที่สามที่ค่อนข้างสำคัญมากอีกเรื่องคือเทคโนโลยีที่จะสร้างตลาดใหม่ในเศรษฐกิจดิจิทัล และเศรษฐกิจสภาวะโลกร้อน สองเศรษฐกิจใหม่นี้ ยังคงมีต้นทุนค่อนข้างสูง และ ผู้ประกอบการขนาดเล็กยังไม่สามารถระดมทุน ได้ จึงมีความจำเป็นที่รัฐตัองวางนโยบายการเข้าถึงเงินทุน และออกกฎระเบียบควบคุม ให้ตลาดเติบโต ( green growth and inclusiveness ) ทำธุรกิจได้ง่าย ( ease of doing business ) และยั่งยืน ( sustainable ) มีการแข่งขัน ( competition ) และสร้างความสามารถทางการแข่งขัน ( competitiveness )
ซึ่งคงต้องค่อยทำค่อยไปเพราะไม่เป็นเรื่องง่ายเลย…
ประการที่สี่สำหรับประเทศไทยและ Bangkok Goals คือการที่เอเปคและประเทศไทยต้องสร้างปรัชญา BCG จริงไม่ใช่ เป็นภาพมายาเพียงเพื่อการ “ฟอกเขียว” หรือ Greenwashing ด้วยการโฆษณาสรรพคุณสินค้าหรือบริษัทแบบแอบอ้าง ซึ่งปัจจุบันผุดเป็นดอกเห็ดทั่วโลก โดยหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคจำเป็นต้องออกกฎระเบียบคอยติดตามตรวจสอบสินค้าว่ามีมาตรฐานดังที่กล่าวอ้างหรือไม่
เรื่องที่ห้า สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือการสร้าง พันธมิตรในเอเปค ( peer-to-peer ) ด้วยกันเองเพื่อไม่ให้เกิด วาระแอบแฝง 6 ประการของ การฟอกเขียว ได้แก่ หนึ่ง Greencrowding สอง Greenlighting สาม Greenshifting สี่ Greenlabeling ห้า Greenrinsing และ หก Greenhushing ในโลกสีเขียวอมเทาในปัจจุบัน
กฎษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์
ประธาน ผู้จัดการประชุม
คณะทำงานด้านนโยบายและกฎหมายทางการค้าของเอเปค ( CPLG )
ภายใต้คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค APEC Economic Committee
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘สุริยะ’เล็งใช้เวทีเอเปคสหรัฐฯ 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’
‘สุริยะ’เตรียมใช้เวทีเอเปคสหรัฐอเมริกา 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’ ดึงต่างชาติร่วมลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ 1 ล้านล้านบาท คาดผลักดัน พรบ.พัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้แล้วเสร็จในปี67 ก่อนเดินหน้าเปิดประมูล
Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน
การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP
ชู‘BALANCE’จากสถานที่จัดประชุม ‘เอเปค’สู่ของ‘ที่ระลึกสื่อมวลชน’
แนวคิดหลักของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
'บิ๊กตู่' เข้าทำเนียบฯ โล่งผลตรวจเป็นลบ หลังผู้นำฮ่องกงติดโควิด
'บิ๊กตู่' เข้าทำเนียบฯ ช่วงสาย หลังพักร่างกายจากการลุยงานเอเปก พร้อมตรวจโควิดผลเป็นลบ หลังผู้นำฮ่องกงติดเชื้อ
เอเปกสมบูรณ์แบบ! ไทยได้พรีเซนเตอร์ระดับผู้นำโลก
นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เอเปกสมบูรณ์แบบ
เชียร์ 'บิ๊กตู่' ไปต่อ! ได้นั่งนายกฯ สมัย 3 แน่
'ธนกร' มั่นใจ ถ้า 'บิ๊กตู่' ไปต่อ ได้นั่งนายกฯ อีกสมัยแน่ ชี้นโยบายรัฐบาลกำลังออกดอกออกผล จัดเอเปกสำเร็จ นักบริหารเน้นทำงานไม่โอ้อวด ซื่อสัตย์สุจริต ประชาชนจับต้องได้