โควิด-19 กับผลกระทบในหลายมิติ

ในช่วงที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์โควิดกันอย่างต่อเนื่อง โดย 3เอ็ม เองก็ติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างใน 11 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส บราซิล จีน เม็กซิโก แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อินเดีย และเกาหลีใต้ โดย จิม ฟาลเทอเสค รองประธานอาวุโส ฝ่ายกิจการองค์กร 3เอ็ม ภูมิภาคเอเชีย และกรรมการผู้จัดการ 3เอ็ม ประเทศเกาหลี ก็ได้ออกมาระบุถึงประเด็นที่น่าสนใจไว้หลายอย่างด้วยกัน

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้พบว่า 76% ของผู้คนทั่วโลกมีมุมมองด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยเห็นพ้องต้องกันว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่นี้ส่งผลให้พวกเขาหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น และจากกว่า 90% ของคนไทย ส่วนใหญ่ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้น แบ่งเป็น 64% เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น และอีก 58% เลือกการออกกำลังการเข้ามาในกิจวัตรประจำวัน

ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดยังส่งผลกระทบต่อแนวคิดเกี่ยวกับการใช้พื้นที่สาธารณะมากถึง 77% โดยเห็นว่าพื้นที่สาธารณะจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงออฟฟิศ สำนักงานต่างๆ ทั้งในเรื่องแนวคิดการออกแบบภายในที่ต้องการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสร้างความกระตือรือร้นต่อพนักงาน ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัยให้แก่พนักงานด้วยเช่นกัน

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายประเทศเข้าสู่สภาวะล็อกดาวน์ ทำให้ระบบการทำงานบนโลกออนไลน์หรือโลกเสมือนเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกะทันหันทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยผู้คนมากกว่า 64% ชอบการทำงานที่บ้านและยินดีที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบบ้านที่ยั่งยืน การใช้พลังงานหมุนเวียน และยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมด แต่ยังมีอีกกลุ่มเลือกที่จะลดบทบาทการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า กว่า 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวได้ดีกว่าเมื่อใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ ขณะเดียวกันผู้คน 7 ใน 10 คนชื่นชอบงานอดิเรกที่ช่วยให้พวกเขาสามารถพักการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของตนได้ และอีก 75% เห็นว่าการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไปส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพที่ควรได้รับการแก้ไข

สำหรับ โลกอนาคตของการใช้ชีวิตร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มขึ้นแล้ว ผู้คนกว่า 63% ทั่วโลกเชื่อว่าความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ล้ำสมัย เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในอีก 10 ปีข้างหน้า และกว่า 55% เต็มใจที่จะใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

ส่วนประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังคงเป็นหัวข้อที่อยากเรียกร้องให้ภาคธุรกิจต่างๆ หาแนวทางอย่างต่อเนื่อง โดย 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก ต้องการความโปร่งใสจากแบรนด์ธุรกิจต่างๆ ที่ให้คำมั่นสัญญาในเรื่องนี้ ควรให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง แทนที่จะเป็นเพียงจุดขายทางการตลาดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แค่การตอบรับของผู้คนทั่วไปไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เร็วมากพอ เพราะผู้คนทั่วโลกส่วนใหญ่ 73% ยินดีที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน แต่คนส่วนมากกลับเห็นว่า แนวคิดการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนจะไม่ถูกให้ความสำคัญในระยะเวลาอันใกล้ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 40% ยังรู้สึกว่าพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถกลายเป็นพลังงานหลักในเมืองของพวกเขาได้ภายในทศวรรษหน้า

ไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสร้างผลดีหรือผลเสีย แต่การเกิดขึ้นของโรคระบาดในครั้งนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตพื้นฐานของผู้คนอย่างถาวร ทั้งการปฏิสัมพันธ์ รวมถึงรูปแบบการทำงาน และแม้ว่ากระบวนทัศน์ใหม่นี้จะเป็นความท้าทาย แต่ถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับนวัตกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบ เพื่อสนับสนุนแนวทางที่แตกต่างออกไป ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรต่างๆ และผู้มีส่วนร่วม จะต้องเตรียมแผนดำเนินงานให้ทันท่วงที เพื่อปรับตัวและค้นหาวิธีใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว