หนี้ครัวเรือนปมใหญ่วัฏจักรศก.ขาลง

ในทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจหลายประเทศถูกขับเคลื่อนส่วนหนึ่งจากการก่อหนี้ สะท้อนจากตัวเลขหนี้ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ล่าสุดหนี้ในโลกสูงขึ้นถึงกว่า 270% ของจีดีพีทั้งโลก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะธนาคารกลางทั่วโลกยังสามารถคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ จากการที่เศรษฐกิจโลกไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ‘KKP Research’ วิเคราะห์ว่า เมื่อเงินเฟ้อกลับมา จนนโยบายการเงินต้องกลับมาตึงตัวอย่างรวดเร็วเช่นในปัจจุบัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับสูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยที่มีหนี้ในระดับสูงเช่นกัน

สำหรับประเทศไทย ‘KKP Research’ ระบุว่า กลุ่มที่มีความน่ากังวลมากที่สุดคือ หนี้ในภาคครัวเรือน ที่ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเกิน 90% ของจีดีพีและสูงเป็นลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งเกิดจากภาคครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยที่สุด 20% แรกที่มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเพียงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท และครัวเรือนจำเป็นต้องมีการกู้ยืมเงินเพื่อบริโภค ทำให้ไทยมีสัดส่วนหนี้เพื่อการบริโภคระยะสั้นเมื่อเทียบกับหนี้ครัวเรือนทั้งหมดมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่รายได้ต่อหัวของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศที่มีการก่อหนี้ในระดับใกล้เคียงกัน หมายความว่า ไทยเป็นประเทศรายได้ต่อหัวยังไม่สูง แต่ครัวเรือนกลับมีหนี้สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ทั้งนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยมีโอกาสส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงและหนักกว่าประเทศอื่น เนื่องจากไทยที่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดในโลกตามรายงานของ Credit Suisse ทำให้หนี้มีแนวโน้มกระจุกตัวอยู่ในครัวเรือนรายได้น้อย และเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้นครัวเรือนกลุ่มนี้ต้องลดการบริโภคลงเพื่อมาจ่ายหนี้แทน จนกลายเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้นครัวเรือนรายได้น้อยยังมีตะกร้าสินค้าในกลุ่มอาหารและพลังงานสูงกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อมากกว่า ส่งผลให้เงินออมลดลง ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ลดลง และจะทำให้ทิศทางหนี้เสียของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระยะข้างหน้า!!

 ‘KKP Research’ มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยมีความคล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่น เริ่มตั้งแต่หนี้ที่อยู่ในระดับสูงมาก นโยบายการเงินผ่อนคลาย แต่เศรษฐกิจไม่เติบโตเพราะถูกปัญหาหนี้กดดันในระยะยาว ส่วนที่ต่างกันคือญี่ปุ่นเป็นประเทศรายได้สูงแล้ว แต่ไทยยังเป็นประเทศรายได้ปานกลาง โดย ‘KKP Research’ ประเมินว่า ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้ชัดเจนขึ้นและกำลังจะเข้าสู่ ‘วัฏจักรเศรษฐกิจขาลง’ ที่ยาวนาน ผลกระทบจะเกิดจาก ภาระหนี้ที่จะปรับสูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย โดยสัดส่วนหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ดอกเบี้ยแบบผันแปร เช่น สินเชื่อสำหรับธุรกิจ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 34% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด

และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคเติบโตช้าลง จะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนในช่วงหลังจากนั้นประมาณ 3-5 ปี รวมถึงการกระตุ้นการบริโภคด้วยหนี้จะถึงทางตัน แม้ว่าการประเมินจุดสูงสุดของวัฏจักรหนี้จะทำได้ยาก แต่ไทยมีระดับหนี้ที่ใกล้เคียงกับจุดสูงสุดของหนี้ในอดีตของหลายประเทศ หากเป็นเช่นนั้นจริงการเติบโตของการบริโภคที่ถูกขับเคลื่อนด้วยหนี้ครัวเรือนจะไม่สามารถเติบโตได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ‘KKP Research’ ได้ประเมินว่าหากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะใช้คืนหนี้ (Deleverage) โดยเริ่มชำระหนี้คืนจนหนี้ต่อจีดีพีเริ่มปรับตัวลดลง จะทำให้แรงส่งต่อการบริโภคหายไปประมาณ 1.3% และเศรษฐกิจเติบโตได้ชะลอลงไปประมาณ 0.7% หรือทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ช้าและซึมยาว

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในภาวะที่หนี้ครัวเรือนสูงเป็นสัญญาณของวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งในอดีต อย่างไรก็ตาม ‘KKP Research’ ประเมินว่าโอกาสที่จะเกิดวิกฤตในระยะสั้นของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากไทยยังมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่แข็งแรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของไทยที่อาจทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ เงินบาทที่อ่อนค่า ผนวกกับหนี้สูงอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตได้, การเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินในระยะยาวของประเทศเศรษฐกิจหลัก ในกรณีที่ปัญหา Stagflation รุนแรงขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่อาจไม่กลับมาเติบโตได้ดีเหมือนเก่า.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท