เงินเฟ้อ-พลังงาน ความเสี่ยงสภาพคล่อง

แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ทุกประเทศต่างก็คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมา แต่แล้วก็เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด หรือสงครามระหว่างรัฐเซีย-ยูเครนที่กดการเติบโตไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอย และล่าสุดมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่มีความขัดแย้งและเริ่มทำสงครามเศรษฐกิจ ยิ่งส่งผลกระทบมายังวงการต่างๆ ของไทยในปีนี้ มีแนวโน้มสั่งสมปัญหาท้าทาย ทั้งเงินเฟ้อ การจ้างงานชะลอลง กำลังซื้อลด องค์กรอยู่รอดและเติบโตในภาวะวิกฤตได้อย่างไร

ซึ่งนายเคน เพ็ง นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 นักวิเคราะห์ซิตี้คาดการณ์ว่าทั่วโลกยังต้องเผชิญกับสภาวะสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังสูงในหลายประเทศ ปัญหาห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานที่ไม่สมดุล นโยบายและมาตรการด้านการเงินและธนาคารของแต่ละประเทศที่เข้มงวดขึ้น ปัญหาราคาพลังงานจากเหตุการณ์รัสเซีย-ยูเครน เป็นต้น

ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจอย่างสหรัฐนั้น แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังพบอุปสรรคจากทั้งปัญหาเงินเฟ้อยังคงพุ่งขึ้นต่อเนื่อง อัตราการว่างงานและการปรับขึ้นค่าจ้าง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ยกเว้นก๊าซธรรมชาติ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ ตลอดจนการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายเชิงรุกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทำให้นักวิเคราะห์ซิตี้มองว่ากว่าสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐจะกลับไปยังจุดเดิมก่อนเกิดสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน อาจใช้ระยะเวลาถึง 10 ปี

ในขณะที่ประเทศจีนแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ แม้ยังได้รับแรงกดดันจากนโยบายควบคุมโควิดเป็นศูนย์ หรือ Zero COVID Policy โดยพบว่าดัชนี PMI ภาคบริการมีการดีดตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการที่รัฐบาลจีนได้เตรียมออกนโยบายต่างๆ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดทุน โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจประเทศ

จากข้อมูลข้างต้นทำให้ภาพรวมตลาดการลงทุนยังคงเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง ดังนั้น การลงทุนครึ่งปีหลัง 2565 ควรลดการถือเงินสดด้วยการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ที่คาดการณ์ว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี ต่อด้วยการลงทุนในผู้นำอุตสาหกรรมระยะยาว เพื่อแสวงหาผลตอบแทนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีรายได้ดีอย่างสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มพลังงานสะอาด กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีดิจิทัลไลเซชัน ฟินเทค กลุ่มการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม ฯลฯ รวมถึงการลงทุนทางเลือกนอกเหนือจากสินทรัพย์หลัก เพื่อกระจายความเสี่ยงและรักษาผลประโยชน์พอร์ตลงทุนในระยะยาว ควบคู่ไปกับการจับตาประเด็นสำคัญของสถานการณ์โลกอย่างใกล้ชิด

สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยนั้น นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ระบุว่า คาดหวังถึงการมาถึงของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 และในปี 2566 จากปัจจัยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทยที่แสดงให้เห็นถึงแข็งแกร่งกว่าที่คาด เป็นผลจากการยกเลิกข้อจำกัดการเดินทาง รวมถึงการที่ประเทศเพื่อนบ้านกลับมาเปิดพรมแดนอีกครั้ง

 ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดแนวโน้มที่จะยังคงขาดดุลในปี 2565 เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงและการใช้จ่ายในภาคค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น แต่ในปี 2566 มองว่าการเกินดุลเริ่มทยอยสูงขึ้นจากรายได้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่กลับมา

 โดยซิตี้ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีไทยในปี 2565 ลดลงเล็กน้อยที่ 3.5% จากเดิม 3.6% และปี 2566 อยู่ที่ 4.5% จากเดิม 4.8% เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐและการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว และคาดว่า กนง.จะเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สามครั้ง โดยครั้งแรกคือในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 และอีกสองครั้งภายในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ก่อนหน้านี้เช่นเดิม.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา