ทำไมไม่ใช่ 'พิธา'

ยังหาทางลงกันไม่ได้

ระหว่าง ก้าวไกล กับ เพื่อไทย ใครจะได้เก้าอี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปครอบครอง

เห็นใจ ก้าวไกลครับ อะไรๆ ก็ดูยุ่งยากไปเสียหมด

ยิ่งพูดมาก ก็ยิ่งทำให้ตัวเองยุ่งยาก

มาเจอดีลลับดูไบเข้าไปอีก คงนอนไม่หลับกันเป็นแถว

เท่าที่ดูหลายวันมานี้ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" คาดหวังไว้มาก เก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่แค่เอื้อม ยังไงก็ต้องคว้ามาให้ได้

เห็นการเดินสายราวกับได้เป็นนายกฯ แล้วดู "พิธา" มีความสุขครับ

วันที่ ๑ มิถุนายนนี้ "พิธา" นัด           สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ประชุมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะนโยบายด้านการกระจายอำนาจ

หลักๆ ก็คือ การกระจายอำนาจปลดล็อกให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

น่าจะเป็นการพูดคุยที่ถูกคอครับ เพราะ "บุญชู จันทร์สุวรรณ" นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แห่งประเทศไทย มีแนวคิดไม่ต่างจากก้าวไกล

"บุญชู" เตรียมประเด็นหารือไว้แล้วครับ

มี ๒ เรื่องหลัก

๑.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า ๗ พันแห่ง ออกมาจากกระทรวงมหาดไทย             

๒.สนับสนุนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มาจากประชาชน

แบบนี้ มหาดไทยสะดุ้งสิครับ!

หากเข็นนโยบายนี้สำเร็จ มหาดไทยกลายเป็นกระทรวงเกรด "ซี" ไปในทันที

ไม่ได้คุม ผวจ.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า ๗ พันแห่ง หลุดมือ 

แล้วจะเหลืออะไร

งานหลักน่าจะรังวัดที่ดิน

ถือว่าสร้างแรงกระเพื่อมมากพอควร

ลองนับนิ้วดู หากประเทศไทยมีนายกฯ ชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ประเทศไทยจะเปลี่ยนโฉมหน้าจนแทบจะจำไม่ได้

แก้ ม.๑๑๒ สถาบันพระมหากษัตริย์แทบไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย

ปฏิรูปกองทัพ เลิกเกณฑ์ทหาร ในแง่ความพร้อมรบไม่รู้จะดีขึ้นหรือเลวลง

เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด บางจังหวัดเป็นเขตปกครองพิเศษ ขณะที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในหลายจังหวัด มีการคอร์รัปชันจนยากจะแก้ไข

ถ้าบอกว่าการเลือกตั้งสามารถแก้ปัญหาทุจริตได้ ก็ดู ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวอย่าง ว่าแก้ได้จริงหรือเปล่า

ปฏิรูประบบราชการ เป็นราชการไทยก้าวหน้า

ปฏิรูปตำรวจ ให้เป็นตำรวจของประชาชน

ทั้งหมดนี้อยู่ในแผนงาน เป็นกระดาษเย็บเข้ารูปเล่ม จัดทำไม่ยากเย็นอะไรครับ

คนเดียวก็ทำได้

แต่ลงมือทำจริงเกรงว่า ก้าวไกล จะทำอะไรไม่ได้สักอย่าง

การปฏิรูปเป็นเรื่องดีครับ แต่ก่อนที่จะปฏิรูปต้องเข้าใจปัญหาที่แท้จริงก่อน

ทำไมต้องเน้นย้ำเรื่อง "ความเข้าใจ"

ก็เพราะการแก้ด้วยความไม่เข้าใจมันจะเกิดปัญหาใหม่ซ้อนขึ้นมาอีก

ยกตัวอย่าง ความปรารถนาอยากได้ เก้าอี้ประธานสภาผู้แทนฯ ของพรรคก้าวไกล ก็เพื่อไปผลักดันร่างกฎหมายของพรรค

ไม่ใช่การเข้าใจผิดของก้าวไกลครับ

แต่เป็นความเข้าใจแบบก้าวไกล

เก้าอี้ประธานสภาไม่ใช่สมบัติของพรรคการเมือง

ประธานสภามีหน้าที่ที่ถูกระบุเอาไว้ชัดเจน          

เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา

กำหนดการประชุมรัฐสภา

ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา

รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา

เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก

แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ

อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ  หลังสภามีมติเลือก

เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ

ที่สำคัญคือทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง

ฉะนั้นประธานสภา ในความเข้าใจของก้าวไกลจึงเป็นประธานสภาที่เป็นอันตรายต่อระบบรัฐสภาอย่างยิ่ง

ครับ...ความเข้าใจการแก้ ม.๑๑๒ เลือกตั้ง ผวจ. ปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูประบบราชการ รวมไปถึงนโยบายปราบคอร์รัปชันของก้าวไกลนั้น จะเหมือนชาวบ้านชาวช่องหรือไม่ นั่นคือคำถาม

เพราะจะมีสิ่งที่ตามมาหลังนโยบายของก้าวไกลสำเร็จ

อาทิ หากแก้ ม.๑๑๒ สำเร็จแล้ว เป้าหมายต่อไปของก้าวไกลคืออะไร

เพราะมีข้อกังวลเรื่อง สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป

หรือกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด มีข้อกังวลเรื่องระบอบการปกครองที่อาจเปลี่ยนไปหรือไม่

ข้อกังวลนี้ ก้าวไกล จะอธิบายให้คลายข้องใจได้อย่างไร

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลพื้นฐานที่ ส.ว.จะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือก "พิธา" เป็นนายกฯ

"สมชาย เสียงหลาย" หนึ่งในสมาชิกวุฒิสภา มีทัศนะในทิศทางนี้

"...พรรคที่ชนะการเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียง ๑๔.๔ ล้านเสียง กับอีกประเด็นหนึ่งที่มีประเด็นล่อแหลม พรรคอื่นๆ อาจจะได้คะแนนรวมกัน ๒๗ ล้านเสียง ดังนั้นต้องนำ ๒ อย่างมาชั่ง..."

"...เป็นแค่ข้อเสนอของคุณพิธา ที่ identify ตัวเองว่าได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริง ซึ่งเหมือนกับเมื่อวานที่เอฟซีพรรคเพื่อไทย ยื่นข้อเสนอให้พรรคเพื่อไทยถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล ดังนั้นไม่รู้ข้อสรุปว่าข้อเท็จจริงจะออกมาในรูปแบบไหน..."

แนวคิดทางการเมือง วิธีคิดแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องสำคัญ

แต่ที่สำคัญกว่าคือ พฤติกรรมทางการเมือง

นับตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่ มาถึง ก้าวไกล บุคลากรของพรรคการเมืองนี้ส่วนใหญ่มีแนวคิดเช่นไร สังคมไทยรับรู้ดีอยู่แล้ว

ฉะนั้นในวันที่รัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ สมาชิกวุฒิสภาจะเลือกตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ

การโหวตเลือกนายกฯ จะต้องมีรอบที่ ๒ อย่างแน่นอน

เพราะรอบที่ ๑ ไม่ผ่าน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ

จะเอาจริงๆ เหรอ.... วานนี้ (๒๘ มีนาคม) นายกฯ เศรษฐา พูดถึงร่างพระราชบัญญัติสถานบันเทิงครบวงจร ฟังดูแล้ว กาสิโนน่าจะเกิดในรัฐบาลนี้

ไร้ภาวะผู้นำ

ศึกนายพลสีกากีดูเพลินๆ ไปครับ ขุดกันเยอะเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น

'ครอบงำ' หัวจรดเท้า

"พรรคของท่าน ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะไป" วานนี้ (๒๖ มีนาคม) นายหัวชวน หลีกภัย พูดถึง "นักโทษชายทักษิณ" ผู้ป่วยที่เดินแทบไม่ได้เมื่อเดือนที่แล้ว ไปเหยียบที่ทำการพรรคเพื่อไทย ด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ก็จริงนะ...

ผู้สานต่อสันดาน

คนเขาสงสัย... ระหว่างการคุมประพฤติ นักโทษ จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร?

ก้าวไกล ไม่รอด!

จะเกี่ยวกันมั้ย??? พรรคอนาคตไกล ร่อนหนังสือเชิญสื่อทุกแขนง ไปร่วมพิธีเปิดที่ทำการพรรค และพิธีบวงสรวง เจริญพระพุทธมนต์ ในวันที่ ๒๘ มีนาคม

หมากนี้จะกินรวบ

เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ เพราะว่าไปแล้วมันก็น่าประหลาดใจกับคำสั่งเรียก "บิ๊กต่อ-บิ๊กโจ๊ก" ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ของนายกรัฐมนตรี