สถานการณ์ใน “ภาคส่งออก” ของไทยยังถือว่าอยู่ในจุดที่ชะลอตัว โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์พบว่า การส่งออกไทยในเดือน พ.ค.2566 ยังติดลบที่ 4.6% ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และสินค้าเกษตรหดตัวสูงถึง 27% เช่น ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมก็ยังหดตัวที่ 0.6% เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังมองว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยบวกที่เข้ามาช่วยเสริม จากความพยายามในการเจาะตลาดใหม่ๆ และรักษาฐานตลาดเดิมเอาไว้ รวมถึงการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจช่วยลดแรงกดดันต่อการบริโภคและการลงทุน อีกประเด็นคือภัยแล้ง ที่อาจจะกลายเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตร โดยกระทรวงพาณิชย์ยังคงยืนยัน เป้าหมายการส่งออกของไทยในปีนี้จะยังเติบโตได้ที่ระดับ 1-2%
แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ ทั้งจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่ลุกลามทำให้เศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะตลาดในยุโรป และยังมีปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ที่อาจส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ในปีนี้อีกด้วย ขณะเดียวกันยังมีแรงกดดันเรื่องอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ตลอดจนภาคการผลิตสินค้า รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะนโยบายการพึ่งพาตนเองของจีน
สำหรับกรณีจีนนั้น ที่ผ่านมาถือเป็นตลาดหลักๆ ของไทย ทั้งการส่งออกและท่องเที่ยว จะเห็นได้จากทันทีที่จีนมีนโยบายเปิดประเทศ ภาคการท่องเที่ยวของไทยก็ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจน แต่ในส่วนของการส่งออกอาจจะต้องจับตาดูเป็นพิเศษ โดย KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรได้ออกมาประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปีนี้และในระยะต่อไปกำลังเผชิญความท้าทายอย่างมาก และการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะไม่ได้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งเหมือนทศวรรษที่ผ่านมา โดยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายเดือนในแต่ละด้านของจีนสะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของจีนยังซบเซา และกระจุกอยู่เฉพาะการบริโภคในภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าตัวเลขยอดค้าปลีกและตัวเลขการผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ทิศทางของการฟื้นตัวเริ่มมีทิศทางที่ชะลอลงต่อเนื่อง
ยิ่งไปกว่านั้น ดัชนีการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจจีน โดยมีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจกว่า 30% ของจีดีพีกำลังหดตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยตัวเลขการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ค.หดตัวกว่า 21% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่มีเพียงเครื่องชี้วัดภาคการบริการที่แนวโน้มขยายตัวสวนทางกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ของจีน
สำหรับ ผลกระทบที่เลี่ยงไม่ได้จากการเติบโตที่ชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยนั้นมีค่อนข้างมาก จากการที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพาจีนในสัดส่วนที่สูง โดยในระยะสั้นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของปีคือ ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งแม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนจะทยอยกลับเข้ามาแต่ยังฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงปี 2562 ค่อนข้างมาก KKP Research ยังประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนจะยังคงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่หากสถานการณ์ภายในเศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่อเนื่อง อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปีนี้จะต่ำกว่าที่ประเมินไว้ที่ 5 ล้านคน
ขณะที่่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในปีนี้เหลือ 0.5% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.2% จากแรงหนุนตลาดส่งออกจีนที่แผ่วกว่าคาด สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าไทยของจีนในเดือน พ.ค. กลับมาหดตัวแรงอีกครั้งที่ -11.2% หลังขยายตัวได้ครั้งแรกในรอบ 10 เดือนที่ 8.2% ในเดือน เม.ย. สอดคล้องกับภาพรวมการนำเข้าของจีนที่ส่วนใหญ่ยังหดตัว และภาพรวมการส่งออกของจีนที่หดตัวแรง -8% เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนตามอุปสงค์โลกที่ยังอ่อนแอ และอาจเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงสงครามภายในรัสเซียอาจนำไปสู่การเร่งตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และเงินเฟ้อโลกได้ เป็นต้น.
ครองขวัญ รอดหมวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research