โจทย์เศรษฐกิจของรัฐบาล 'เศรษฐา'

ตั้งแต่ประเทศไทยมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ก็ผ่านไปกว่า 3 เดือนเต็ม หรือราวๆ 1 ไตรมาส ที่ไทยไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย หรือจีดีพี เติบโตได้ลดลงเหลือเพียง 1.8% ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ถึง 2.6%

แน่นอนประเด็นสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยโตหดตัว ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่หดตัวค่อนข้างมากและต่อเนื่อง รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูง ส่งผลต่อกำลังซื้อของคนในประเทศ แต่อีกเรื่องที่มีผลมาก

นั่นก็คือ การขาดรัฐบาลที่จะมาบริหารประเทศ ซึ่งส่งผลให้ในช่วงดังกล่าว การเบิกจ่ายภาครัฐมีการปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันก็ยังเกี่ยวกับผลการจัดทำงบประมาณภาครัฐที่ค้างคา และอาจจะไม่ทันการณ์ในปีงบประมาณ 67 ที่จะถึงในเดือน ต.ค.นี้

แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมรัฐสภาที่เปิดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในที่สุด นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ก็สามารถเข้าวินแบบม้วนเดียวจบ ด้วยคะแนนเห็นชอบแบบลอยลำ 482 เสียง ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย คนที่ 30 และเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเศรษฐาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการแล้ว

จากนี้สิ่งที่ต้องจับตาคือ คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1 จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และใครจะเป็นคนดูแลกระทรวงทางเศรษฐกิจบ้าง ซึ่งทิศทางของ ครม.ชุดใหม่นี้ก็จะสะท้อนความเชื่อมั่นไปยังภาคเอกชน ถ้าได้ชื่อบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ก็เชื่อว่าจะมีการขานรับจากทุกภาคส่วน เพราะหากดูพื้นฐาน นายเศรษฐา ทวีสิน ก็เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในการบริหารงานมาพอสมควร

แต่อย่างไรก็ดี การบริหารงานบริษัทและการบริหารงานราชการ ที่จะต้องเป็นฝ่ายดูแลนโยบายค่อนข้างแตกต่างและมีข้อจำกัด แถมนายเศรษฐายังเป็นมือใหม่หัดขับสำหรับการบริหารงานภาคราชการ ดังนั้นคงต้องมีการปรับตัวกันซักพัก และต้องมีทีมที่ปรึกษาที่ร่วมทำงานอย่างเข้มแข็งทุกด้านต่อไป

แต่ในมุมมองของภาคเอกชนก็มีความเห็นและมีการบ้านมากมายฝากให้กับ ครม.ของนายเศรษฐา อย่างนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า หลังจากที่ได้นายกฯ คนใหม่แล้ว ภาคเอกชนรอดู 3 เรื่องหลังจากนี้ คือ 1.การเร่งจัดตั้งรัฐบาล 2.การลดความขัดแย้ง

และ 3.อยากให้เร่งทำงานโดยเร็ว เพราะขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้ามาก ทั้งภาคการส่งออกปีนี้ที่ลดลงมาก ภัยแล้งเริ่มรุนแรงขึ้น ต้นทุนผลิตอยู่ในระดับสูง ขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือความเห็นของนายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไทย (ส.อ.ท.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวก็น่าสนใจ โดยมีเนื้อหาใจความระบุว่า "จากนี้ไป เราคงจะได้เห็นการฟอร์มทีมคณะผู้บริหารรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งก็ได้แต่คาดหวังและภาวนาว่า เราจะได้ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่เป็นดรีมทีม** เอาคนดี ที่มีความสด ใหม่ มีความสามารถ มองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อเดินหน้าทำตามนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาล

ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน รวมทั้งความเหลื่อมล้ำของประเทศ ในรอบนี้เป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสจริงๆ!! เราประชาชนคนไทย ทุกภาคส่วนควรจะต้องร่วมมือกันในการฝ่าฟัน ร่วมก้าวข้ามผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยการทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ด้วยความซื่อสัตย์

และคนสุดท้ายนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ก็มีการฝากการบ้านรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะความคาดหวังจะเห็นทีม ครม.ที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมยังเสนอประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งดำเนินการ คือ 1.แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดค่าครองชีพ และลดต้นทุนภาคเอกชนทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ 2.เร่งส่งเสริมความโดดเด่นภาคการท่องเที่ยว 3.เร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังค้างท่ออยู่ จัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 67 เร่งสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ จากต่างชาติ

นี่คือมุมมองบางส่วนของภาคเอกชนที่เห็นคล้ายๆ กัน ต้องการคนเก่ง คนดี และตั้งใจทำงานเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท