ความท้าทายของเป้าหมายนทท.ปี67

สรุปออกมาแล้ว สำหรับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ในปี 2566 โดยจากข้อมูลของกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬาที่มีการสรุปออกมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่รวบรวมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาไทยสูงถึง 28,042,131 คน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1.2 ล้านล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย (4,563,020 คน) จีน (3,519,735 คน) เกาหลีใต้ (1,658,688 คน) อินเดีย (1,626,720 คน) และรัสเซีย (1,481,878 คน)

เห็นได้ชัดว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในประมาณการที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้วางแผนเอาไว้ว่า จะอยู่ที่ราว 25-30 ล้านคน ตัวเลขก็ออกมากลางๆ ที่พอจะรับได้

แต่เมื่อมามองดูเป้าหมายรายได้ก่อนหน้านี้ ทาง ททท.มองว่าน่าจะสร้างรายได้เข้าประเทศราวๆ 1.6 ล้านล้านบาท แต่สุดท้ายทำได้ 1.2 ล้านล้าน พลาดเป้าไป 400,000 ล้านบาท ซึ่งก็เข้าใจได้ เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขการท่องเที่ยวที่วางไว้พลาดเป้า โดยเฉพาะตลาดจีน ที่เรียกว่าไม่คึกคักอย่างที่คาดไว้ ซึ่งหลักๆ มาจากเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ดี และเที่ยวบินยังไม่กลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้ตัวเลขออกมาพลาดเป้าค่อนข้างมากทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขหลายอย่างออกมาไม่เข้าเป้า แต่ในเรื่องของการท่องเที่ยวของเรา ก็มีเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นเช่นกันในปีนี้ โดยเว็บไซต์ทราเวลเนส (Travelness) เปิดเผยรายชื่อเมืองที่มีนักเดินทางต่างชาติเดินทางเยือนมากที่สุดในโลกในปี 2566 โดยอ้างอิงตามดัชนี Global Destination Cities Index จากการศึกษาของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) 

ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติเดินทางเยือนมากที่สุดในโลกในปี 2566 โดยมียอดนักเดินทางต่างชาติมาเยือน 22.78 ล้านราย โดยค้างคืนเฉลี่ย 4.7 คืน และใช้จ่ายเฉลี่ย 173 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน เอาชนะทั้งกรุงปารีสและลอนดอน

นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว ภูเก็ตและพัทยายังติด 20 อันดับแรกของเมืองที่มีนักเดินทางต่างชาติเดินทางมาเยือนมากที่สุดในโลก โดยภูเก็ตติดอันดับ 14 ซึ่งมีนักเดินทางต่างชาติมาเยือน 9.89 ราย ส่วนพัทยาติดอันดับ 15 ซึ่งมีนักเดินทางต่างชาติมาเยือน 9.44 ราย

เรียกว่าตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังอยู่ในสายตานักท่องเที่ยวเสมอ และเชื่อว่าจะต้องดีขึ้นกว่านี้อย่างแน่นอน

ดังนั้นเริ่มต้นปีใหม่นี้ ต้องดูว่าการทำงานของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ ททท.จะทำได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งเป้าหมายของรัฐบาลในปีนี้มองถึงการสร้างรายได้รวมการท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากตลาดต่างประเทศ 2.5 ล้านล้านบาท และรายได้จากตลาดในประเทศ 1 ล้านล้านบาท

ส่วนเป้าของ ททท.ตอนแรกตั้งไว้ที่ 3 ล้านล้านบาท ฟื้นตัว 100% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาด โดยแบ่งเป็นรายได้จากตลาดต่างประเทศ 1.92 ล้านล้านบาท จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 35 ล้านคน และรายได้จากตลาดในประเทศ 1.08 ล้านล้านบาท จากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 200 ล้านคน-ครั้ง

จะเห็นว่าเป้าหมายของรัฐบาลนั้นค่อนข้างสูง ดังนั้นจะต้องดูกันต่อไปยาวๆ ว่า ปีนี้ไทยเราจะสามารถดึงดูดและโกยเม็ดเงินทางด้านการท่องเที่ยวเข้าเป้าหรือไม่

ซึ่งเชื่อว่า หากจะทำสำเร็จ ทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงาน จะต้องช่วยกันอย่างหนักทีเดียว เพื่อเป้าหมายดังกล่าว.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท