เศรษฐกิจไทยวิกฤตซ้ำรอยต้มยำกุ้ง?

ใครที่ได้ติดตามสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน หลายคนยังคงสับสนว่า แท้จริงแล้วเศรษฐกิจไทยในปีนี้มันวิกฤตหรือไม่วิกฤตกันแน่ เพราะจากข้อมูลหลายสถาบันออกมาไม่ตรงกัน โดยหากเป็นหน่วยงานจากภาครัฐจะพบว่าตัวเลขที่ออกมาจะต่ำจนน่าตกใจ ส่วนหากเป็นหน่วยงานอิสระ และสถาบันภาคเอกชน ตัวเลขนั้นดีกว่าอีกระดับหนึ่ง

เรียกว่าสร้างความสับสนให้กับผู้คนในสังคมอย่างมาก

ทั้งนี้ในประเด็นดังกล่าว นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยขณะนี้วิกฤตหรือไม่ มองว่าอาจวิกฤตบางส่วน เช่น ภาคการเกษตรจะมีปัญหาจากผลกระทบภัยแล้ง หนี้ครัวเรือนที่มีกลุ่มเปราะบางได้รับความเดือดร้อน ทำให้กำลังซื้อแผ่วลงไป รวมถึงภาคการผลิตยังดูไม่ดีนัก

อย่างไรก็ตาม ภาคส่วนอื่นยังเติบโต โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภายในประเทศสำหรับกำลังซื้อระดับกลางขึ้นบนขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้นเศรษฐกิจไทยขณะนี้จึงเป็นการขยายตัวไม่ทั่วถึง และยังมีปัญหา

ทั้งนี้คาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2567 จะขยายตัว 3.1% หรืออาจลดลงที่ 3% หากไม่รวมมาตรการกระเป๋าเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท แต่หากรวมมาตรการดังกล่าวจีดีพีจะขยายตัวเพิ่ม 0.5% ขณะที่ปี 2566 จีดีพีจะขยายตัว 2% ปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.4%

 “เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังเป็นมังกร งง เพราะปัจจัยลบส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างในระยะยาว ถ้าขณะนี้ถามว่าเศรษฐกิจวิกฤตหรือไม่วิกฤต ตอบสั้นๆ แบบฟันธงคือวิกฤตเป็นบางส่วน และมีบางส่วนที่ยังไปได้“ นายอมรเทพกล่าว

ขณะที่ นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า เดือน ม.ค.2567 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือน ม.ค.2567 เท่ากับ 106.98 หดตัว 1.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.พ.2564

ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ตามหลักทางเทคนิค ไทยนั้นเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงพาณิชย์ก็ยังไม่ระบุว่านี่คือภาวะเงินฝืด เพราะสาเหตุที่เงินเฟ้อติดลบเนื่องจากมีมาตรการรัฐเข้าไปแทรงแซงราคา

อย่างไรเรื่องนี้ในมุมของรัฐบาลยอมรับว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่สู้ดี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เวลานี้เรายังอยู่ในช่วงวิกฤตอยู่ ยังไม่ขึ้นมาจากศูนย์เลย เพราะฉะนั้นสถานการณ์ก็เป็นอย่างนี้ เผยให้เห็นว่ายังมีวิกฤตหลายเรื่อง ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ วิกฤตทางการเงิน เพราะเคยส่งผลกระทบกระเทือนมาแล้ว อย่างในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 พอเรารู้เข้าก็พังทลายทั้งระบบ และเท่าที่ดูนักการเงินก็เป็นห่วงเรื่องนี้ และดูได้จากปัญหาหุ้นกู้

 “ยืนยันว่า หากปล่อยให้เรื่องนี้จนเกิดวิกฤตขึ้นอย่างในช่วงต้มยำกุ้งจะส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อประเทศ ผมอยากให้ทุกคนที่อยากจะต่อต้านการกระทำของรัฐบาล ให้คำนึงถึงจุดนี้ด้วย นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่าถ้าไม่ทำอะไรตอนนี้เลย โอกาสที่จะเกิดต้มยำกุ้งจะตามมา” นายภูมิธรรมกล่าว

นีคือ เสียงจากภาครัฐที่พยายามจะบอกว่า เศรษฐกิจไทยน่าห่วง และกำลังวิกฤต และต้องผลักดัน นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

จะวิกฤต หรือไม่วิกฤตไม่รู้ แต่รัฐบาลย้ำชัดว่า ไทยเจอวิกฤตแน่.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท