รัฐร่วมเอกชนชูโมเดลซีไอวี พัฒนาความสำเร็จท่ามกลางวิกฤต

4 เม.ย. 2565 – จากสถานการณ์ไม่สู้ดีของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เดิมก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มาแล้วนานกว่า 2 ปี และทุกวันนี้ยังได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนซ้ำเติมเข้าไปอีก แน่นอนว่าในประเทศไทย กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ชาวบ้าน และเกษตรกร ที่แม้จะเร่งปรับตัวแล้วแต่ก็ยังไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะพยุงธุรกิจไว้ได้นาน ขณะที่การใช้ศักยภาพของพื้นที่หรือฝีมือที่เคยทำก็อาจจะไม่สะดวกเช่นเคย

ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่เปราะบางอย่างมากท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว แต่ใช่ว่า “อาทิตย์เอกเขนก” ฉบับนี้จะพาไปดูความแร้นแค้นหรือหดหู่ใดๆ เพราะท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ก็มักจะมีโอกาสที่สวยงามอยู่เสมอ ซึ่งเราจะพาไปดูโอกาสนั้นพร้อมๆ กับกระทรวงอุตสาหกรรม ที่นำโดย วรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ถือว่าเป็นแม่งานในการหยิบยกศักยภาพของพื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซีไอวี ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม มาพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนให้ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด

โดยที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เพื่อพัฒนาโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน” ร่วมกันยกระดับขีดความสามารถหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ซีไอวี) ที่ได้เริ่มฝึกทักษะ 20 หมู่บ้านในเดือน ก.พ.-มี.ค.ที่ผ่านมา และตั้งเป้าขยายพื้นที่นำร่องครอบคลุม 152 หมู่บ้านที่มีศักยภาพ สร้างรายได้ 250 ล้านบาท จากทั้งหมดที่มี 250 หมู่บ้าน ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว สร้างและพัฒนาไกด์ชุมชน สร้างและพัฒนานักขายชุมชน

วรวรรณ เล่าว่า ปัจจุบันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจการค้า การผลิต อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับรายได้ของหมู่บ้านที่ลดลงมากกว่า 70% และหากถูกกระทบอีกระลอกจะเป็นความเสี่ยงต่อเนื่อง ภาครัฐจึงควรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเพื่อที่จะสร้างรายได้ที่มีเสถียรภาพและกระจายรายได้อย่างสมดุล สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

และการแพร่ระบาดครั้งใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ท่องเที่ยวในกลุ่มกระแสหลักเท่านั้น แต่ยังสะเทือนถึงรายได้ท่องเที่ยวในกลุ่มชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ เนื่องจากนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าพื้นที่ลดลง กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงผลกระทบของการระบาดที่มีต่อผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงได้ทำการคัดเลือกหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ซีไอวี) ที่มีศักยภาพ จำนวน 152 หมู่บ้าน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภคสำหรับเศรษฐกิจระดับชุมชน

โดยการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ในพื้นที่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการตลาดรองรับการท่องเที่ยวระดับชุมชน งานฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และการเข้าสู่ยุคเน็กซ์นอร์มอล (Next Normal) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดดังกล่าว โดยร่วมมือกับดีแทคในโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน” ที่มุ่งเสริมความรู้การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

ด้าน ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคเห็นในศักยภาพที่โดดเด่นของภูมิปัญญาชุมชนที่ตกผลึกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยหมู่บ้านซีไอวีมีอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เมื่อนำภูมิปัญญาของชุมชนผสานกับดิจิทัลจะติดปีกให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน และที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการดีแทค เน็ตทำกิน มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 40-50% และเพื่อสร้างโอกาสหาเลี้ยงชีพใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทีมดีแทค เน็ตทำกิน จะเริ่มฝึกทักษะให้กับ 20 หมู่บ้านนำร่อง จาก 152 หมู่บ้าน ในเดือน ก.พ.และ มี.ค.นี้ พร้อมขยายผลลงพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้ง 152 หมู่บ้านภายใน 1-2 ปีนับจากนี้ โดยร่วมสนับสนุนใน 3 ด้าน คือ 1.ทีมดีแทค เน็ตทำกิน ติดอาวุธทักษะทางดิจิทัลให้กับชุมชนหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยทีมงานผู้สอนจะลงพื้นที่สอนและเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการ ให้เข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจ

2.สัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุมทุกหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ดีแทคติดตั้งคลื่น 700 MHz แล้วมากกว่า 12,700 สถานีฐาน ขยายสัญญาณครบ 77 จังหวัด ครอบคลุมแล้ว 923 อำเภอทั่วไทย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ 3. #ดีทั่วดีถึง รีวอร์ด ครั้งแรกเชื่อมต่อผู้ประกอบการซีไอวีกับ dtac reward สู่ฐานผู้ใช้งานดีแทคกว่า 20 ล้านราย เพิ่มช่องทางออนไลน์ในการทำตลาดให้กับชุมชน

นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ 21-22 มี.ค.ที่ผ่านมา วรวรรณก็ยังได้ลงพื้นที่หมู่บ้านซีไอวีภาคเหนือ โดยจะนำร่องที่บ้านออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงบ้านแป้นใต้ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน โดยจุดเด่นของชุมชนจึงเห็นว่า ความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและดีแทคได้ช่วยเสริมศักยภาพการทำการตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำตลาดออนไลน์ในยุคดิจิทัล การทำคอนเทนต์เพื่อเล่าเรื่องของชุมชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เกิดขึ้นแล้ว ยังจะเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพิ่มรายได้มากขึ้นจากเดิมอีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ช็อก! อธิบดีกรมโรงงาน ยื่นหนังสือลาออกฟ้าแลบ ก่อนเกษียณอายุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม ที่มีนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นประธาน ซึ่งมีระเบียบวาระพิจารณากรณีการขนกากแร่อุตสาหกรรม บริษัท ผาแดง อินดัสทรี จำกัด(มหาชน)

กมธ.ที่ดิน บี้รัฐชี้แจงปมขนย้ายกากแคดเมียม ไฟไหม้โรงงานสารเคมีระยอง

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกมธ. , นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคก้าวไกล

สะสางปัญหา กากแคดเมียม เดิมพันการเมืองครั้งสำคัญ พิมพ์ภัทรา-รมว.อุตสาหกรรม

ปัญหาการพบกากแร่อันตรายแคดเมียม ที่มีการขนย้ายมาจากจังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันมีการยึดอายัดได้ประมาณ 12,500 ตัน หลังพบที่สมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ

'พิมพ์ภัทรา' ดึงดีเอสไอ-ปปง. ร่วมสอบปมกากแคดเมียม ชี้หากมีแต่คนใน ก.อุตฯ สังคมจะคาใจ

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการลักลอบขนย้ายกากสารแคดเมียมที่ผิดกฎหมาย ว่า คำสั่งการการประชุมครม. ที่ผ่านมา เป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง 6 กระทรวง