สธ. เผยผู้ติดเชื้อลดลง คาดปรับโควิดสู่โรคประจำถิ่น 1 ก.ค.

"สธ." เผยผู้ติดเชื้อลดลง ยังไม่ถึงหลักแสน แต่ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้น วอนเข้ารับเข็มกระตุ้น ชี้ถ้าสถานการณ์ยังคงเดิม คาดปรับโรคประจำถิ่น 1 ก.ค.

18 เม.ย.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ว่าขณะนี้ทั่วโลกผู้ติดเชื้อลดลง เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งสถานการณ์ติดเชื้อลดลง แต่จำนวนผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผู้ป่วยปอดอักเสบ 2,123 คน เพิ่ม 44 คน โคม่าต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 939 คน เพิ่มขึ้น 28 คน แต่หากเปรียบเทียบกับระลอกเดลต้า (อินเดีย) เราเคยมีผู้ป่วยต้องใส่ท่อช่วยหายใจมากถึง 1,400 คน ปอดอักเสบมากถึง 5,000 คน สถานการณ์ยังน้อยกว่าระลอกเดลต้า

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยอาการหนักยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงก่อนสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามหลังเทศกาลสงกรานต์ 2-4 สัปดาห์ ว่าการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มต่างๆ จะทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมถึงติดตามรายงานการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งเริ่มมีรายงานแต่ยังพบคลัสเตอร์ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อในครอบครัว ติดเชื้อจากที่ทำงาน ดังนั้นจากฉากทัศน์ที่ระบุว่า วันที่ 19 เม.ย.65 อาจมีติดเชื้อสูงสุดถึงหลักแสนคน แต่จนถึงขณะนี้ PCR+ATK ยังไม่ถึงหลักแสน ที่สำคัญก่อนสงกรานต์ผู้ติดเชื้อก็เริ่มลดลง อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงเตือนภัยระดับ 4 ทุกจังหวัด

สำหรับผู้เสียชีวิต 124 คน พบว่ามีอาการปอดอักเสบรุนแรง 119 คน โดยพบว่าผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวเรื้อรัง 117 คน ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ 80 คน ยาเรมเดซิเวียร์ 26 คน เมื่อตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีน พบว่า ไม่ได้ฉีดวัคซีน 68 คน ฉีดไม่ครบ 8 คน ฉีด 2 เข็ม นานเกิน 3 เดือน 33 คน ฉีด 2 เข็ม ไม่เกิน 3 เดือน 7 คน และฉีดวัคซีน 3 เข็ม 8 คน ดังนั้นกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีนหรือฉีดไม่ครบ จึงมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง เนื่องจากวัคซีนเข็ม 3 ลดการเสียชีวิตได้ 31 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์ที่ 15 ของปีนี้ เสียชีวิตแล้ว 501 คน ส่วนเด็กวัยเรียน 5-11 ขวบ ฉีดวัคซีนไปแล้วครึ่งหนึ่ง ขอให้ทุกกลุ่มวัยเข้ารับวัคซีน รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น แม้ว่าการติดเชื้ออาจมีอาการน้อย แต่อาจเกิดภาวะลองโควิดได้

นพ.จักรรัฐ กล่าวถึงหลังสงกรานต์ 2-4 สัปดาห์ จึงขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการหลักก่อนเข้าทำงาน ได้แก่ สังเกตอาการตนเอง 5-7 วัน หากสงสัยให้ตรวจ ATK หลีกเสี่ยงพบปะคนจำนวนมาก ไม่กินข้าวร่วมกัน หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และ WFH ตามความเหมาะสม

นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า ส่วนการเข้าสู่โรคประจำถิ่นเกณฑ์สำคัญคืออัตราการครองเตียง ระบบสาธารณสุขรองรับได้อย่างไร สำหรับโอมิครอนผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการค่อนข้างน้อย ถ้าไม่มีสายพันธุ์ใหม่เข้ามา คนวัยทำงาน หรือคนวัยเรียน ติดเชื้ออาการไม่มาก จำนวนผู้ติดเชื้อจึงมีผลน้อยต่อการปรับเป็นโรคประจำถิ่น ถ้าเป็นไปตามการคาดการณ์ เราจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้ตามที่คาดหมายเดิม คือวันที่ 1 ก.ค.65

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลห่วงยอดโควิดพุ่ง แต่ขอให้มั่นใจโรงพยาบาลพร้อมรับมือ!

'เกณิกา' เผยรัฐบาลห่วงใยยอดโควิดยังพุ่งหลังสงกรานต์ ขอให้ประชาชนมั่นใจโรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมรับมือผู้ป่วยโควิด แนะใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่แออัด รีบตรวจ ATK หากมีอาการคล้ายหวัด

เร่งทำงานหนัก 'ชลน่าน' ลงพื้นที่ปัตตานีพาหมอไปหาประชาชนฯ

หมอชลน่านลงปัตตานีเปิดโครงการพาหมอไปหาประชาชนฯ จัดคลินิกคัดกรองความผิดปกติบนใบหน้าและมือเด็ก ช่วยเข้าถึงการผ่าตัดแก้ไขปัญหา

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย