'นพ.ธีระ' เผยยอดสังเวยโควิดไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก!

หมอธีระเผยยอดติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 518 ล้านคนไปแล้ว ยอดเสียชีวิตไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก แนะเด็กรีบไปรับเข็มกระตุ้นก่อนเปิดเทอม

11 พ.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันว่า ทะลุ 518 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 582,596 คน ตายเพิ่ม 1,645 คน รวมแล้วติดไปรวม 518,307,958 คน เสียชีวิตรวม 6,279,862 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 72.73 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 61.27 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 27.73 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 13.37

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม
ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 24.09% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

...เปรียบเทียบแนวโน้มการเสียชีวิตของทั่วโลก หากดูจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคนของประเทศไทย
จะพบว่าแม้จะปรับการรายงานเฉพาะ Death from COVID-19 มาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ไทยยังมีอัตราส่วนของจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้

หากลองเปรียบเทียบกลุ่มประเทศจำแนกระดับรายได้ จะพบว่าไทยยังมีจำนวนเสียชีวิตต่อประชากรล้านคนพอๆกับกลุ่มประเทศรายได้สูง แต่มากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ทั้งที่เราอยู่ในกลุ่มประเทศนี้ สำหรับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน ก็มีลักษณะเดียวกัน

...สถานะการฉีดวัคซีนในคนไทย จนถึง 10 พฤษภาคม 2565 มีคนไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นไปแล้ว 38.4%
ในขณะที่เด็กๆ อายุ 5-11 ปี ได้วัคซีนเข็มแรกไป 54.5% และได้ครบสองเข็มไป 17.7% จะเห็นว่าสัดส่วนของประชากรที่ได้เข็มกระตุ้น และเด็กๆ ยังได้วัคซีนกันน้อย

การเปิดเรียนในสัปดาห์หน้า คุณครู และผู้ปกครอง จึงควรช่วยกันเน้นมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้ดี ใส่หน้ากากเสมอ เปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ลดจำนวนหรือจำกัดระยะเวลากิจกรรมรวมกลุ่มเท่าที่จำเป็น และหมั่นตรวจหรือสอบถามอาการไม่สบายของบุคลากรและเด็กๆ โควิด ไม่จบที่หาย แต่ป่วยได้ ตายได้ และมีโอกาสเป็น Long COVID ระยะยาว ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ มหาวิทยาลัยหนึ่งเดียวและตัวแทนของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมฉลอง Pride Month อย่างยิ่งใหญ่ในงาน Bangkok Pride 2025

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมเดินหน้าสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมและเปิดกว้างทางความคิด ด้วยการเข้าร่วมงาน Bangkok Pride 2025 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ธีม “Born to be Together” นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียว ที่ได้รับเกียรติให้เป็น 1 ใน 6 ขบวนหลักของ Pride Parade ปีนี้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ สนามเทพหัสดิน

น่าห่วง! โควิด-19 พุ่ง ยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ทำลายสถิติรายสัปดาห์ของปีนี้อีกครั้ง

ตัวเลขโควิด-19 สัปดาห์ที่ 22 (25-31 พ.ค. 2568) อัปเดต 05.20 น.จาก delayed report ตอนนี้เพิ่มจาก 65,846 ราย ตาย 3 ราย ไปเป็น 73,065 ราย ตาย 6 ราย

"วราวุธ" ห่วงใย พี่น้องกลุ่มเปราะบาง กำชับ พม.ทุกจังหวัด เข้ม มาตรการป้องกัน โควิด-19

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝน มีแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่

น่าห่วง! อาจารย์หมอจุฬาฯ ระบุโควิด-19 สัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่าไข้หวัดใหญ่ 10 เท่า

แม้ตัวเลขขณะนี้ เคสสัปดาห์ที่ 21 (18-24 พ.ค.) จะอยู่ที่ 53,597 ราย ตาย 5 ราย แต่ติดตามต่อไป delayed report อาจทำให้สูงขึ้นกว่านี้ได้อีกมาก

อัปเดต’โควิด’ ช่วง 11-17 พ.ค. ติดเชื้อ 31,688 รายเสียชีวิต 2 ราย วัยทำงาน-มหาลัย นำโด่ง

หากสังเกตจากอีกฐานข้อมูล ที่จำนวนผู้ป่วยสงสัยรายใหม่ประจำสัปดาห์ที่ 20 จะพบว่าตัวเลขสูงถึง 36,258 ราย ซึ่งสูงกว่าจำนวนในรายงานสรุปซึ่งน่าจะเป็น confirmed cases