'หมอธีระ' อัพเดตการระบาดสายพันธุ์ BA.4 - BA.5

30 พ.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 314,655 คน ตายเพิ่ม 442 คน รวมแล้วติดไป 531,543,390 คน เสียชีวิตรวม 6,310,708 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.69 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.1

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 69.55 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 55.2

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อเมื่อวาน รวม ATK ของไทย สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปก็ตาม

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 9.83% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

…อัพเดตสายพันธุ์ BA.2.12.1 BA.4 และ BA.5 ในอเมริกา

วันก่อน Bedford T, FHCRC ประเทศสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มีโอกาสที่จะทำให้ระบาดปะทุขึ้นมาได้จากสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน (breakthrough infection) และการทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำแม้เคยติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้ามาก่อน (reinfection)

…ผลกระทบระยะยาวต่อสังคม

การระบาดที่กระจายไปทั่วและไม่สามารถจัดการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมานั้น จะส่งผลระยะยาวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การติดเชื้อไปอย่างต่อเนื่อง โดยวัคซีนนั้นจะช่วยป้องกันการป่วยหนักและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ แต่ไม่ได้การันตีผล 100% มากน้อยขึ้นอยุ๋กับชนิดของวัคซีนที่ได้รับ

นอกจากนี้ Long COVID หรือภาวะผิดปกติระยะยาวก็มีโอกาสเกิดขึ้น โดยยังไม่มีวิธีรักษาและวิธีป้องกันอย่างจำเพาะเจาะจง ยกเว้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ

หากติดตามความเป็นไปตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา เปรียบเหมือน interplay ระหว่างสถานการณ์ระบาด ความรู้ นโยบาย และการเมือง ซึ่งสุดท้ายแล้วการตัดสินใจเดินเส้นทางต่างๆ นั้น บางเส้นทางก็จะเป็นทางที่มีแต่ทางไป ไม่มีทางหวนกลับ

การเตรียมรับมือผลกระทบระยะยาวต่อสังคมเป็นเรื่องสำคัญของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อให้สามารถประคับประคองให้อยู่รอดปลอดภัย ผ่านพ้นวิกฤติไปตามสมควร

ณ จุดปัจจุบัน หลายประเทศตกอยู่ในลักษณะ A train with no return จึงจำเป็นต้องมองในลักษณะแพ็คเกจนโยบาย Save who can be saved เพื่อปกป้อง ป้องกันคนจำนวนมากที่ยังรอดปลอดภัยจากความเสี่ยงที่มีในสังคม และนโยบายช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คนจำนวนไม่น้อยที่มีโอกาสเกิดผลกระทบในระยะยาว

ไม่ใช่แค่เรื่องโรคระบาดโควิด-19 เท่านั้น เรื่องปลคล็อกกัญชาก็เช่นกันที่มีบทเรียนต่างประเทศชี้ให้เห็น negative externalities ในระยะยาว ทั้งเรื่องอุบัติเหตุจราจร รวมถึงปัญหาด้านสังคมอื่นๆ

…สำหรับไทยเรา ย้ำอีกครั้งว่า การใส่หน้ากากเสมอเวลาออกไปใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้านเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย