กองทัพเรือ จัดบวงสรวงเรือพระราชพิธี ก่อนฝึกซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ทร.บวงสรวงพระภูมิเจ้าที่-เซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ก่อนอัญเชิญลงน้ำทำการฝึก เตรียมงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

29 เม.ย.2567 - พลเรือโท วิจิตร ตันประภา รองเสนาธิการทหารเรือ และประธานคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี (ประธาน คตร.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ จำนวน 43 ลำ ซึ่งประกอบด้วย เรือแตงโม เรืออีเหลือง เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือเสือทยานชล เรือเสือคำรณสินธุ์ เรือดั้ง จำนวน 22 ลำ เรือแซง จำนวน 7 ลำ เรือตำรวจ จำนวน 3 ลำ และเรือฝึกจำนวน 5 ลำ ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ

ทั้งนี้พิธีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และเซ่นไหว้แม่ย่านางเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติก่อนอัญเชิญเรือพระราชพิธีลงน้ำ และเพื่อเป็นความสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลฝีพายก่อนการเตรียมการฝึกกำลังพลฝีพายในหน่วย ในเรือ และในน้ำ ซึ่งเป็นการเตรียมการในส่วนของฝ่ายกำลังพลพระราชพิธีภายหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกฝีพายบนเขียง ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 18 มีนาคม - 16 พฤษภาคม 2567 รวม 40 วันงาน

สำหรับการฝึกกำลังพลฝีพายเรือพระราชพิธี ในหน่วย ในเรือ ในน้ำ ดำเนินการ ฝึก ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ถึง 30 กรกฎาคม 67 (40 วันงาน) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง
- ช่วงแรก 25 วันงาน ฝึกความคุ้นเคยในหน่วย ของหน่วยรับเรือในแต่ละพื้นที่ ระหว่าง 28 พฤษภาคม ถึง 2 กรกฎาคม 67
- ช่วงที่สอง 15 วันงาน ฝึกการจัดรูปขบวนย่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพื้นที่หน้าวัดราชาธิวาสวิหาร ระหว่าง 8 ถึง 30 กรกฎาคม 67

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ใช้เรือ พระราชพิธี จำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวมทั้งสิ้น 2,200 นาย

สำหรับการฝึกซ้อมฝีพายจะแบ่งระยะการฝึกซ้อมออกเป็นดังนี้

1.การฝึกครูฝึกฝีพาย ระหว่าง 12 กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2567 รวม 20 วันงาน
2.การฝึกฝีพายบนเขียง ระหว่าง 18 มีนาคม
- 16 พฤษภาคม 2567 รวม 40 วันงาน โดยจะทำการแยกฝึกตามหน่วยต่างๆทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่สัตหีบ
3.การฝึกฝีพายในหน่วยในเรือในน้ำ ระหว่าง 28 พฤษภาคม - 30 กรกฎาคม 2567 รวม 40 วันงาน

ทั้งนี้ งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทร.แจงปมเสี่ยงเสียดินแดนทางทะเล หลังกัมพูชาสร้างเขื่อนกันคลื่น

พลเรือตรี วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ภารกิจหน้าที่ของกองทัพเรือ ที่สำคัญคือ การรักษาสิทธิและอธิปไตยตามแนวเขตแดน ตาม

ทร.ออกกฎอาณัติสัญญาณเตือน 'เรือ-อากาศยาน' ต้องสงสัย กำหนดขั้นตอนการใช้อาวุธบังคับ

ทร.ออกกฎอาณัติสัญญาณเตือน 'เรือ-อากาศยาน' ต้องสงสัย กำหนดขั้นตอนการใช้อาวุธบังคับ แต่ต้องไม่ให้เกิดความเสียหาย

พบแล้ว ร่างลูกเรือประมงพลัดตกน้ำใกล้เกาะมุก ไต๋เรือนำศพกลับขึ้นฝั่งที่ภูเก็ต

น.อ.พิเชษฐ์ ซองตัน ผอ.กองสารนิเทศ และโฆษก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค3) เปิดเผยว่า วันนี้ เวลา 09.43 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภูเก็ตได้รับแจ้งจาก เรือ พิชัยสมุทร 9 ประเภท อวนลากคู่

เกาะหูยง อุทยานฯสิมิลัน แหล่งอนุรักษ์เต่าทะเล เผยสถิติเต่าวางไข่กว่า 1 หมื่นฟองต่อปี

กองทัพเรือ ได้จัดทำโครงการ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน โดยมอบให้ ทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เมื่อปี 2538 ซึ่งกำหนดจุดอนุบาลเต่า ทะเลจำนวน 2 จุดพื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพราะฟักไข่เต่าในพื้นที่เกาะ

ผู้การเรือลาออก! กองทัพเรือสรุปผลสอบเรือหลวงสุโขทัยล่ม

ทร.สรุปเหตุสุดวิสัย รล.สุโขทัยล่ม ผู้การเรือฯ ลาออก แสดงความรับผิดชอบ ลูกน้องเสียชีวิต ยันไม่มีคำสั่งแทรกแซงการตัดสินใจ

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน