สธ.ตรวจพบสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จำนวน 78% ในรอบสัปดาห์ กทม.มากสุด

11 ก.ค.2565 - นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวเฝ้าระวังโอมิครอนสายพันธุ์ BA.4และBA.5 ว่า จากการเฝ้าระวังโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ ช่วงวันที่ 2-8 ก.ค. 2565 ตรวจกลุ่มตัวอย่าง 570 ราย พบเป็น BA.1 จำนวน 5 ราย ตามด้วย BA.2 จำนวน 283 ราย และสายพันธุ์ย่อย BA.4 และBA.5 รวมกัน 280 ราย ซึ่งมีไม่ชัดเจนอยู่ 2 ราย​ โดยหากแยกกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศพบว่า ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ถึง 78.4% ส่วนการติดเชื้อในประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภูมิภาค ข้อมูลจนถึงเดือนพ.ค. 2565 พบว่า ใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่พบ BA.4 และ BA.5 มากสุดขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เริ่มพบสายพันธุ์ BA.4 และBA.5 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 12.7% ขึ้นเป็น 72.3% ส่วนภูมิภาค 34.7% ดังนั้น สายพันธุ์ BA.4 และBA.5 จะเริ่มแซงสายพันธุ์ BA.2 และ BA.1 แต่ไม่ได้แซงเร็วมากนัก​ สำหรับสัดส่วนสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 พบทั้ง 13 เขตสุขภาพ ยกเว้นเขต 3 พบจำนวนน้อย เนื่องจากส่งตัวอย่างแค่หลับสิบ จึงจำเป็นต้องมีการส่งตัวอย่างเพิ่ม ส่วนเขตสุขภาพที่พบมากสุด คือ เขต 13 พื้นที่กรุงเทพฯ

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนเรื่องความรุนแรงของ BA.4 และBA.5 ได้มีการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นคนมีอาการรุนแรง และอาการไม่รุนแรง โดยพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า คนที่อาการไม่รุนแรงพบใน BA.4 BA.5 อยู่ประมาณ 72% ส่วนคนที่อาการรุนแรง ปอดอักเสบจนต้องเข้าโรงพยาบาล หรือ ใส่ท่อช่วยหายใจ​ รวมทั้งรุนแรงจนเสียชีวิต มีข้อมูล 13 ราย พบเป็น BA.4 และBA.5 อยู่ 77% ส่วนพื้นที่ภูมิภาค คนที่อาการไม่รุนแรงมี 309 ราย พบ BA.4 และ BA.5 อยู่ 33% ส่วนคนที่อาการรุนแรง 45 รายพบสัดส่วน BA.4 และ BA.5 อยู่ที่ 46.67% สรุปได้ว่า ข้อมูลดังกล่าวพบว่า BA.4 และ BA.5 สัดส่วนอาการรุนแรงมากกว่าอาการไม่รุนแรง โดยยังสรุปความรุนแรงชัดเจนไม่ได้ เนื่องจากตัวเลขยังน้อยอยู่ จึงขอความร่วมมือรพ.สังกัดมหาวิทยาลัย สังกัดกทม. ขอให้มีการเก็บตัวอย่างคนปอดอักเสบจนนอนโรงพยาบาล หรือใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งผู้เสียชีวิต ขอให้ส่งตรวจเพิ่มขึ้น เพื่อให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้น

นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์การอนามัยโลกได้ติดตามข้อมูลเป็นสัปดาห์ๆ พบว่า BA.5 เพิ่มขึ้นจากที่เคยตรวจ 37% ใน 83 ประเทศ เป็น 52% ส่วน BA.4 จาก 11% เป็น12% หมายความว่า BA.4 และ BA.5 อาจแพร่เร็วไม่เท่ากัน แต่ BA.5 แพร่เร็วขึ้นแน่นอน แต่ BA.4 ยังทรงๆ ส่วน BA.1 และ BA.2 ลดลง​ ส่วนเรื่องความรุนแรง องค์การอนามัยโลกไม่ได้ให้น้ำหนักมาก บอกเพียงว่า ความรุนแรงไม่ได้แตกต่างมากนัก แต่ พบว่า แพร่เร็วกว่าแน่ ส่วนมีผลต่อการหลบภูมิคุ้มกันหรือไม่ พบว่าลดลง

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวอีกว่า​ สำหรับงานวิจัยญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อมูลห้องทดลองพบว่า การกลายพันธุ์มีผลต่อการเพิ่มจำนวนไวรัส และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่เกิดจาก BA.1 และ BA. 2 คือ ใครที่ติดเชื้อมาก่อน ติดซ้ำ BA.4และBA.5 ได้ ในเซลล์ปอดมนุษย์พบว่า แพร่ได้เร็วกว่า BA.2 และในหนูแฮมสเตอร์พบว่า กลุ่มติดเชื้อ BA.4 และBA.5 มีอาการหนักกว่า BA.2 อันนี้คือข้อมูลเอกสารวิจัยรอตีพิมพ์ของญี่ปุ่น​ ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมดมีแนวโน้ม BA.4และBA.5 มากขึ้น และมีมากในกรุงเทพมหานคร ส่วนความรุนแรงมีแนวโน้มว่า พบมากใน BA.4และBA.5 แต่ตัวเลขยังน้อยอยู่

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย