หมอธีระ เปิดผลการศึกษาชี้เชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อสตรีตั้งครรภ์ แท้งบุตร รกผิดปกติ

9 ส.ค. 2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 467,294 คน ตายเพิ่ม 1,188 คน รวมแล้วติดไป 589,851,350 คน เสียชีวิตรวม 6,437,880 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 83.09 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 68.6

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…พยาธิสภาพของรกในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19

Joshi B และคณะ จากประเทศอินเดีย เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ด้านสูตินรีเวชระดับสากล Placenta ฉบับเดือนกันยายน 2565

โดยทำการศึกษาลักษณะผิดปกติของรกในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 173 คน ที่ได้รับการดูแลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในแถบภาคเหนือของอินเดีย
อายุเฉลี่ยราว 29 ± 5 ปี

จากทั้งหมด 173 คน พบว่า

26 คนติดเชื้อแบบมีอาการ โดย 15 คนมีอาการรุนแรง ในขณะที่ 6 คนเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโรคโควิด-19

13 คนตั้งครรภ์แฝด

แท้ง 4 คน

คลอดก่อนกำหนด 90 คน

โดยเฉลี่ยแล้ว คลอดเมื่ออายุครรภ์ราว 35 ± 4 สัปดาห์

ที่น่าสนใจคือ จากการตรวจรกจากสตรีที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อโรคโควิด-19 ทั้งหมด 179 ชิ้น พบว่า มีความผิดปกติต่างๆ สูงถึง 49.16% อาทิ เส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงรกผิดปกติ ลิ่มเลือดอุดตัน ฯลฯ

ทั้งนี้คณะผู้วิจัยชี้ให้เห็นว่า ความผิดปกติของรกที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีความสัมพันธ์กับปัญหาการเสียชีวิตของทารก (ทารกตายคลอด) ปัญหาทารกที่มีคะแนนประเมินทารกแรกเกิดต่ำ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากการตั้งครรภ์ได้

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเพื่อควบคุมปัจจัยอื่นที่อาจมีอิทธิพลต่อการเกิดพยาธิสภาพของรก และการศึกษาความสัมพันธ์กับผลลัพธ์จากการตั้งครรภ์เพิ่มเติมในอนาคต

…สถานการณ์ไทยเรา มีการติดเชื้อจำนวนมากในแต่ละวัน

การป้องกันตัวเองอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญมาก

ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่จำเป็น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว

'หมอธีระ' ยกผลกระทบหลังปลดล็อกกัญชาที่สหรัฐ ยันเคยเตือนแล้ว แต่ไม่สามารถทัดทานความเชื่องมงายได้

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่าโค้งสุดท้าย พรรคแต่ละพรร

‘หมอธีระ’ อัปเดตโควิดทั่วโลก ติดเชื้อเพิ่ม 50,331 คน เสียชีวิต 211 คน

สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2566 ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 50,331 คน ตายเพิ่ม 211 คน รวมแล้วติดไป 681,528,196 คน เสียชีวิตรวม 6,811,893 คน

ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

หมอธีระ เผยยาสู้โควิด ตัวใหม่จากญี่ปุ่น ประสิทธิภาพดี ลดอาการผิดปกติ Long COVID

"รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 66,287 คน ตายเพิ่ม 256 คน รวมแล้วติดไป 680,604,607 คน เสียชีวิตรวม 6,804,922 คน

ผงะ! Long COVID กว่า 60% ของผู้ป่วยตรวจพบชิ้นส่วนของไวรัส คงค้างในเลือดได้ยาวนานถึง 1 ปี

'หมอธีระ' เผย งานวิจัย Long COVID กว่า 60% ของผู้ป่วยตรวจพบชิ้นส่วนของไวรัสคงค้างในเลือดได้ยาวนานถึง 1 ปี บางส่วนมีการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็ก อุดตันตามระบบต่างๆ