ผอ.กลุ่มงานวิจัยฯไอโอเทค วิเคราะห์ 5 ประเด็น ความเป็นไปได้ ชุดตรวจ ATK ให้ผลบวกลวง

ผอ.กลุ่มงานวิจัยฯไอโอเทค วิเคราะห์ 5 ประเด็น ความเป็นไปได้ ชุดตรวจ ATK ให้ผลบวกลวง ขึ้น 2 ขีดแบบไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 อาทิ ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน การปนเปื้อนของอุปกรณ์

10 พ.ย.2564 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
·
ประเด็น ATK ให้ผลบวกลวง คือ ขึ้น 2 ขีดแบบไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 มา

1. ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน : เป็นไปได้สูง เพราะชุดตรวจต้องใช้แอนติบอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนของไวรัสจริงๆ ถ้าคุณภาพของแอนติบอดีที่นำมาเคลือบในชุดตรวจไม่ดี แอนติบอดีก็จะไปจับอะไรสะเปะสะปะไปหมด การตรวจเจอ 2 ขีดจึงเป็นไปได้

2. การปนเปื้อนของอุปกรณ์ : ถ้าแกะออกมาจากถุงโดยตรง ใช้ swab ครั้งเดียวทิ้ง โอกาสเกิดยากมากครับ เพราะปกติ เก็บตัวอย่างแล้วจะผสมน้ำยา และ หยดลง ATK ทันที การไปสัมผัสกับเชื้อในปริมาณสูงพอที่จะให้ผล ATK เป็นบวกได้ เกิดขึ้นไม่ง่ายครับ ยกเว้นเอา swab มาใช้ซ้ำซึ่งไม่ทำกัน

3. ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นมา : เป็นไปได้ครับ โดยเฉพาะชุดตรวจที่ใช้แอนติบอดีคุณภาพไม่ดีมาเคลือบ ไม่ได้มีการตรวจสอบว่า แอนติบอดีชนิดนี้ไปจับกับโปรตีนของไวรัสโคโรน่าตัวอื่นได้หรือไม่ ถ้าจับได้ด้วย คนที่เป็นหวัดจากโคโรน่าปกติ ก็จะตรวจพบเป็นบวกได้ แต่ ATK มาตรฐานทั่วไปเค้าจะเคร่งครัดเรื่องนี้มาก ไม่มีทางปล่อยออกมาให้ใช้ได้ถ้าไม่มีความจำเพาะสูงมากๆ

4. อ่านผลทดสอบเกินเวลา : เกิดขึ้นได้ครับ แต่ผลบวกที่ได้จากการทิ้งไว้เกินเวลามักเป็นผลบวกจางๆ จะไม่กลับขึ้นมาเข้มๆได้

5. สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม : อันนี้ไม่เข้าใจครับ เพราะปกติของที่ไม่เหมาะสมมักให้ผลเป็นลบ เพราะตัวอย่างเสียสภาพตรวจไม่เจอ แต่ ได้ผลบวกขึ้นมา เลยงงๆว่าไม่เหมาะสมนี้หมายถึงอะไรครับ

ทั้งนี้ สืบเนื่อจาก โรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรพ์ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ได้ลงพื้นที่ตรวจ ATK ทั้งโรงเรียน ครู 72 คน นักเรียน 1,202 คน ผลเป็นบวก จำนวน 90 คน ต้องกักตัวร่วมกว่าพันคน ต่อมาเมื่อนำตัวอย่างเชื้อของนักเรียนทั้งหมดไปตรวจซ้ำด้วย RT-PCR พบว่าให้ผลเป็นลบทั้งหมด ไม่พบมีนักเรียนติดเชื้อ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์