'หมอธีระ' เผยเด็กเล็กป่วยโควิดอื้อ ตอกย้ำต้องระวังการติดเชื้อในกลุ่มเปราะบาง

'หมอธีระ' เผยเด็กเล็กป่วยโควิดกันมากในอเมริกา น่ากังวลกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ป่วยจนเข้าโรงพยาบาลมากเป็นอันดับสอง ตอกย้ำให้ต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อในประชากรกลุ่มเปราะบาง

11 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความว่า

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 247,491 คน ตายเพิ่ม 586 คน รวมแล้วติดไป 639,090,366 คน เสียชีวิตรวม 6,611,029 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญึ่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.41 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 68.94

...เด็กเล็กๆ ป่วยกันมากในอเมริกา

ข้อมูลล่าสุดจากทีมงานของ US CDC เผยแพร่ใน MMWR ฉบับวันนี้ 11 พฤศจิกายน 2565

ติดตามการป่วยของประชากรช่วงวัยต่างๆ ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตั้งแต่มิถุนายน 2564 จนถึงสิงหาคม 2565
พบว่าในตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้เป็นต้นมา ซึ่งเป็นระลอกล่าสุดของการระบาด กลุ่มผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมากที่สุด

แต่ที่น่ากังวลคือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นกลุ่มที่ป่วยจนเข้าโรงพยาบาลมากเป็นอันดับสอง โดยมีอัตราการป่วยต่อประชากรแสนคนสูงกว่าช่วงวัย 65-74 ปีเล็กน้อย

ข้อมูลข้างต้นตอกย้ำให้เราต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อในประชากรกลุ่มเปราะบาง ไม่ใช่แค่คนสูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัว แต่หมายรวมถึงเด็กๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน

...การติดเชื้อซ้ำจะทำให้เสี่ยงต่อปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว

งานวิจัยจาก Al-Aly Z และคณะ เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล Nature Medicine วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565

ชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อโควิด-19 แต่ละครั้งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยง ทั้งการป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล การเสียชีวิต รวมถึงการเกิดปํญหา Long COVID ในระยะยาว หลากหลายระบบในร่างกาย

การติดเชื้อซ้ำ (Reinfection) แต่ละครั้งก็ทำให้คนที่ติดเชื้อเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ ข้างต้น

ดังนั้นการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องสำคัญ
ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง

1. Hamid S et al. COVID-19–Associated Hospitalizations Among U.S. Infants Aged <6 Months — COVID-NET, 13 States, June 2021–August 2022. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2022;71:1442–1448.
2. Al-Aly Z et al. Acute and post-acute sequelae associated with SARS-CoV-2 reinfection. Nature Medicine. 10 November 2022.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

ปชป. แนะทางสว่าง! เตือนรัฐบาลหยุดยุ่มย่ามแบงก์ชาติ

ปชป. เตือนรัฐบาล รักษาระยะห่างหยุดยุ่มย่ามแบงก์ชาติ มัวแต่หมกมุ่นแจกเงินดิจิทัล แนะเร่งช่วยเหลือคนจน-กลุ่มเปราะบางก่อน ทำได้ทันทีใช้งบเพียง 2 แสนล้านบาท

'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19